การตามใจลูกถือเป็นหนึ่งในวิธีรับมือของคนเป็นพ่อแม่ให้ลูกสงบและไม่ดื้อได้ รวมไปถึงใช้วิธีนี้ในการให้ลูกรับประทานอาหารเยอะ ๆ เพราะเห็นลูกทานได้เยอะพ่อแม่ก็ดีใจ อิ่มเอมไปด้วย แต่การตามใจมากเกินไป โดยเฉพาะการให้ทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ อาจส่งผลเสียอย่างมากต่อพัฒนาการทางร่างกายและการเจริญเติบโตของเด็ก ซึ่งนำไปสู่โรคอ้วนและการขาดสารอาหารในระยะยาว อันตรายจากการตามใจลูกเรื่องอาหาร การที่เด็กชอบทานอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งเป็นพิเศษนั้นเป็นธรรมชาติของเด็ก โดยเฉพาะอาหารที่มีน้ำตาลสูง ไขมันสูง และอาหารแปรรูป เพราะลิ้นของเด็กยังรับรสได้ไม่ดีเท่าผู้ใหญ่ ฉะนั้นง่ายมากที่เด็กจะชอบอาหารขยะ หรืออาหารที่ขาดคุณค่าทางโภชนาการ ซึ่งอาจจะส่งผลผลกระทบต่อสุขภาพของเด็กได้ อาทิ 1. เสี่ยงโรคอ้วนในเด็ก โรคอ้วน เป็นปัญหาสุขภาพที่เห็นผลกระทบได้รวดเร็วในเด็ก โดยเฉพาะเด็กที่บริโภคอาหารที่มีพลังงานสูง แต่สารอาหารน้อย เช่น ของทอด ขนมหวาน น้ำอัดลม หรืออาหารสำเร็จรูป การทานอาหารเหล่านี้มากเกินไปและขาดการออกกำลังกาย ทำให้พลังงานที่ได้รับเกินความต้องการของร่างกาย ซึ่งนำไปสู่การสะสมไขมันและน้ำหนักตัวที่เกินมาตรฐาน อาการเสี่ยงที่เกิดจากโรคอ้วนในเด็ก: – การสะสมไขมันรอบพุงและน้ำหนักตัวที่มากเกินไป – มีปัญหาในการหายใจ หอบง่ายเมื่อออกกำลังกาย – ภาวะดื้ออินซูลิน ซึ่งอาจนำไปสู่โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ชนิดที่เกิดจากพฤติกรรม – เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในอนาคต 2. ขาดสารอาหารที่สำคัญ การรับประทานเยอะในเด็กไม่ได้หมายความว่าร่างกายจะแข็งแรง แต่การทานอาหารที่ไม่ครบถ้วนและขาดสารอาหาร ทำให้เด็กประสบกับภาวะขาดสารอาหารบางชนิดที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตได้ เช่น […]
ปัญหาลูกสะกดคำไม่ได้ พ่อแม่ควรแก้อย่างไร?
สำหรับพ่อแม่หลายคนการที่ลูกน้อยเริ่มเรียนรู้การอ่านเขียนเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้น แต่หากลูกประสบปัญหาในการสะกดคำ อาจกลายเป็นเรื่องที่หนักใจและสร้างความกังวลใจได้ ไม่ว่าจะเป็นการสะกดผิดบ่อย หรือการที่ลูกไม่สามารถจดจำรูปแบบคำได้ ปัญหานี้อาจส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ในอนาคต แต่ไม่ต้องกังวลเกินไป วันนี้เรามีวิธีการช่วยเหลือที่สามารถพัฒนาและเสริมสร้างทักษะการสะกดคำของลูกได้ครับ สาเหตุของปัญหาการสะกดคำไม่ได้ การที่ลูกสะกดคำไม่ได้อาจมาจากหลายปัจจัย ทั้งจากพัฒนาการที่แตกต่างกันของเด็กแต่ละคน หรือปัญหาเฉพาะทางที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ 1. พัฒนาการของสมองและการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน เด็กแต่ละคนมีพัฒนาการทางการเรียนรู้ที่ไม่เหมือนกัน บางคนอาจใช้เวลามากกว่าปกติในการทำความเข้าใจเรื่องการสะกดคำ ซึ่งเป็นเรื่องปกติ หากยังอยู่ในช่วงวัยที่กำลังเรียนรู้ พ่อแม่อาจจะต้องเพิ่มความใส่ใจมากขึ้นเท่านั้น 2. ปัญหาด้านการรับรู้เสียง เด็กบางคนอาจมีปัญหาในการแยกแยะเสียงหรือลำดับเสียงในคำ จึงทำให้การสะกดคำยากขึ้น 3. ปัญหาการเรียนรู้แบบเฉพาะ (Dyslexia) เด็กที่มีภาวะนี้จะมีปัญหาทางด้านการอ่านและสะกดคำเนื่องจากความผิดปกติในการรับรู้และประมวลผลข้อมูลทางภาษา 4. การขาดการฝึกฝนหรือสภาพแวดล้อมที่ไม่สนับสนุน หากเด็กไม่ได้รับการฝึกฝนในการสะกดคำหรือไม่ได้รับการสนับสนุนในการเรียนรู้ อาจทำให้ทักษะการสะกดคำพัฒนาช้ากว่าปกติได้ ซึ่งต้องอาศัยความชำนาญของครูผู้สอน และพ่อแม่เอาใจใส่เป็นพิเศษ พ่อแม่จะรับมือและช่วยเหลือลูกได้อย่างไร? พ่อแม่สามารถช่วยลูกพัฒนาทักษะการสะกดคำได้ด้วยวิธีการและเทคนิคต่าง ๆ ที่ไม่เพียงแต่จะช่วยให้ลูกเข้าใจและจดจำการสะกดคำได้ดีขึ้น แต่ยังเสริมสร้างความมั่นใจในการเรียนรู้ด้วย 1. ฝึกอ่านหนังสืออย่างสม่ำเสมอ การอ่านเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการพัฒนาทักษะการสะกดคำ ให้ลูกได้อ่านหนังสือหรือเรื่องราวที่เขาสนใจ เช่น นิทาน หนังสือการ์ตูน หรือเรื่องสั้น พ่อแม่ควรอ่านร่วมกับลูกและชี้ให้เขาเห็นคำที่สำคัญ พร้อมอธิบายการออกเสียงและการสะกดคำ 2. ใช้เกมหรือกิจกรรมสนุก ๆ ในการฝึกสะกดคำ การเรียนรู้ผ่านการเล่นจะช่วยกระตุ้นให้เด็กสนุกกับการเรียนรู้การสะกดคำ […]
โรคอันตรายในเด็ก เป็นยาก หายยาก
แม้ว่าอาการป่วยบ่อยในเด็กจะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ง่าย แต่พ่อแม่ไม่ควรมองข้ามและละเลยเป็นอันขาด เพราะหากไม่สังเกตหรือรีบดูแลลูกอาจจะเป็นโรคที่เป็นได้ยาก และรักษาได้ยากก็ได้ อย่างโรคปอดอักเสบ ซึ่งเป็นหนึ่งในโรคอันตรายร้ายแรงที่พบบ่อยในเด็ก นอกจากโรคนี้แล้ว ยังมีโรคอื่น ๆ ที่เป็นยากแต่หายยากในเด็ก วันนี้จะพาพ่อแม่ทุกคนมารู้จักกับโรคเหล่านี้และวิธีดูแลลูกน้อยอย่างถูกวิธี 1. โรคปอดอักเสบ (Pneumonia) โรคปอดอักเสบเป็นการติดเชื้อในปอดที่สามารถเกิดจากเชื้อไวรัส แบคทีเรีย หรือเชื้อรา ส่งผลให้ถุงลมในปอดเกิดการอักเสบและเต็มไปด้วยของเหลวส่งผลให้หายใจลำบาก อาการที่พบบ่อยคือ ไข้สูง ไอหนัก หายใจเร็วหรือหอบเหนื่อย โรคนี้อาจมีความรุนแรงขึ้นในเด็กเล็ก โดยเฉพาะเด็กที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอหรือมีปัญหาสุขภาพอื่นๆ การรักษา: โรคปอดอักเสบต้องได้รับการรักษาทางการแพทย์อย่างถูกวิธี เช่น การใช้ยาปฏิชีวนะในกรณีที่เกิดจากแบคทีเรีย หรือการใช้ยาต้านไวรัสหากเกิดจากไวรัส การป้องกัน: – การฉีดวัคซีนป้องกันปอดอักเสบ เช่น วัคซีน PCV (Pneumococcal Conjugate Vaccine) – หมั่นล้างมือและรักษาความสะอาดเพื่อลดการติดเชื้อและหลีกเลี่ยงการพาเด็กไปสถานที่แออัดหรือติดเชื้อ 2. โรคไข้สมองอักเสบ (Encephalitis) ไข้สมองอักเสบ เป็นการอักเสบของเนื้อเยื่อสมองซึ่งมักเกิดจากการติดเชื้อไวรัส อาการที่พบบ่อยคือ ไข้สูง อาการสับสน อ่อนแรง ชัก หรือมีปัญหากับการพูดและการเคลื่อนไหว โรคนี้เป็นอันตรายเพราะอาจนำไปสู่ความเสียหายถาวรของสมองหรือการเสียชีวิตหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที การรักษา: […]