หากพูดถึงโรคหลอดเลือดสมองหลายคนอาจจะรู้สึกไกลตัว แต่ถ้าที่บ้านใครมีผู้สูงอายุอยากให้ศึกษาโรคนี้ไว้ครับ เพราะผู้ที่อายุ 65 ปีขึ้นไปมีความเสี่ยงที่จะป่วยโรคนี้มากขึ้น และความน่ากังวลคือไม่ค่อยมีสัญญาณเตือนหรืออาการที่บ่งบอกแน่ชัดจนสามารถสังเกตได้ รู้จักโรคสมองตีบ-ตันให้มากขึ้น โรคสมองตีบ-ตัน หรือ ที่หลายคนรู้จักในอีกชื่อคือ Ischemic Stroke เป็นภาวะสมองขาดออกซิเจนและเลือด เกิดจากผนังหลอดเลือดหนาจากการที่ไขมันไปสะสมตามผนังหลอดเลือด ทำให้เลือดไหลเวียนได้ไม่ดีเท่าที่ควร ซึ่งหากผนังหลอดเลือดหนาขึ้นก็จะทำให้เลือดไม่สามารถไปหล่อเลี้ยงสมองได้ เกิดความเสียหายต่อระบบต่าง ๆ ของร่างกาย ผู้ป่วยอาจจะไม่สามารถควบคุมร่างกายได้ ซึ่งในบางรายอาจจะทำให้กลายเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือมีความผิดปกติ ไม่ว่าจะชาครึ่งซีก ตามองไม่เห็น แต่ถ้าผู้ป่วยได้รับการรักษาและวินิจฉัยทันท่วงทีก็อาจจะลดความเสียหายดังกล่าวได้ สถิติที่น่าเป็นกังวลของโรคสมองตีบ-ตัน ปัจจุบันประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ในอนาคตอาจจะมีผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงเป็นโรคสมองตีบ-ตันมากขึ้น โดยพบกว่า 1 ใน 4 ของประชาชนที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้ ซึ่งคาดการณ์ว่าผู้สูงอายุที่ต้องอยู่อย่างโดดเดี่ยวมีโอกาสที่จะเป็นอัมพฤษ์หรืออัมพาตจากการที่ไปโรงพยาบาลไม่ทันมีจำนวนมากขึ้นด้วย นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลให้เกิดโรคนี้กับผู้คนในสังคมมากขึ้นคือพฤติกรรมการบริโภคอาหาร สภาวะความเครียด และการละเลยการดูแลสุขภาพ สาเหตุของการเกิดหลอดเลือดสมองตีบ-ตัน – ไขมันสะสมตามผนังหลอดเลือดจำนวนมาก ทำให้หลอดเลือดแคบ ขาดความยืดหยุ่น เลือดไม่สามารถไหลเวียนไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ได้ – เกิดลิ่มเลือดขนาดเล็กลอยไปเกาะตามผนังหัวใจและลิ้นหัวใจ ลอยไปตามกระแสเลือดจนไปอุดตันที่สมอง – […]
มาดูเหตุผลว่าวัยไหนก็ควรดูแลหัวใจให้แข็งแรงด้วยฮอร์ธอร์นและโคคิวเท็น
เชื่อว่าหลายคนยังคงมีความเชื่อว่าเรื่อง “หัวใจ” เป็นเรื่องของคนสูงอายุ แต่จริง ๆ การดูแลหัวใจเป็นเรื่องของคนทุกวัย เพราะหัวใจของเราทำงานหนักมาตลอด ยิ่งใครมีใช้ชีวิตบนปัจจัยเสี่ยงก็ยิ่งต้องดูแลสุขภาพหัวใจ โดยไม่ต้องรอให้อายุมาก ชวนดูเหตุผลที่คนทุกวัยต้องเริ่มดูแลหัวใจได้ตั้งแต่วันนี้ เมื่อปี 2563 กลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของคนทั่วโลก ในไทยเองสถิติผู้ป่วยก็มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทุกวัน โดยมีผู้เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดกว่า 60,000 รายต่อปี ซึ่งเป็นสถิติที่น่าเป็นกังวลมาก และที่สำคัญคนป่วยโรคหัวใจมีอายุน้อยลงเรื่อย ๆ จากปัจจัยเสี่ยงในการใช้ชีวิต ได้แก่ – ความผิดปกติของหัวใจแต่กำเนิด ซึ่งอาจจะส่งผลให้คนที่อายุไม่มากเป็นโรคหัวใจได้ – สูบบุหรี่จัด บางคนสูบวันละหลายซอง ซึ่งการสูบบุหรี่ส่งผลต่อหัวใจโดยตรง บางคนอายุเพียง 35-40 ปี ก็พบว่าหัวใจของตัวเองมีความผิดปกติแล้ว เนื่องจากบุหรี่มีสารพิษมากมาย และเมื่อสูบบุหรี่ สารพิษจากควันจะเข้าไปสู่กระแสเลือด ทำให้เลือดข้นหนืด ส่งผลให้การไหลเวียนเลือดผิดปกติ จนเกิดเป็นโรคหัวใจได้ – การทำงานหนักและหักโหมในการเล่นกีฬา การใช้ร่างกายในการทำงานหนัก ๆ หรือนักกีฬา มีความเสี่ยงที่จะผนังหัวใจหนาขึ้นได้ – พฤติกรรมการเลือกทานอาหาร นี่ก็เป็นอีกปัจจัยที่ส่งผลให้คนป่วยโรคหัวใจอายุน้อยลง จากการทานอาหารไขมันสูง น้ำตาลสูง โซเดียมสูง ซึ่งอาหารเหล่านี้ ส่งผลต่อการทำงานของหัวใจทั้งสิ้น […]
เหตุผลที่โลกโซเชียลทำคนเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดมากขึ้น
ต้องยอมรับเลยครับว่าปัจจุบันนี้ โลกโซเชียลมีผลต่อชีวิตของเรามาก ๆ แม้ว่าเราจะมีโลกแห่งความเป็นจริงที่เราต้องใช้ชีวิตจริง ๆ ของเรา แต่โซเซียลที่คู่ขนานกับโลกจริงของเรามีอิทธิพลต่อการใช้ชีวิตมหาศาล ซึ่งก็มีข้อดีมากมาย ไม่ว่าจะทำให้เรารู้จักโลกที่กว้างใหญ่ใบนี้อย่างไร้ขีดจำกัด รวมไปถึงได้มองเห็นความหลากหลาย และสร้างวัฒนธรรมในการใช้ชีวิตใหม่ ๆ ได้มากมาย แต่ก็ต้องยอมรับว่าข้อเสียที่อาจจะทำให้ผู้คนป่วยได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะโรคที่ใครก็ไม่อยากเป็นอย่างโรคหัวใจและหลอดเลือด ทำไมโซเชียลมีผลมาดูเหตุผลกันครับ? ความรวดเร็วและพฤติกรรมที่พลาดไม่ได้ พฤติกรรมการใช้โซเชียลของผู้คนต้องการความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ทำให้คอนเท็นหรือเนื้อหาต้องรวดเร็ว ว่องไว ทำให้สร้างพฤติกรรมที่พลาดไม่ได้ขึ้นมา ส่งผลให้ผู้คนรู้สึกว่าการรอเป็นเรื่องที่ทำได้ยากขึ้น หลายครั้งการติดตามข่าวสารเรื่องหนึ่ง ๆ จนไม่สามารถทนรอได้จนกลายเป็นความกระวนกระวายใจ หงุดหงิด เกิดภาวะทางอารมณ์ที่ยากต่อการควบคุม และแน่นอนว่าทำให้เกิดความเครียดจากการต้องเฝ้ารอหน้าจอตลอดเวลา ส่งผลต่อสุขภาพจากความเครียดและพักผ่อนไม่เพียงพอ นี่ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่อาจจะทำให้เกิดโรคหัวใจได้ในอนาคตนะครับ เนื้อหาที่รุนแรงที่ส่งผลต่อหัวใจ ในโลกโซเชียลเราไม่สามารถควบคุมการไหลบ่าของเนื้อหาที่มากมายมหาศาลได้ แม้แพล็ตฟอร์มต่าง ๆ จะมีมาตรการในการปิดกั้นข้อมูลที่รุนแรงหรือมีความกระทบกระเทือนจิตใจผู้ใช้ แต่เนื่องจากข้อมูลที่มากมายมหาศาลก็ไม่สามารถควบคุมได้หมดนะครับ หลายครั้งทำให้เราเห็นภาพ เสียง หรือคลิปวิดีโอที่มีเนื้อรุนแรง กระทบกระเทือนจิตใจ เป็นภาพจำที่ส่งผลต่อจิตใจและร่างกายของเรา โดยเฉพาะในผู้สูงอายุหรือผู้ที่ป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจ จะมีความอ่อนไหวต่อเรื่องที่กระทบจิตใจเป็นพิเศษ การที่ต้องเสพสื่อเหล่านี้ก็นับว่าเพิ่มปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้อาการของโรคเพิ่มขึ้น และเสี่ยงที่จะเกิดเหตุไม่คาดคิดอย่างหัวใจวายเฉียบพลันได้ด้วย สร้างพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ทำลายสุขภาพ การเลียนแบบเนื้อหาจากในโลกออนไลน์หรือที่หลายคนเรียกว่าเทรนด์ ถือเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นในสังคมในยุคนี้เลยก็ว่าได้ เพราะมักจะมีเทรนด์ใหม่ ๆ เกิดขึ้นอยู่เสมอ ซึ่งบางเทรนด์ก็ดูไม่มีพิษภัย แต่บางเทรนด์ก็อาจจะสร้างความเสียหายให้ตัวเองและคนอื่นได้ แต่เนื้อหาที่สร้างผลกระทบในระยะยาวให้หลาย ๆ […]