แม้โรคความดันโลหิตจะไม่ได้แสดงอาการชัดเจน หรือสร้างความเจ็บป่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกทรมานได้ แต่การเป็นโรคความดันโลหิตถือว่าเป็นภัยเงียบที่นำไปสู่โรคอื่น ๆ ได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน โรคไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง หรือกระทั่งโรคเบาหวานได้อีกด้วย ซึ่งหนึ่งในปัจจัยของการเป็นโรคความดันโลหิตคือการรับประทานอาหารนั่นเองนะครับ วันนี้จะมาแนะนำอาหารที่มีประโยชน์ต่อผู้ที่มีความดันโลหิตสูง และที่สำคัญหาทานง่ายใกล้ตัว วิธีการเลือกอาหารที่ช่วยลดความดันโลหิตสูง ให้เลือกทานอาหารที่รสไม่จัด ไม่มีไขมันอิ่มตัว ย่อยง่าย และช่วยให้อิ่มสบายท้อง เช่น 1. เนื้อปลา โดยเฉพาะปลาเนื้ออ่อน ปลาเนื้อขาว ในเนื้อปลาพวกนี้จะมีแร่ธาตุแมกนิเซียมและโพแทสเซียม ซึ่งเป็นสารอาหารที่ช่วยควบคุมความดันโลหิตได้ ให้เลือกทานโปรตีนที่ได้จากปลามากกว่าเนื้อสัตว์อื่นๆ เช่น เนื้อแดง เนื้อติดมัน หรือเนื้อสัตว์แปรรูปประเภทต่าง ๆ 2. ทานวิตามินที่มีสารสกัดจากฮอร์ธอร์นและโคคิวเท็น เนื่องจากสารสกัดทั้งสองประเภทนี้มีรายงานว่าช่วยควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมได้ เนื่องจากสามารถขยายการทำงานของหลอดเลือดในร่างกาย เลือดจึงสามารถไหลเวียนได้ปกติ ช่วยให้ความดันในเลือดลดลง นอกจากนี้ยังช่วยควบคุมระดับคอเลสเตอรอลในร่างกาย ซึ่งมีส่วนที่ทำให้ความดันโลหิตสูงได้นั่นเองครับ 3. อะโวคาโด เป็นผลไม้ที่ตอนนี้หาทานได้ง่ายมากขึ้น ราคาไม่แพง จัดเป็นไขมันดีที่เหมาะกับร่างกาย ช่วยดูดซึมวิตามินบางชนิดเข้าสู่ร่างกายได้ดี ช่วยลดไขมันไม่ดีในร่างกาย ที่เป็นสาเหตุของความดันโลหิตสูงได้ด้วย นอกจากนี้ในอะโวคาโดยังมีโพแทสเซียมสูงป้องกันความดันโลหิตสูงได้ด้วย 4. ถั่วหรือธัญพืช ในถั่วหรือธัญพืชเต็มไปด้วยไขมันดีต่อร่างกาย ซึ่งช่วยให้คอเลสเตอรอลในร่างกายลดลงในภาพรวม รวมไปถึงความดันโลหิตก็ลดตามไปด้วย แต่ควรเลือกรับประทานถั่วที่ไม่ผ่านการผสมเกลือ เพราะโซเดียมอาจจะทำให้ความดันโลหิตพุ่งสูงขึ้นได้ครับ […]
คอเลสเตอรอลสูงขึ้น มาพร้อมกับอายุที่มากขึ้น
ต้องยอมรับว่าเมื่อเราอายุเพิ่มขึ้น ร่างกายเริ่มทำงานไม่เหมือนสมัยเรายังเป็นวัยรุ่น ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อง่ายขึ้น เหนื่อยง่ายขึ้น อ้วนขึ้น หรือรู้สึกไม่กระฉับกระเฉงเหมือนเคย อีกสิ่งหนึ่งที่เพิ่มขึ้นอย่างเลี่ยงได้ยากคือคอเลสเตอรอลหรือไขมันในเลือดที่เพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้เรามีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโรคหลอดเลือด โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง วันนี้มาแชร์ทริกดูแลตัวเองและการควบคุมระดับคอเลสเตอรอล สาเหตุที่ทำให้คอเลสเตอรอลในเลือดสูง 1. การรับประทานอาหาร ยิ่งอายุมากควรทานอาหารให้พอดีกับความต้องการของร่างกาย เลี่ยงอาหารจำพวกฟาสต์ฟู้ด บุฟเฟ่ต์ และอาหารไขมันสูง เช่น อาหารทอด เนื้อติดมัน เนื้อสัตว์แปรรูป อาหารน้ำตาลสูงหรือแป้งในปริมาณมาก 2. การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากเป็นประจำ 3. การสูบบุหรี่ 4. การไม่ออกกำลังกาย ทำให้ร่างกายนำพลังงานไปใช้ได้น้อย 5. กรรมพันธุ์ ผู้ที่มีประวัติพ่อแม่หรือญาติมีไขมันในเลือดสูง 6. การมีโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไต โรคตับ โรคต่อมไทรอยด์ทำงานบกพร่อง ทำให้คอเลสเตอรอลในร่างกายสูงได้ง่าย ป้องกันไม่ให้คอเลสเตอรอลในเลือดสูง ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ – เลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ เลี่ยงการทานอาหารที่ไม่ไขมันอิ่มตัว เช่น เนื้อสัตว์ติดมัน เนื้อสัตว์แปรรูป ของทอด […]
เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก อาการ “ลิ้นหัวใจรั่ว”
“หัวใจ” นับได้ว่าเป็นอวัยวะที่ไม่เคยหลับใหล เพราะในขณะที่เราหลับหัวใจก็ยังคงทำงานอยู่ตลอดเวลา ปกติหัวใจของคนเราเต้นอยู่ที่ 60-100 ครั้ง/นาที ในหนึ่ง ๆ วันหัวใจของเราเต้นเป็นแสนครั้ง เพราะร่างกายทุกส่วนต้องการเลือดไปหล่อเลี้ยงอยู่ตลอดเวลา อีกส่วนอวัยวะสำคัญของหัวใจนั่นคือ “ลิ้นหัวใจ” ที่มีควบคุมการไหลเวียนเลือดให้เป็นไปตามทิศทางที่ถูกต้อง และไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับผิดทาง หากอวัยวะนี้ทำงานได้อย่างบกพร่องก็อาจจะเกิดสิ่งไม่คาดคิดกับร่างกายเราได้ การทำงานของลิ้นหัวใจสำคัญอย่างไร? ลิ้นหัวใจทำหน้าที่เหมือนเป็นประตูกั้น ระหว่างห้องหัวใจที่ทำหน้าที่ควบคุมการไหลเวียนเลือดให้ไปในทิศทางที่ถูกต้อง ไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับ ซึ่งหากลิ้นหัวใจมีการทำงานผิดปกติ ก็อาจจะส่งผลกระทบต่อระบบไหลเวียนเลือด ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจต้องทำงานหนักขึ้น จนอาจจะเกิดไปสู่ภาวะต่าง ๆ เช่น หัวใจโต เลือดคั่งในปอด และอาจจะนำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลว และมีโอกาสเสียชีวิตได้เลยนะครับ ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคลิ้นหัวใจรั่ว สาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคลิ้นหัวใจรั่วแบ่งออกได้ 2 สาเหตุใหญ่ ๆ 1. ลิ้นหัวใจผิดปกติตั้งแต่กำเนิด โรคลิ้นหัวใจรั่วส่วนใหญ่มักมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของเนื้อเยื่อลิ้นหัวใจตั้งแต่กำเนิด ซึ่งทำให้กลุ่มคนเหล่านี้มีโอกาสที่ลิ้นหัวใจจะเสื่อมไวกว่าคนทั่วไป หลายเคสอาจจะไม่มีอาการผิดปกติใด ๆ แต่จะเริ่มเหนื่อยง่าย ใจเต้นเร็ว ใจสั่น เมื่อโตขึ้น 2. การใช้ชีวิต และอายุที่เพิ่มขึ้น – อายุที่เพิ่มขึ้น ลิ้นหัวใจก็เสื่อมตามอายุขัย มักพบในผู้สูงวัย เกิดจากการเสื่อมสภาพของเนื้อเยื่อลิ้นหัวใจ มีหินปูนเกาะที่ลิ้นหัวใจ ทำให้การทำงานของลิ้นหัวใจไม่ปกติ นำไปสู่ปัญหาหัวใจรั่วและตีบได้ […]