โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) เป็นหนึ่งในโรคที่ส่งผลร้ายแรงต่อสุขภาพและชีวิตประจำวันของผู้ป่วย โดยอาการที่เกิดจากโรคหลอดเลือดสมองสามารถนำไปสู่ภาวะอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือสูญเสียการทำงานของสมองในบางส่วนได้ โรคนี้ไม่เพียงแต่เกิดในผู้สูงอายุเท่านั้น แต่ผู้ที่อยู่ในวัยหนุ่มสาวก็สามารถมีความเสี่ยงได้ หากไม่ได้ดูแลสุขภาพหรือมีพฤติกรรมเสี่ยง เช่น การทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ หรือการไม่ออกกำลังกาย สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดสมองเกิดจากการที่หลอดเลือดในสมองตีบตันหรือแตก ส่งผลให้สมองขาดเลือดไปหล่อเลี้ยง ซึ่งทำให้เนื้อสมองเสียหาย และเกิดการหยุดชะงักของการทำงานในส่วนที่ได้รับผลกระทบ ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองมีหลายปัจจัย เช่น 1. ความดันโลหิตสูง เป็นปัจจัยเสี่ยงหลักที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง เพราะความดันโลหิตสูงจะทำให้หลอดเลือดเกิดการเสื่อมสภาพและเสี่ยงต่อการแตกได้ง่าย หลอดเลือดมีความยืดหยุ่นน้อยเพราะต้องทำงานหนักจากภาวะความดันของร่างกายที่ไม่สมดุล 2. ระดับไขมันในเลือดสูง จากการทานอาหารที่มีไขมันสูงหรือไม่ออกกำลังกายอาจทำให้เกิดการสะสมของไขมันในหลอดเลือด เป็นปัจจัยสำคัญที่เกิดจากพฤติกรรมของผู้ป่วยเองด้วย หลายคนอาจจะไม่รู้ตัวว่าตัวเองมีภาวะไขมันในเลือดสูงเนื่องจากคนที่มีภาวะนี้ไม่จำเป็นต้องเป็นคนอ้วนเสมอไป เพราะไขมันที่กระจายตัวในกระแสเลือดเกิดกับคนที่มีรูปร่างผอมบางก็ได้เช่นกัน 3. การสูบบุหรี่ สารพิษในบุหรี่สามารถทำให้หลอดเลือดแข็งตัวและเสื่อมสภาพได้ เพราะในควันบุหรี่มีสารพิษมากมายหลายชนิด และการสูบเข้าผ่านปอด นอกจากจะเกาะติดปอดแล้วจะปะปนในเลือดทำให้เลือดเป็นพิษ เลือดหนืด ซึ่งส่งผลต่อการไหลเวียนเลือดได้ด้วย 4. การไม่ออกกำลังกาย ส่งผลให้ระบบเลือดไหลเวียนได้ไม่ดี เนื่องจากการขาดการเคลื่อนไหวร่างกายทำให้การไหลเวียนของเลือดในร่างกายช้าลง เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดลิ่มเลือด (blood clots) เสี่ยงที่ลิ่มเลือดอุดตันไปเลี้ยงสมอง 5. โรคเบาหวาน เบาหวานส่งผลให้การไหลเวียนเลือดผิดปกติและหลอดเลือดเสียหายได้ง่าย เนื่องจากไขมันที่สะสมในร่างกายไปสร้างความลำบากในการไหลเวียนเลือด เสี่ยงที่หลอดเลือดจะอุดตันจากไขมัน และทำให้เลือดไหลเวียนได้ยากขึ้น โรคหลอดเลือดสมองในอายุน้อย […]
โรคที่คนไทยเข้าพบแพทย์มากที่สุด คือ โรคความดันโลหิต
โรคความดันโลหิตสูงเป็นหนึ่งในโรคที่คนไทยเข้าพบแพทย์มากที่สุดในหมวด “บริการผู้ป่วยนอก” โดยมีการรับบริการถึง 19.9 ล้านครั้งในปีที่ผ่านมา ซึ่งสะท้อนถึงจำนวนผู้ป่วยของโรคนี้ในสังคมไทย นับได้ว่าโรคนี้เป็นภัยเงียบ เพราะในระยะแรกไม่มีอาการแสดงออกชัดเจน และหากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่รักษา ความดันโลหิตที่สูงเกินไปจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคแทรกซ้อนที่ร้ายแรง เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจขาดเลือด และโรคไตวาย ซึ่งล้วนแต่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตและอัมพฤกษ์หรืออัมพาตในที่สุด ทำไมโรคนี้ถึงน่าเป็นกังวลกว่าที่หลายคนคิด ปัจจัยเสี่ยงของโรคความดันโลหิตสูง ความดันโลหิตสูงสามารถเกิดจากหลายปัจจัย ทั้งจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การทานอาหารรสจัด โดยเฉพาะรสเค็ม การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ และการขาดการออกกำลังกาย รวมไปถึงปัจจัยทางพันธุกรรมที่ทำให้บางคนมีความเสี่ยงสูงกว่าคนอื่น ๆ สำหรับผู้ที่อายุเกิน 40 ปีขึ้นไป จะมีความเสี่ยงสูงในการเป็นโรคนี้หากไม่ดูแลตัวเองอย่างเหมาะสม โรคแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูง หากไม่ควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม โรคความดันโลหิตสูงสามารถก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อนหลายอย่างที่ร้ายแรง เช่น 1. โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ความดันโลหิตที่สูงเกินไปอาจทำให้หลอดเลือดสมองแตกหรือเกิดการอุดตัน ส่งผลให้สมองขาดเลือด 2. โรคหัวใจขาดเลือด ความดันโลหิตสูงทำให้หัวใจต้องทำงานหนักขึ้น ทำให้หลอดเลือดหัวใจตีบหรือเกิดภาวะหัวใจวาย 3. โรคไตเรื้อรัง ความดันโลหิตสูงทำลายไตและเส้นเลือดที่ไปหล่อเลี้ยงไต ทำให้แรงดันในกลุ่มหลอดเลือดฝอยในเนื้อไตที่กรองปัสสาวะเพิ่มขึ้น ยิ่งแรงดันสูง ยิ่งเพิ่มการรั่วของโปรตีนมากขึ้น 4. เสี่ยงตาบอด ความดันโลหิตสูงอาจทำให้เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงตาเสียหาย ทำให้สูญเสียการมองเห็น […]
ฟาสต์ไข่ การควบคุมน้ำหนักแบบใหม่ คืออะไร?
ในยุคที่ผู้คนให้ความสำคัญกับสุขภาพและรูปร่าง วิธีการควบคุมน้ำหนักจึงเป็นเรื่องที่หลายคนสนใจ วันนี้มีวิธี “ฟาสต์ไข่ (Egg Fast)” มาแนะนำเพื่อเเป็นแนวทางหนึ่งในการควบคุมน้ำหนักอีกหนึ่งวิธีที่อาจจะเหมาะกับคุณ ซึ่งที่กำลังได้รับความนิยมมากในขณะนี้ ซึ่งนอกจากจะช่วยลดน้ำหนักแล้วยังมีดีต่อสุขภาพในหลายด้านด้วย ฟาสต์ไข่บำรุงสมองคืออะไร? ฟาสต์ไข่ คือ เน้นการบริโภคไข่เป็นหลักในช่วงเวลาที่กำหนด โดยส่วนใหญ่จะทานเป็นไข่ต้ม ไข่เจียว หรือไข่ตุ๋น เป็นอาหารหลัก และอาจเสริมด้วยไขมันที่ดีต่อสุขภาพ เช่น น้ำมันมะกอก โดยควบคุมให้ทานในระยะเวลาที่สั้นลงเรื่อย ๆ คล้ายกับการทำ Intermittent Fasting (IF) ซึ่งจะสามารถทำให้ร่างกายลดปริมาณแคลอรีที่ได้รับและช่วยในการลดน้ำหนักได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่ต้องอดอาหาร วิธีการทำฟาสต์ไข่ การทำฟาสต์ไข่มีขั้นตอนง่าย ๆ ดังนี้ 1. เลือกไข่ที่มีคุณภาพ ควรเลือกไข่จากไก่ที่เลี้ยงอย่างดี เช่น ไข่ออร์แกนิก หรือไข่จากไก่ที่ได้รับการเลี้ยงในระบบปล่อย (free-range) 2. การเตรียมเมนู เช่น ไข่ต้ม ไข่คน ไข่เจียว หรือไข่ตุ๋น โดยการปรุงรสอาจใช้เกลือและพริกไทยเพื่อให้มีรสชาติเล็กน้อย รับประทานง่ายขึ้น แต่ยังคงควบคุมไม่ให้แคลอรีสูงเกินไป 3. กำหนดระยะเวลา ระยะเวลายอดฮิตในการฟาสต์ไข่ประมาณ 3-7 วัน ขึ้นอยู่กับความสะดวกและความต้องการของแต่ละคน […]