ช่วงต้นปีเป็นช่วงเวลาที่มีมลภาวะทางอากาศสูง โดยเฉพาะฝุ่น PM2.5 การดูแลสุขภาพจึงเป็นสิ่งที่ต้องใส่ใจเป็นพิเศษ เพราะฝุ่นเหล่านี้สามารถสะสมในปอดและส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ สำหรับคนที่มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับโรคทางเดินหายใจ เช่น โรคปอดอักเสบหรือโรคภูมิแพ้อากาศ อาจจะทำให้ช่วงนี้ยิ่งได้รับผลกระทบ นอกจากนี้ PM2.5 ยังทำให้เกิดความเสี่ยงจากโรคต่าง ๆ เช่น โรคหอบหืด โรคปอดเรื้อรัง หรือแม้กระทั่งมะเร็งปอด ผลกระทบจากฝุ่น PM2.5 มลภาวะที่ไม่ควรมองข้าม การหายใจเอาฝุ่น PM2.5 เข้าไปในปอดมีผลกระทบระยะยาวและระยะสั้นต่อสุขภาพมากมาย เช่น 1. โรคทางเดินหายใจ การสะสมฝุ่นในปอดอาจทำให้เกิดโรคหอบหืด โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง หรือโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) ไม่ต่างจากการสูบบุหรี่หลายมวนต่อวันเลยทีเดียว 2. โรคหัวใจ ฝุ่น PM2.5 ยังสามารถกระทบต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด ทำให้เสี่ยงต่อโรคหัวใจขาดเลือด เพราะขนาดที่เล็กมากสามารถเข้าไปสะสมในกระแสเลือด และเสี่ยงที่จะเข้าไปอุดกั้นการไหลเวียนเลือดได้ 3. มะเร็งปอด ฝุ่นที่สะสมในปอดอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งปอด โดยเฉพาะในผู้ที่ได้รับมลพิษเป็นระยะเวลานาน วิธีการรับมือกับฝุ่น PM2.5 เชื่อว่าหลายคนคงทราบแล้วว่าเราควรรับมือกับ PM2.5 อย่างไรบ้าง แต่นี่คือสิ่งที่ไม่อยากให้ทุกคนเบื่อหน่ายที่จะทำ เพราะแม้ฝุ่นอาจจะไม่ได้อยู่กับเราทั้งปี แต่ช่วงระยะเวลาหลายเดือนที่สะสมและเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาสุขภาพได้ – หลีกเลี่ยงการออกไปข้างนอกในวันที่มีมลพิษสูง […]
อากาศแปรปรวน หนาวเร็ว เสี่ยงโรคติดต่อง่ายขึ้น
ปัจจุบันโลกมีการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศที่ค่อนข้างแปรปรวน ในปีนี้ฤดูหนาวมารวดเร็วกว่าหลายปีที่ผ่านมา แน่นอนว่าความชื้นในอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปมีผลกระทบต่อสุขภาพโดยตรง ทำให้เรามีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคติดต่อต่าง ๆ มากขึ้น โดยเฉพาะโรคทางเดินหายใจ เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ และโรคปอดอักเสบ อีกทั้งสภาวะที่อากาศแห้งยังเป็นช่วงที่ไวรัสสามารถเจริญเติบโตและแพร่กระจายได้ดี นี่คือเหตุผลที่ทำให้ช่วงอากาศหนาวเป็นช่วงที่โรคติดต่อง่ายขึ้นมากกว่าปกติด้วย การดูแลภูมิคุ้มกันและร่างกายให้แข็งแรงในช่วงนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นมากครับ ทำไมอากาศหนาวทำให้เสี่ยงโรคติดต่อง่ายขึ้น? 1. ภูมิคุ้มกันลดลง เมื่ออากาศหนาวเย็นร่างกายต้องใช้พลังงานเพิ่มขึ้นเพื่อรักษาความอบอุ่น ระบบภูมิคุ้มกันจึงอาจทำงานได้ไม่เต็มที่ การป้องกันเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายจะลดลง ทำให้สิ่งแปลกปลอม เช่น เชื้อโรค แบคทีเรีย ปรสิตต่าง ๆ สามารถเข้ามาสู่ร่างกายได้ง่ายขึ้น และส่งผลให้เราป่วยหรือติดโรคติดต่อได้ 2. ไวรัสเจริญเติบโตดีในอากาศเย็น ไวรัสหลายชนิด เช่น ไวรัสไข้หวัดใหญ่และไวรัสไข้หวัด สามารถเจริญเติบโตได้ดีในอุณหภูมิที่ต่ำและสภาพอากาศที่แห้ง ไวรัสเหล่านี้จะแพร่กระจายได้ง่ายผ่านสารคัดหลั่งต่าง ๆ เช่น ละอองน้ำมูก การไอ การจาม ทั้งยังวนเวียนอยู่ในอากาศได้นาน ดังนั้นเมื่ออากาศเย็นเราจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคได้มากขึ้น 3. ความชื้นในอากาศลดลง อากาศที่เย็นแห้งจะทำให้ทางเดินหายใจและเยื่อบุจมูกแห้งลง ซึ่งอาจทำให้เยื่อเมือกที่ป้องกันเชื้อโรคในระบบทางเดินหายใจอ่อนแอขึ้น เชื้อโรคจะเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายขึ้นและมีโอกาสแพร่กระจายได้ดีขึ้น 4. พฤติกรรมที่เปลี่ยนไป ในช่วงอากาศหนาว หลายคนมักชอบอยู่ในที่ปิดหรืออยู่ในห้องที่มีเครื่องทำความร้อน ซึ่งอาจทำให้การระบายอากาศไม่ดีพอ เชื้อโรคที่อยู่ในอากาศจะสามารถสะสมและแพร่กระจายได้ง่าย ทำให้ยิ่งเสี่ยงที่คนที่อยู่ในที่ปิดเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้สูงขึ้น […]
มะเร็งกล้ามเนื้อหัวใจคืออะไร เช็กก่อนเสี่ยง ป้องกันอย่างไร?
มะเร็งกล้ามเนื้อหัวใจ (Cardiac Tumor) เป็นโรคที่พบได้ยากมากในกลุ่มของโรคมะเร็ง โดยทั่วไปแล้วกล้ามเนื้อหัวใจมักไม่ใช่บริเวณที่เซลล์มะเร็งจะเจริญเติบโต เนื่องจากกล้ามเนื้อหัวใจเป็นกล้ามเนื้อเฉพาะที่มีการเจริญเติบโตและซ่อมแซมตัวเองได้น้อย ดังนั้นมะเร็งกล้ามเนื้อหัวใจจึงพบได้น้อยกว่ามะเร็งที่เกิดกับอวัยวะอื่น ๆ แต่ก็มีเคสผู้ป่วยให้เห็นในยุคหลัง ๆ ด้วยการกลายพันธุ์ของมะเร็งและความเสี่ยงในการใช้ชีวิตของผู้คนมีมากขึ้น มารู้จักมะเร็งชนิดนี้และวิธีป้องกันให้มากขึ้นกันครับ มะเร็งกล้ามเนื้อหัวใจคืออะไร? การที่เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจกลายเป็นมะเร็งได้นั้น ส่วนใหญ่จะเกิดจากเซลล์ที่มาจากอวัยวะอื่นและลุกลามเข้ามาสู่หัวใจ แทนที่จะเป็นมะเร็งที่เกิดขึ้นโดยตรงที่หัวใจ เช่น มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม และมะเร็งเม็ดเลือดขาว ซึ่งเซลล์มะเร็งจะเดินทางผ่านทางกระแสเลือดหรือระบบน้ำเหลืองไปสู่หัวใจได้ ซึ่งแม้จะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ยาก แต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้ อาการของมะเร็งกล้ามเนื้อหัวใจ มะเร็งกล้ามเนื้อหัวใจมักไม่แสดงอาการในระยะแรก ๆ หรือมีอาการคล้ายกับโรคหัวใจอื่น ๆ จึงทำให้ยากต่อการวินิจฉัยเบื้องต้น แต่อาการที่พบบ่อยในผู้ป่วยมะเร็งกล้ามเนื้อหัวใจ เช่น – หายใจลำบาก โดยเฉพาะในขณะออกกำลังกายหรือเมื่อนอนราบ – เจ็บหน้าอก คล้ายกับอาการของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ – ใจสั่นหรือหัวใจเต้นผิดจังหวะ เพราะเซลล์มะเร็งไปรบกวนการทำงานของระบบไฟฟ้าหัวใจ – บวมตามร่างกาย เช่น ที่ขา เท้า หรือท้อง ซึ่งอาจเกิดจากการที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งกล้ามเนื้อหัวใจ 1. อายุที่มากขึ้น ความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งกล้ามเนื้อหัวใจมักเพิ่มขึ้นเมื่ออายุสูงขึ้น เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเริ่มเสื่อมลง […]