โรคความดันโลหิตใกล้ตัวหลาย ๆ คนมากกว่าที่คิดนะครับ เพราะเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มีผู้ป่วยจำนวนมาก และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มจำนวนเยอะขึ้นทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยด้วย แม้โรคนี้จะดูไม่อันตรายถึงขั้นเสียชีวิตเฉียบพลัน แต่ก็เป็นโรคที่เปิดประตูสู่โรคเรื้อรังหลายแรงได้ ไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคเบาหวาน ฯลฯ ซึ่งปัจจัยสำคัญในการควบคุมความดันโลหิตคือ การรับประทานอาหาร แต่ทานอย่างไรถึงจะเหมาะสม วันนี้มีวิธีมาแนะนำครับ 1. จำกัดปริมาณโซเดียมในอาหาร โซเดียมเป็นหนึ่งในแร่ธาตุตามธรรมชาติ ซึ่งมักจะมีปริมาณไม่มากจนส่งผลต่อร่างกาย แต่สำหรับอาหารแปรรูป เครื่องปรุง หรือการปรุงอาหาร โดยเฉพาะอาหารจานด่วน มักจะมีการเติมโซเดียมในปริมาณที่มาก เพื่อเพิ่มให้รสชาติของอาหารดียิ่งขึ้น ซึ่งผู้ที่มีความดันโลหิตสูงไม่ควรได้รับโซเดียมเกิน 2,400 มิลลิกรัม/วัน ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็ม รสจัด หรือหลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป อาทิ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เนื้อสัตว์แปรรูป อย่าง ไส้กรอก แฮม และหลีกเลี่ยงอาหารประเภทบุฟเฟ่ต์ เพราะจะทำให้คนรับประทานมากกว่าปกติ ซึ่งเสี่ยงที่จะได้รับโซเดียมเกินความจำเป็นต่อร่างกาย 2. จำกัดอาหารประเภทน้ำตาลและแป้ง การรับประทานอาหารประเภทน้ำตาลและแป้งมักจะมาจากข้าวที่เป็นอาหารหลัก สำหรับผู้ป่วยความดันควรได้รับน้ำตาลไม่ต่างจากผู้คนทั่วไป คือ ไม่ควรเกิน 2,400 กิโลแคลเลอรี/วัน หรือ 24 กรัม หรือ 6 ช้อนชา หรือเปลี่ยนจากข้าวขาวที่รับประทานปกติเป็นข้าวซ้อมมือหรือข้าวไม่ขัดสี […]
เสี่ยงอัมพฤกษ์-อัมพาต เพราะไขมันในหลอดเลือด
หลายคนทราบอยู่แล้วนะครับว่าการมีภาวะไขมันในเลือดสูงไม่ได้ส่งผลดีต่อร่างกายในระยะสั้นหรือระยะยาวเลย แต่ก็ยังมีหลายคนที่ละเลยในการดูแลสุขภาพโดยเฉพาะการควบคุมปริมาณไขมันในร่างกาย วันนี้จะมาบอกให้ทุกคนตระหนักรู้มากขึ้นในการควบคุมการดูแลไขมันก่อนจะเสี่ยงอัมพฤกษ์-อัมพาตครับ ทำไมภาวะไขมันสูงถึงเสี่ยงอัมพฤกษ์-อัมพาต? เมื่อร่างกายมีไขมันในมากจนเกินไป จะไปเกาะตามผนังหลอดเลือด ขัดขวางการไหลเวียนของหลอดเลือด หลอดเลือดตีบ-ตัน และทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก ซึ่งทำให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนไปเลี้ยงอวัยวะได้เพียงพอ โดยเฉพาะสมองซึ่งอาจจะส่งผลให้เกิดโรคได้ นอกจากนี้ยังทำให้หัวใจทำงานหนักมากขึ้น เพราะต้องพยายามสูบฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยงร่างกาย ส่งผลให้เกิดเป็นโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูงขึ้น หรืออาจจะเกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลันได้ด้วย สาเหตุของการเกิดไขมันหลอดเลือดสูง 1. มีคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคไขมันในเลือดสูง 2. การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงเป็นประจำ 3. การเป็นโรคบางชนิด เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิต 4. การดื่มแอลกอฮอล์หรือสูบบุหรี่เป็นประจำ 5. ยาบางชนิด เช่น ยาขับปัสสาวะ ยาสเตรียรอยด์ 6. ความเครียด ทำงานหนัก และพักผ่อนไม่เพียงพอ รักษาระดับไขมันในร่างกายลดความเสี่ยงไขมันในหลอดเลือดสูง ระดับไขมันในร่างกายที่ปกติคือ คอเลสเตอรอลต่ำกว่า 200 มก./ดล. ไตรกลีเซอร์ไรด์ต่ำกว่า 200 มก./ดล. และไขมันชนิด HDL สูงกว่า 35 มก./ดล. ซึ่งสิ่งที่จะทำให้เรารักษาสมดุลระดับไขมันในเลือดได้มีดังนี้ – ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี การตรวจสุขภาพประจำปีเป็นการรีเช็กว่า […]
นอนกรนสัญญาณโรคร้ายอะไรบ้าง?
แม้พฤติกรรมการนอนกรนจะดูเหมือนเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้กับหลาย ๆ คน แต่รู้ไหมครับว่าการนอนกรนนั้นสามารถที่บอกได้นะครับว่าคุณเสี่ยงจะเป็นโรคอะไรบ้าง เพราะการกรนถือเป็น “เรื่องไม่ปกติ” ในการนอนหลับพักผ่อนครับ มาดูกันครับว่าการนอนกรนทำไมถึงอันตราย และเสี่ยงโรคอะไรบ้าง? การนอนกรนเกิดจากอะไร? โดยปกติเมื่อเรานอนหลับกล้ามเนื้อต่าง ๆ จะหย่อนตัวหรือคลายตัวลง ซึ่งอวัยวะในทางเดินหายใจของเรา ไม่ว่าจะเป็นเพดานอ่อน โคนลิ้น ก็อาจจะหย่อนลงมาทำให้ทางเดินหายใจตีบหรือแคบลงได้ โดยเฉพาะท่านอนหงาย พอเราหายใจเอาอากาศเข้าลมที่ผ่านช่องนี้ก็จะทำให้กล้ามเนื้อกระพือจนเกิดเสียงเหมือนลมเป่าผ่านท่อ หากกรนเสียงดังมากและต่อเนื่องทั้งคืน แม้จะพลิกตัวก็แล้วการกรนก็ยังไม่หาย หรือเรียกได้ว่ากรนเป็นกิจวัตร อันนี้ต้องระวังเพราะเสี่ยงที่จะเป็นโรคได้ สาเหตุที่นอนกรนมีอะไรบ้าง? – น้ำหนักตัวเกินกว่าเกณฑ์มาตรฐาน เป็นโรคอ้วน – ไขมันในช่องคอหนา เนื่องจากมีการสะสมไขมันในร่างกายจำนวนมาก – ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นประจำ ก็ทำให้กล้ามเนื้อหย่อนได้ – สูบบุหรี่เป็นประจำ ทำให้ลำคอและหลอดลมทำงานผิดปกติ – ความเหนื่อย กับการนอนกรน ก็มีส่วนเกี่ยวข้องกันอย่างมาก – ติดนิสัยนอนนอนหงายเป็นประจำ – อายุมากขึ้นทำให้กล้ามเนื้อหย่อนคล้อย นอนกรนเสี่ยงโรคเหล่านี้ โรคหัวใจ เนื่องจากการนอนกรนเกิดจากทางเดินหายใจที่แคบและตีบลง อาจจะทำให้ออกซิเจนไม่เพียงพอในร่างกาย และกลับทำให้ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้น ซึ่งมีงานวิจัยว่าผู้ที่มีอาการนอนกรนอาจจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจสูงมากกว่าคนทั่วไป โรคมะเร็ง อาจจะดูเป็นเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกัน แต่พฤติกรรมการนอนกรนอาจจะเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งได้ เนื่องจากการที่ร่างกายขาดออกซิเจนบ่อย ๆ […]