ตอบครบทุกคำถามเกี่ยวกับมะเร็งปากมดลูก เพื่อนๆ ทราบไหมครับว่า มะเร็ง ปากมดลูก เป็นมะเร็งที่พบได้เยอะเป็นอันดับ 2 ของผู้หญิงไทย (รองจากมะเร็งเต้านม) แต่เป็นมะเร็งชนิดเดียวที่ถ้ารู้ก่อนจะป้องกันและรักษาให้หายได้ด้วยการใส่ใจตัวเอง นั่นคือการหมั่นตรวจหาเชื้อ HPV นั่นเองครับ เชื้อ HPV คืออะไร เชื้อ HPV (Human Papilloma Virus) คือเชื้อไวรัสที่สามารถกระตุ้นให้เกิดโรคมะเร็งในระบบสืบพันธ์ได้ พบบ่อยในเพศหญิง จัดอยู่ในกลุ่มโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่สามารถติดต่อได้หลายช่องทางไม่ว่าจะเป็นทางปากช่องคลอด ทวารหนัก หรือการสัมผัสเชื้อโดยตรง มีมากกว่า 150 สายพันธุ์ย่อย ซึ่งมีส่วนสำคัญต่อการติดเชื้อที่เยื่อบุผิว อีกทั้งเชื้อไวรัส HPV สายพันธุ์ 16 และ 18 นั้น เป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งโดยเฉพาะมะเร็ง ปากมดลูกครับ วันนี้ YOUR มี 5 ปัจจัยหลักๆ ที่จะทำให้เพื่อนๆ ห่างจากเชื้อ HPV ต้นเหตุของมะเร็ง ปากมดลูกมาฝากกัน 1. เลือกทานให้เป็น ถ้าอยากมีร่างกายที่แข็งแรง ก็ต้องทานอาหารให้ได้โภชนาการครบถ้วน ร่างกายก็จะได้รับสารอาหารที่เพียงพอและถูกต้อง […]
“มะเร็งปอด” ต้องกังวล! หาก PM 2.5 ยังอยู่กับเรา
ป้องกันไว้! เลี่ยงให้ไกลมะเร็งปอด มะเร็งที่ปอดเป็นโรคที่พบได้มากในประเทศไทย และเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของทั้งเพศชายและเพศหญิงครับ อย่างไรก็ดี มะเร็งที่พบในปอดสามารถรักษาให้หายได้หากตรวจพบตั้งแต่ในระยะต้น ในช่วงที่หมดฤดูฝน ความชื้นในอากาศลดลง ทำให้ฝุ่นละอองที่เกิดจากปัจจัยต่าง ๆ ทั้งการเผาไหม้เชื้อเพลิง การเผาไหม้ทางการเกษตร กระบวนการอุตสาหกรรม ฯลฯ กลับมาเพิ่มปริมาณสูงขึ้นอีกครั้ง โดยเฉพาะฝุ่นละอองอนุภาคขนาดเล็ก PM 2.5 ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพค่อนข้างมากครับ ผลกระทบต่อสุขภาพจาก PM 2.5 อย่างที่เราอยู่แล้วว่า ผลกระทบระยะสั้นที่เกิดจากการได้รับฝุ่นละอองอนุภาคเล็ก PM 2.5 อาจทำให้ระคายเคืองต่อผิว ดวงตา คอ จมูก ทางเดินหายใจ รวมทั้งอาจทำให้ผู้มีอาการหอบหืดกำเริบได้ แต่ในระยะยาวนั้น ยังอาจเป็นปัจจัยในการเพิ่มอัตราความเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบบทางเดินหายใจ รวมถึงเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตด้วยมะเร็งได้เช่นกัน PM 2.5 กับมะเร็งที่ปอด ผลศึกษาจากวารสารการแพทย์ Oncology Letter – PMC5920433 ซึ่งเผยแพร่ในหอสมุดแพทย์แห่งชาติสหรัฐอเมริกา ระบุว่า ฝุ่นละอองอนุภาคเล็ก PM2.5 อาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในระดับยีน ตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงโมเลกุลขนาดเล็กที่กำหนดการแสดงออกของยีนต่าง ๆ ในร่างกาย (microRNA dysregulation) และมีผลต่อกระบวนการกลายพันธุ์หรือแบ่งตัวผิดปกติภายในเซลล์ […]
เรามีภูมิคุ้มกันดีแค่ไหน เช็คได้!
หากเช็คแล้วภูมิคุ้มกันต่ำ ควรทำอย่างไร ร่างกายของคนเรานั้น มีระบบภูมิคุ้มกันที่ดูแลและป้องกันร่างกายไม่ให้เกิดการติดเชื้อ โดยมีเม็ดเลือดขาวที่ไหลเวียนอยู่ในกระแสเลือดและตามอวัยวะต่างๆ คอยช่วยคุ้มกันดูแล แต่ถ้าหากภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือลดลง จะส่งผลให้เชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆ อาทิ ไวรัส แบคทีเรีย อาจเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายขึ้น จึงเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ซึ่งส่งผลให้เกิดการเจ็บป่วยตามมาครับ ซึ่งเราสามารถรู้ระดับภูมิคุ้มกันโรคได้จากการตรวจเชิงการแพทย์ครับ โดยการตรวจนั้นจะแบ่งเป็น 3 อย่าง นั่นคือ 1. การตรวจการทำงานของเม็ดเลือดขาวแบบละเอียด เป็นการวิเคราะห์การทำงานของเม็ดเลือดขาว ซึ่งก็คือระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายแบบละเอียด เพื่อนำมาใช้วางแผนในการเสริมภูมิต้านทานเพื่อป้องกันโรค 2. การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด เพื่อหาความผิดปกติของส่วนประกอบของเลือด ได้แก่ เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือด และประเมินความเข้มข้นของเลือด ซึ่งอาจบอกถึงภาวะที่เกี่ยวกับภูมิคุ้มกันของร่างกาย 3. การตรวจวัดระดับวิตามินดี เพราะวิตามินดีช่วยในการเสริมสร้างการพัฒนาเซลล์ ความแข็งแกร่ง และการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน นอกจากนี้ ยังช่วยต่อสู้กับการติดเชื้อทุกชนิดรวมถึงโรคหวัดและไข้หวัดใหญ่ ซึ่งการตรวจภูมิคุ้มกันต้านเชื้อโรคนั้น จะทำการตรวจที่โรงพยาบาลครับ แต่ในช่วงที่มีโรคระบาดเช่นนี้ โรงพยาบาลหลายๆ แห่งก็มีบริการรับตรวจที่บ้าน และโทรกลับไปแจ้งผลตรวจสำหรับคนที่ไม่สะดวกเดินทางมาโรงพยาบาลในช่วงนี้เช่นกัน ข้อปฏิบัติหากตรวจแล้ว ‘ภูมิคุ้มกันต่ำ’ ควรทำอย่างไร การดูแลตัวเองให้มีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง มีด้วยกันหลายวิธีครับ 1. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ […]