สำหรับใครที่กำลังรักษามะเร็ง หรือต้องดูแลคนในครอบครัวที่เป็นมะเร็ง หลังจากได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัดหรือคีโมแล้ว ผลข้างเคียงคือ ร่างกายของคนป่วยจะมีอาการอ่อนแอมากกว่าปกติ และอาจจะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้ง่าย การดูแลตัวเองในช่วงนี้จึงมีความสำคัญอย่างมาก ทั้งเรื่องการรับประทานอาหาร การนอน การใช้ชีวิตในทุกวัน มาดูกันว่าต้องดูแลตัวเองยังไงบ้างหลังจากการรักษาด้วยเคมีบำบัด อาหารการกิน อาหารเป็นปัจจัยสำคัญอย่างมากในการฟื้นฟูร่างกายหลังจากได้รับเคมีบำบัด เนื่องจากยาเคมีจะเข้าไปทำลายเซลล์ที่มีการเจริญเติบโตผิดปกติในร่างกาย รวมถึงเม็ดเลือดขาวที่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกายด้วย ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายอ่อนแอลง การรับประทานอาหารที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกายจึงสำคัญมาก – ควรรับประทานอาหารที่ปรุงสุก ใหม่ สะอาด หากสามารถทำอาหารเองได้จะยิ่งดี เพราะสามารถเลือกประเภท และควบคุมปัจจัยในเรื่องความสะอาดได้มากกว่าซื้อมาทาน – ทานอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น เนื้อปลา เนื้อไก่ ไข่ต้มสุก เพื่อซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของเซลล์จากการทำเคมีบำบัด – ดื่มน้ำมากๆ เพื่อช่วยให้ไตขับยาเคมีบำบัดออกจากร่างกายให้มากที่สุด – ไม่ควรทานอาหารค้างคืน เพราะอาจจะทำให้มีเชื้อโรคตกค้าง ซึ่งร่างกายผู้ป่วยอ่อนแออาจจะทำให้ติดเชื้อได้ – เลี่ยงอาหารหมัก ดอง ดิบ กึ่งสุก กึ่งดิบ เพราะมีความเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อโรคที่ทำให้เกิดอาการท้องเสีย ท้องร่วง – งดดื่มแอลกอฮอลล์ สูบบุหรี่ ที่อาจกระตุ้นการทำงานของเซลล์มะเร็ง ทานอาหารเสริมที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของภูมิคุ้มกัน การทำเคมีบำบัดนอกจากจะทำลายเซลล์มะเร็งแล้ว ก็ยังทำลายเซลล์อื่นๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะเซลล์เม็ดเลือดขาว […]
ล็อกดาวน์นาน เสี่ยงภูมิตกเร็วกว่าเดิม!
ต้องยอมรับว่าการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในระยะเวลากว่า 2 ปีที่ผ่านมาทำให้หลายคนรู้สึกท้อแท้ และหมดหวังที่จะได้กลับไปใช้ชีวิตปกติ รวมถึงสภาพสังคมและเศรษฐกิจที่ถดถอยอย่างต่อเนื่อง ไหนจะต้องกักตัวในช่วงล็อกดาวน์อีก หลายปัจจัยเหล่านี้กระทบถึงระบบสุขภาพของเราอย่างเลี่ยงไม่ได้ ความผิดปกติที่ไม่ได้ออกไปใช้ชีวิตส่งผลให้ภูมิตก และทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของเราบกพร่องในการปกป้องเราเช่นกัน การทำงานผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันหรือภูมิตกเกิดได้จากอะไรบ้าง? โดยปกติระบบภูมิคุ้มกันของเรา เป็นกลไกที่ธรรมชาติสร้างมาให้เพื่อป้องกันไวรัส เชื้อโรค แบคทีเรีย หรือปรสิตต่าง ๆ ที่จะเข้ามาจู่โจมเรา ซึ่งกลไลที่ว่านี้จะทำหน้าที่เป็นด่านแรก ทั้งยังเป็นตัวทำลายเชื้อโรคเหล่านั้น ปัจจัยที่ทำให้การทำงานของภูมิคุ้มกันผิดปกติ ได้แก่ 1. กรรมพันธุ์ ร่างกายของเราได้รับการถ่ายทอดพันธุกรรมต่าง ๆ จากพ่อแม่ เป็นไปได้ที่หากพ่อแม่แข็งแรง เราก็จะแข็งแรงไปด้วยได้ เนื่องด้วยระบบภูมิคุ้มกันที่ถูกถ่ายทอดมาถึงเราทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ แต่ทั้งนี้ยังมีปัจจัยอื่นที่ควบคุมไม่ได้ เช่น อากาศ น้ำ ความแปรผันของฤดูกาล เหล่านี้ก็ส่งผลต่อการทำงานของภูมิคุ้มกันของเราได้ 2. พฤติกรรมการดูแลสุขภาพ นับว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดก็ว่าได้ เนื่องจากกลไกการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีเกิดจากการที่ร่างกายทำงานได้อย่างปกติ จากอาหารที่เราทาน จากสิ่งแวดล้อมที่เราอยู่ จากการพักผ่อนอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะความเครียดเป็นตัวแปรสำคัญที่ส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันได้มากทีเดียว การล็อกดาวน์ส่งผลให้ภูมิคุ้มกันอย่างไร? การล็อกดาวน์หรือต้องกักตัวอยู่บ้านนาน ๆ นับเป็นการฝืนธรรมชาติของมนุษย์ เราต้องการการพบปะ เดินทาง ออกไปใช้ชีวิตนอกบ้าน แต่การล็อกดาวน์เสมือนเป็นการบังคับให้เราจำใจต้องฝืนธรรมชาติตัวเอง เชื่อว่าหลายคนเข้าใจในมาตรการความปลอดภัยและป้องกันโรค แต่การต้องใช้ชีวิตอยู่บ้านเป็นเวลานานนับปี ส่งผลต่อสภาวะความเครียดเรื้อรัง […]
ในช่วงโรคระบาด ควรดูแลผู้ป่วยโรคเสี่ยงอย่างไร
COVID-19 ที่เป็นโรคระบาดสายพันธุ์ดั้งเดิมก็มีความน่ากังวลอยู่แล้ว แต่พอมีการกลายพันธุ์ ก็ทำให้ติดเชื้อได้ง่ายมากขึ้น ทั้งยังมีอาการรุนแรงมากขึ้นตามไปด้วย คนที่มีร่างกายแข็งแรงที่ได้รับเชื้อก็สามารถมีอาการทรุดหนักและถึงขั้นเสียชีวิตได้ ไม่ต้องพูดถึงคนที่มีโรคประจำตัว เพราะร่างกายอ่อนแอเป็นทุนเดิมทำให้อาจจะมีโอกาสเสียชีวิตมากกว่าคนทั่วไป มีโรคเสี่ยงอะไรบ้างที่ต้องได้รับการดูแลและเฝ้าระวังเป็นพิเศษ มาดูกันครับ โรคเบาหวาน เป็นกลุ่มที่เสี่ยงต่อการเจ็บป่วยรุนแรงหากได้รับเชื้อโควิด ด้วยระดับน้ำตาลในเลือดส่งผลต่อความดันเลือด การไหลเวียนของเลือด และการหายใจ ที่สำคัญกลุ่มคนที่เป็นโรคเบาหวานต้องเผชิญกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ จึงควรดูแลสุขภาพตัวเองให้แข็งแรง ควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในค่าที่เหมาะสม เพื่อรักษาภูมิคุ้มกันของร่างกาย อยู่บ้านให้มาก ล้างมือบ่อย ๆ ลดการพบปะกับผู้คน สามารถดูแลตัวเองเพิ่มได้ด้วยการรับประทานอาหารเสริมจากสารสกัดจากเบต้ากลูแคนและสารสกัดจากฮอร์ธอร์น โคคิวเท็น ช่วยกระตุ้นการสร้างภูมิต้านทาน และลดน้ำตาลในเลือด ควบคุมคอเลสเตอรอล และให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น โรคหัวใจ เป็นอีกกลุ่มที่มีความเสี่ยง แม้โรคหัวใจจะมีหลากหลายและแบ่งชนิดได้มาก แต่ก็ถือว่ามีความผิดปกติของการทำงานในอวัยวะสำคัญนี้ อาจจะส่งผลต่อการไหลเวียนของเลือดในร่างกาย ซึ่งหากติดเชื้อโควิดก็จะยิ่งทำให้หัวใจทำงานผิดปกติมากกว่าเดิม ต้องติดต่อกับแพทย์ที่รักษาอย่างสม่ำเสมอ รับยาดูแลอาการไม่ให้ขาด ญาติและครอบครัวหมั่นสังเกตอาการ รับประทานอาหารที่สะอาด บำรุงหัวใจ สามารถทานสารสกัดจากฮอร์ธอร์น โคคิวเท็น ควบคู่ไปด้วยได้ เป็นการกระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ ให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น ควบคุมระดับความดันให้อยู่ในเกณฑ์ โรคมะเร็ง โดยทั่วไปคนที่ป่วยเป็นมะเร็งหรือกำลังรักษามะเร็งก็จะมีร่างกายที่ไม่ค่อยแข็งแรงอยู่แล้ว ฉะนั้นหากติดเชื้อโควิดก็อาจจะเสี่ยงเสียชีวิตได้มากกว่าคนทั่วไป ฉะนั้นในช่วงที่โรคระบาดคนกลุ่มนี้ยิ่งต้องดูแลตัวเองเป็นพิเศษ ต้องสื่อสารกับแพทย์อย่างสม่ำเสมอ เข้ารับการรักษาและติดตามอาการอย่างใกล้ชิด พยายามเลี่ยงที่จะต้องออกไปเผชิญกับผู้คน หรือสภาพแวดล้อมที่เสี่ยง […]