เชื่อว่าหลายคนที่เคยลดน้ำหนัก ทั้งที่ออกกำลังกายหนักมาก แถมควบคุมอาหารอีกด้วย แต่น้ำหนักก็ไม่ลด หรือลดก็ไม่ลดแบบที่คาดหวังไว้ จนรู้สึกเหนื่อย ท้อ และทำให้เป้าหมายถูกล้มเลิกไปในที่สุด แต่เชื่อว่าหลายคนเองก็ไม่เคยสังเกตตัวเองขณะลดน้ำหนัก รู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า ไม่สดชื่น ซึ่งนี่คือสิ่งที่แสดงให้เห็นว่าคุณอาจจะกำลังลดน้ำหนักแบบผิดวิธี และสิ่งหนึ่งที่หลายคนละเลยคือ การเพิ่มภูมิคุ้มกันให้ร่างกายช่วงลดน้ำหนัก ทำไมเรื่องนี้สำคัญ แล้วลดน้ำหนักให้ถูกวิธีต้องทำอย่างไร มาดูกันครับ ภูมิคุ้มกันสำคัญอย่างไรกับการลดน้ำหนัก สังเกตว่าช่วงลดน้ำหนักเราจะรู้สึกเหนื่อยกว่าปกติ อ่อนเพลีย หรือกระทั่งนอนหลับยากขึ้น นั่นเป็นเพราะร่างกายกำลังปรับสภาพ และระบบเมแทบอลิซึมกำลังเผาผลาญมากขึ้น ยิ่งคนที่ลดน้ำหนักผิดวิธี เช่น การอดอาหาร การออกกำลังกายหนักจนเกินไป หรือการเลือกกินแต่อาหารที่ให้แค่ใยอาหาร ไม่ให้พลังงาน จะยิ่งมีอาการที่ชัดเจน นอกจากวิธีการเหล่านี้จะทำให้ร่างกายทำงานหนักมากขึ้น ยังทำให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายตกลงด้วย จากสาเหตุข้างต้น เพราะระบบภูมิคุ้มกันทำงานสอดประสานกับระบบต่าง ๆ ของร่างกายอย่างเป็นเกี่ยวโยงกัน การลดน้ำหนักที่น้ำหนักไม่ลด อาจจะเพราะใช้วิธีที่ไม่ถูกต้อง และไม่สามารถรักษาภูมิคุ้มกันในร่างกายให้สมดุลได้ด้วย การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายแข็งแรงจึงจำเป็นอยู่เสมอ โดยเฉพาะร่างกายอยู่ในช่วงปรับตัวขณะที่เรากำลังลดน้ำหนัก ยิ่งช่วงแรกร่างกายอาจจะรู้สึกเหนื่อยล้ามาก แต่หากเรามีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงก็จะลดเสี่ยงที่จะป่วยแทรกซ้อนได้ เพราะบางคนลดน้ำหนักแบบหักโหมจนเป็นไข้ก็มีครับ แนะนำขณะที่ออกกำลังกายทานสารสกัดเบต้ากลูแคนควบคู่ไปด้วย จะช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ร่างกายได้ดี เพราะเข้าไปทำงานกับเม็ดเลือดขาวโดยตรง ช่วยลดการอักเสบของเนื้อเยื่อ เวลาเราออกกำลังกายจะลดอาการบาดเจ็บ ปวด เมื่อย และล้าจนเกินไปได้ ทั้งยังมีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยให้หลังออกกำลังกายรู้สึกสดชื่นมากยิ่งขึ้น […]
พฤติกรรมที่ทำให้เรา “ไม่แก่เร็ว” ด้วยการดูแลหัวใจให้แข็งแรง
ใคร ๆ ก็ไม่อยากแก่จริงไหมครับ แต่ใครก็ไม่สามารถห้ามกาลเวลาได้ ยิ่งอายุประมาณหนึ่งยิ่งเริ่มเห็นความเปลี่ยนแปลงของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นผิวหนังที่เริ่มมีริ้วรอย เส้นผมแซมสีขาว สายตาที่เปลี่ยนไป หรือกระทั่งการปวดตามข้อต่าง ๆ ก็เป็นบ่อยมากยิ่งขึ้น กระทั่งระบบภายในก็ไม่เหมือนก่อน เช่น การย่อยอาหารยากขึ้น เหนื่อยง่ายขึ้น หรือนอนหลับยากขึ้น แต่รู้ไหมครับอาการทั้งหมดนี้หากเราดูแลหัวใจให้แข็งแรง จะชะลอเรื่องพวกนี้ได้นะ! เราจะดูแลหัวใจให้แข็งแรงและไม่แก่เร็วได้ด้วยวิธีไหนบ้าง? 1. การรับประทานสารสกัดจากฮอร์ธอร์น ฮอร์ธอร์นเป็นหนึ่งในสารสกัดที่มีชื่อเสียงด้านการดูแลและบำรุงหัวใจ โดยมีสรรพคุณที่ช่วยขยายหลอดเลือดหัวใจ ให้หลอดเลือดมีความยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น ช่วยให้เลือดสามารถไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ได้ดี หัวใจไม่ต้องทำงานหนัก ช่วยลดการอุดกั้นของไขมันในหลอดเลือด ทั้งยังรักษาสมดุลของไขมันคอเลสเตอรอลในร่างกายได้อีกทางหนึ่ง ช่วยควบคุมไม่ให้น้ำตาลในเลือดสูงเกินไป เพราะหากน้ำตาลในเลือดสูงอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายก็จะทำงานหนักตามไปด้วย ทั้งยังลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ที่สำคัญสารสกัดจากฮอร์ธอร์นมีสารต้านอนุมูลอิสระช่วยชะลอวัย ให้ผิวพรรณดูเต่งตึง ลดผมร่วง และไม่ให้ผิวแห้งกร้านได้ด้วย 2. รับประทานสารสกัดจากโคคิวเท็น โคคิวเท็นเป็นหนึ่งในสารสำคัญที่ช่วยเติมพลังให้หัวใจได้อย่างดี เดิมโคคิวเท็นร่างกายสามารถสร้างเองได้ แต่เมื่อนานวันเข้าก็จะสร้างได้น้อยลงตามวัย ซึ่งมีงานวิจัยว่าคนที่เป็นโรคหัวใจมักขาดโคคิวเท็น โดยโคคิวเท็นเป็นพลังงานของอวัยวะสำคัญต่าง ๆ เช่น หัวใจ ปอด ตับ ไต ฯลฯ […]
รู้จักโรคความดันโลหิตต่ำและความดันโลหิตสูง ต่างอย่างไร ดูแลตัวเองยังไง?
แม้จะมีโรคใหม่เกิดขึ้นเรื่อย ๆ รวมถึงสภาพอากาศที่แปรปรวนทำให้เราต้องเตรียมตัวรับมือกับสิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นอย่างระมัดระวังเสมอ แต่ก็อย่าลืมโรคที่เคยมีอยู่เพราะว่าโรคเหล่านี้ก็ยังคงอยู่และสามารถทำให้เราป่วยได้เช่นเดิม อย่างเช่น โรคความดันโลหิต หลายคนเห็นคนใกล้ตัวเป็นจนคิดว่าเป็นเรื่องปกติทั้งที่ความจริงแล้วการเป็นโรคถือว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้นกับร่างกายของเราแล้ว ทั้งยังแยกความอันตรายของความดันโลหิตต่ำ-สูง ยาก จึงอยากมาแนะนำความแตกต่างและการดูแลตัวเองที่แตกต่างกันของโรคนี้กันให้มากขึ้นครับ โรคความดันโลหิตต่ำ เป็นภาวะที่ความดันเลือดซิสโตลิกต่ำกว่า 90 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งเป็นภาวะที่พบทุกเพศไม่ว่าจะผู้ชายหรือผู้หญิงก็มีความเสี่ยงพอ ๆ กัน ที่สำคัญไม่ว่าอายุเท่าไหร่ก็สามารถเป็นได้ ส่วนมากเกิดจากการขาดสารอาหารบางชนิด เช่น การรับประทานโปรตีนไม่เพียงพอ หรือการขาดวิตามินซีที่ทำให้ผนังหลอดเลือดไม่แข็งแรง จนเกิดการคลายตัว แต่จะสามารถหายเองได้ หากอยู่ในภาวะความดันโลหิตต่ำอาจจะไม่ก่อให้เกิดอาการใด ๆ แต่หากเกิดในผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดไปหล่อเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ อาจจะทำให้เวียนหัว หน้ามืด เป็นลมได้ หรือเกิดตาพร่าชั่วขณะ คลื่นไส้ อาเจียน เหนื่อย และกระหายน้ำมากกว่าปกติ ดูแลร่างกายอย่างไรเมื่อความดันโลหิตต่ำ – ควรนั่งพัก โดยพยายามยกเท้าให้สูงกว่าระดับหัวใจเพื่อให้เลือดไปหล่อเลี้ยงสมอง – ไม่ควรยืนหรือเดินนาน ๆ ในทันทีที่มีอาการ – เลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน และแอลกอฮอล์ – เลี่ยงการนอนดึก เพราะการพักผ่อนไม่เพียงพอจะทำให้เกิดความดันโลหิตต่ำได้ง่าย ความดันโลหิตสูง โดยปกติแล้วหากวัดค่าความดันโลหิตคนปกติจะมีค่าอยู่ที่ประมาณ 120/80 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งวัดจากการบีบตัวและคลายตัวของหัวใจ แต่หากวัดแล้วได้ค่าตั้งแต่ […]