เคยสงสัยกันไหมว่า? เวลาที่เราทำงานเยอะเกินไป มีภาวะตึงเครียดกับเรื่องอะไรบางอย่างเวลานาน ทำไมรู้สึกร่างกายของเราอ่อนแอ อาจจะป่วยร่วมด้วย หรือรู้สึกไม่สบายตัว นั่นเป็นผลพวงจากสภาวะจิตใจที่ผูกโยงกับสภาวะร่างกายอย่างแยกไม่ออก ทำให้เมื่อเราไม่สบายใจ กายของเราก็จะพลอยไม่สบายไปด้วย มาไขความลับที่หยั่งถึงของจิตใจที่มีผลต่อร่างกายและภูมิคุ้มกันของเรากันครับ ระบบภูมิคุ้มกัน (Immune System) ทำงานอย่างไร? ระบบภูมิคุ้มกัน เป็นกลไกหนึ่งของร่างกาย ซึ่งเป็นกลไกตามธรรมชาติที่ทำหน้าที่ป้องกันและต้านทานไม่ให้เชื้อโรคจากภายนอกเข้าสู่ร่างกาย หรือปกป้องไม่ให้เราติดเชื้อจากโรคเหล่านั้น โดยมีสารเคมีสำคัญที่สร้างขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่นั้นและทำลายเชื้อโรค และเซลล์ที่ทำหน้าที่สำคัญนั้นคือเซลล์เม็ดเลือดขาว ที่มีอยู่ในกระแสเลือดของเรา คอยช่วยตรวจจับสิ่งแปลกปลอมภายในร่างกายและทำลายไป แล้วสภาพจิตใจและภูมิคุ้มกันเกี่ยวข้องกันอย่างไร? ระบบในร่างกายของเราทำงานเกี่ยวพันกันอย่างแยกไม่ออก เมื่อเราเกิดความเครียด มีความไม่มั่นคงทางจิตใจ หรือสภาพแวดล้อมที่ทำให้รู้สึกกังวลใจ สมองก็จะตอบสนองสภาวะนั้นทันทีโดยการหลั่งฮอร์โมนส์ “คอร์ติซอล” หรือฮอร์โมนความเครียดออกมา โดยจะทำให้เกิดการหายใจและอัตราการเต้นของหัวใจเร็วขึ้น สามารถจดจ่อ และพยายามหาทางออกกับเรื่องที่เผชิญตรงหน้าได้ อย่างเวลากำลังแข่งขันหรือแก้ปัญหาเฉพาะหน้าต่าง ๆ แต่ไม่เป็นผลดีหากฮอร์โมนส์ชนิดนี้ถูกหลั่งบ่อย ๆ เพราะนั่นแปลว่ากำลังจะเจอความเครียดเรื้อรังได้นะครับ อย่างเช่นสถานการณ์โควิด-19 ที่ยังคงเป็นปัญหาหลักและเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การใช้ชีวิตเปลี่ยนไปอย่างกู่ไม่กลับ การเผชิญกับข้อมูลข่าวสารที่สร้างความตระหนก บรรยากาศที่เต็มไปด้วยความหดหู่ ความหวาดกลัวที่จะติดโรค การต้องทำงานอยู่บ้านเป็นเวลานาน รวมไปถึงการบริหารจัดการต่าง ๆ ทำให้ใครหลายคนอาจจะเจอภาวะความเครียดอย่างต่อเนื่อง ทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว อาจจะนำไปสู่การทำงานของภูมิคุ้มกันในร่างกายต่ำจากความเครียดก็เป็นได้ครับ สังเกตอย่างไรว่าตัวเองกำลังภูมิคุ้มกันต่ำจากความเครียด? นอนไม่หลับ – เป็นจุดสังเกตง่ายมาก ๆ เมื่อเวลาเราเจอภาวะเครียดเรามักจะนอนไม่หลับ […]
รู้จัก ไขมันดี VS ไขมันเลว ให้ดีกว่าเดิม!
เวลาไปตรวจสุขภาพประจำปีหมอก็จะบอกว่าเรามีไขมันดีเท่านี้นะ ไขมันเลวเท่านี้นะ แน่นอนว่าเห็นชื่อก็คงต้องคิดแล้วว่าถ้ามีไขมันเลวเยอะแสดงว่าสุขภาพของเราไม่ดีหรือเปล่า? แล้วแท้จริงแล้วไขมันเลวคืออะไรกันแน่? มาร่วมหาคำตอบไปพร้อม ๆ กันเลยครับ แต่ก่อนไปทำความรู้จักไขมันทั้งสองแบบนี้ ต้องรู้จักคอเลสเตอรอลกันก่อน คอเลสเตอรอลแท้จริงแล้วคืออะไร? คอเลสเตอรอล เป็นอนุภาคไขมันที่ตับสามารถผลิตขึ้นได้ เพื่อนำส่งยังที่เซลล์ต่าง ๆ ทั่วร่างกาย เป็นสารตั้งต้นสำคัญในการสร้างฮอร์โมนส์เพศ ทำหน้าที่เป็นส่วนประกอบหนึ่งของผนังเซลล์ และสร้างสารสเตอรอลที่อยู่ใต้ชั้นผิวหนังเพื่อเปลี่ยนเป็นวิตามินดีเมื่อผิวสัมผัสกับแสงแดด นอกจากร่างกายของเราจะผลิตคอเลสเตอรอลได้แล้ว คอเลสเตอรอลยังมาจากอาหารที่รับประทานเข้าไปโดยเฉพาะสัตว์ที่มีกรดไขมันอิ่มตัวสูง คอเลสเตอรอลที่ควรรู้จักแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ – ไขมัน ดี (High Density Lipoprotein) หรือ HDL – ไขมัน เลว (Low Density Lipoprotein) หรือ LDL ไขมันดี (High Density Lipoprotein) หรือ HDL เป็นไขมันที่เปรียบเสมือนพาหนะบรรทุกไลโปโปรตีน (Lipoprotein) ที่มีความหนาแน่นสูง โดยจะขนส่งไขมันในเลือดทั่วร่างกายไปทำลายที่ตับ ไขมัน HDL จึงเป็นไขมันชนิดที่ดีต่อร่างกาย ดังนั้นเมื่อร่างกายมีปริมาณไขมัน HDL […]
ก่อนฉีดวัคซีนโควิด-19 ต้องรู้อะไรบ้าง?
สถานการณ์โควิด-19 ยังคงเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตในทุก ๆ ด้านนะครับ แต่ตอนนี้เราพอจะมีทางออกต่อการรับมือกับวิกฤติครั้งนี้ คือการฉีดวัคซีนนั่นเอง แต่ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ในการวิจัยและพัฒนาวัคซีนทำได้อย่างรวดเร็วจนสามารถประกาศใช้ในภาวะฉุกเฉินได้ จึงทำให้มีวัคซีนโควิดหลากหลายประเภทและหลากหลายยี่ห้อ ที่ต้องอาศัยการศึกษาและทำความเข้าใจพอสมควร วันนี้เลยจะนำข้อมูลในการเข้ารับวัคซีนมาฝากทุกคนกันครับ ก่อนเข้ารับวัคซีน – ศึกษาความแตกต่างของวัคซีนแต่ละประเภท โดยเฉพาะวัคซีนที่เราจะเข้ารับการฉีด – พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่นอนดึก ไม่อดนอน หรือไม่มีอาการป่วยอื่น ๆ – คนที่มีโรคประจำตัว ต้องปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับยาที่รับประทานอยู่ว่าจะมีผลกระทบต่อวัคซีนหรือไม่ – ดื่มน้ำให้เพียงพอ งดเครื่องดื่มจำพวกแอลกอฮอล์ – หากเคยติดเชื้อโควิด-19 ให้เข้ารับวัคซีนหลังจากหายป่วยอย่างน้อย 3 เดือน – สตรีมีครรภ์ ต้องมีอายุครรภ์มากกว่า 12 สัปดาห์ถึงจะรับวัคซีนโควิด-19 ได้ – ผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีโรคความดันโลหิตสูง ควรมีระดับความดันโลหิตที่ค่า Systolic ที่ไม่เกิน 160 มิลลิเมตรปรอทก่อนการเข้ารับการฉีดวัคซีน – ควรฉีดวัคซีนห่างจากวัคซีนประเภทอื่น ๆ อย่างน้อย 2 สัปดาห์ – ไม่ควรใช้แรงหรือออกกำลังกายหนักก่อนเข้ารับวัคซีน สำหรับผู้หญิงที่ประจำเดือนอยู่สามารถเข้ารับวัคซีนได้เลยครับ ระหว่างเข้ารับวัคซีน – […]