“เจ็บหน้าอก” แบบไหนเสี่ยงโรคร้าย

เจ็บหน้าอก

หากคุณรู้สึกเจ็บหน้าอกอย่าละเลย ไม่ว่าจะเจ็บน้อย เจ็บมาก ปวด ชา หรือรู้สึกเจ็บแปลบ เพราะอาการเจ็บหน้าอกมักเป็นสัญญาณเตือนของโรคที่เกี่ยวกับอวัยวะช่วงหน้าอกได้ ไม่ใช่แค่โรคหัวใจ แต่โรคอื่น ๆ เช่น โรคปอด โรคที่เกี่ยวกับหลอดอาหาร หรือโรคที่เกี่ยวกับระบบหายใจ หลายโรคมักแสดงออกด้วยการเจ็บหน้าอกได้เช่นกัน มาดูความแตกต่างของอาการเจ็บหน้าอกในแต่ละแบบแล้วสังเกตอาการตัวเองกันครับ

อาการเจ็บหน้าอกแบบไหนที่ไม่ปกติ

หากมีอาการที่เกี่ยวกับการเจ็บหน้าอกเหล่านี้ควรไปปรึกษาแพทย์ ไม่ควรทิ้งเวลาให้เกิดนาน

– อาการปวดแน่นหน้าอก หรือเมื่อหายใจรู้สึกอึดอัด

– รู้สึกเจ็บ เหมือนมีอะไรมากดทับ หรือปวดร้าวไปถึงบริเวณคอ บ่า ไหล่

– จุกเสียดแน่น หรือแสบที่ลิ้นปรี่

– รู้สึกเหนื่อย หอบ หายใจไม่ทัน หายใจไม่อิ่ม

– รู้สึกวงเวียน คลื่นไส้ เหงื่อออก

– หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น

อาการเจ็บหน้าอกแบบนี้อาจจะเป็นโรคร้าย

โรคหัวใจ – อาการเจ็บหน้าอกส่วนใหญ่มักเป็นหนึ่งในอาการหลักของโรคหัวใจต่าง ๆ อย่างเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งผู้ป่วยอาจจะรู้สึกปวดอกแบบจุดเค้น อาจกระจายไปสู่การเจ็บแขน ไหล่ กราม หรือหลังได้ เกิดจากการที่เลือดไม่สามารถไปหล่อเลี้ยงหัวใจได้เพียงพอ ทำให้กล้ามหัวใจบีบเค้นมากขึ้น นอกจากนี้อาจจะเป็นสัญญาณของภาวะหัวใจอื่น ๆ เช่น กล้ามเนื้อหัวใจวายจากภาวะขาดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจโต ลิ้นหัวใจผิดปกติ เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ และอีกหลายโรค

โรคปอด – รู้สึกเจ็บแปลบ จุก เวลาหายใจ ร่วมกับอาการไอ เหนื่อยหอบ อาจจะเกิดจากเยื่อหุ้มปอดอักเสบ หรือปอดมีการอักเสบจากการติดเชื้อ หรือโรคปอดอีกชนิดที่เกิดขึ้นได้ คือ โรคปอดบวม ฝีในปอด และการติดเชื้อในปอดร่วมด้วย นอกจากนี้การเจ็บหน้าอกยังสามารถเกิดโรคลิ่มเลือดอุดกั้นในหลอดเลือดปอด ซึ่งเป็นอีกโรคที่หลายคนไม่ค่อยรู้จักเท่าไหร่ครับ กระทั่งโรคหืดหอบก็อาจจะรวมอยู่ด้วย

โรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร – อาการแสบร้อน แน่นหน้าอกกลางอกหรือในลำคอ อาจจะเกิดจากภาวะกรดไหลย้อนในกระเพาะอาหาร ทำให้กลืนอาหารลำบากหรือภาวะที่ทำให้หลอดอาหารมีความไวต่อสิ่งเร้า หลอดอาหารเป็นแผล หลอดอาหารทะลุ โรคเกี่ยวกับกะบังลม อาการเจ็บแสบที่หน้าอกอาจจะเป็นสัญญาณเตือนของโรคเหล่านี้

จะเห็นได้เลยว่าอาการเจ็บหน้าอกนั้นไม่ควรที่จะละเลยอย่างยิ่ง เพราะอาจจะเป็นสัญญาณเตือนของโรคบางอย่างที่ทั้งสามารถรักษาให้หายขาดได้ และตรวจวินิจฉัยได้เร็ว อาการก็จะไม่หนัก แต่สั่งเกตว่าจะเป็นโรคที่เกี่ยวกับอวัยวะสำคัญ เช่น หัวใจ ปอด ตับ หลอดอาหาร ฯลฯ หากอวัยวะเหล่านี้ได้รับพลังงานจาก “โคคิวเท็น” ซึ่งถือเป็นพลังงานให้เซลล์ของอวัยวะสำคัญเหล่านี้ ก็จะช่วยความเสี่ยงที่จะเกิดโรคร้ายขึ้นได้ ทั้งยังช่วยให้ระบบต่าง ๆ ของร่างกายทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพอีกด้วย

Leave a comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

TOP