เสริมภูมิคุ้มกัน ป้องกันเชื้อ COVID-19 ในผู้สูงอายุ

ภูมิคุ้มกัน

ดูแลผู้สูงอายุอย่างไร ในยุค COVID-19 ระบาด

เนื่องจากขณะนี้มีการระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 มีแนวโน้มจะกระจายไปทั่วประเทศ ซึ่งเชื้อดังกล่าวติดต่อได้ทางละอองฝอยของสารคัดหลั่ง เช่น น้ำมูก น้ำลาย ละอองจากการไอจามหรือการพูดคุยใกล้ชิด และการสัมผัสสารคัดหลั่งที่อยู่ตามสิ่งของต่างๆ แล้วไปโดนเยื่อบุต่างๆ เช่น ตา จมูก ปาก ประกอบกับการแพร่เชื้อสามารถติดต่อจากผู้ที่ติดเชื้อที่ยังไม่แสดงอาการได้ 

โดยหากมีการติดเชื้อในผู้ที่ร่างกายไม่แข็งแรงรวมถึง ’ผู้สูงอายุ’ จะมีโอกาสเสียชีวิตมากกว่าคนทั่วไป เนื่องด้วยสภาพร่างกายที่ไม่แข็งแรง ภูมิคุ้มกันลดลงตามวัย โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคปอดเรื้อรัง โรคไตเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง เป็นต้น

ดังนั้น เราจึงควรป้องกันเชื้อ COVID-19 ไม่ให้แพร่สู่ผู้สูงอายุได้ด้วยวิธีการดังนี้

•        ผู้ที่เสี่ยงติดเชื้อ เช่น มีประวัติสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยันว่าติดเชื้อ COVID-19 หรือ ผู้เดินทางจากแหล่งที่มีการติดเชื้อในชุมชนในวงกว้าง ทุกรายต้องแยกตัวออกจากผู้อื่น และไม่เข้าไปใกล้ชิดหรือสัมผัสผู้สูงอายุอย่างเด็ดขาด โดยให้สังเกตอาการอย่างน้อย 14 วัน

•        ห้ามไม่ให้ผู้ที่มีไข้ตัวร้อน หรือมีอาการผิดปกติทางระบบทางเดินหายใจอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก หายใจเร็ว หายใจเหนื่อย หายใจล้าบาก เข้าเยี่ยมผู้สูงอายุโดยเด็ดขาด

•        งดและลดการมาเยี่ยมจากคนนอกบ้านให้น้อยที่สุด โดยแนะนำให้ใช้การเยี่ยมทางโทรศัพท์ หรือ สื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ แทน

•        ในขณะเข้าเยี่ยมผู้สูงอายุ ใส่หน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าทุกครั้ง ลดการเข้าใกล้หรือสัมผัสกับผู้สูงอายุลงเหลือเท่าที่จำเป็น โดยรักษาระยะห่างอย่างน้อย 2 เมตร

•         ระหว่างมีการระบาดทั้งผู้ดูแลหลักและผู้สูงอายุควรเก็บตัวอยู่แต่ในบ้านให้มากที่สุด

•        ผู้สูงอายุหรือผู้ดูแลเมื่อกลับถึงบ้าน ควรอาบน้ำสระผม ทำความสะอาดร่างกายและของใช้ที่ติดตัวกลับมาจากนอกบ้าน เปลี่ยนเสื้อผ้าใหม่ทันที ก่อนไปสัมผัสใกล้ชิดกับผู้สูงอายุคนอื่นๆ

•        หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารร่วมกัน แต่หากมีการมาร่วมรับประทานอาหารด้วยกัน ควรแยกรับประทานของตนเองไม่รับประทานอาหารร่วมสำรับ หรือใช้ภาชนะเดียวกัน หรือใช้ช้อนกลางร่วมกัน

•        ผู้สูงอายุควรแยกห้องพักและของใช้ส่วนตัว หากแยกห้องไม่ได้ ควรแยกบริเวณที่นอนให้ห่างจากคนอื่นมากที่สุด ที่พักอาศัยและห้องพักควรเปิดหน้าต่างให้อากาศถ่ายเท ไม่ควรนอนร่วมกันในห้องปิดที่ใช้เครื่องปรับอากาศ

วิธีสังเกตเมื่อผู้สูงอายุมีอาการติดเชื้อ

กรณีที่ผู้สูงอายุมีการติดเชื้อเกิดขึ้น อาการอาจไม่ชัดเจนและไม่ตรงไปตรงมา เช่น อาจไม่มีไข้ หรืออาจมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ซึม  ความสามารถในการช่วยเหลือตัวเองลดลงอย่างรวดเร็ว หากมีอาการเหล่านี้ควรรีบปรึกษาแพทย์ เพราะมีความเสี่ยงสูงที่อาการจะรุนแรงมากกว่าในวัยอื่นๆ 

ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ผู้สูงอายุเป็นประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่จะต้องได้รับการดูแล

เป็นพิเศษ เนื่องจากผู้สูงอายุมีภูมิคุ้มกันลดลงตามวัย และส่วนใหญ่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน

โรคความดันโลหิตสูง โรคปอด โรคมะเร็ง ทำให้มีความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อโควิด-19 ได้ง่ายและอาจมีอาการ

รุนแรงของโรคมากกว่าช่วงวัยอื่นๆ การรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอจึงเป็นสิ่งสำคัญครับ 

การกินอาหารในสัดส่วนที่เหมาะสมเพียงพอ กินผักและผลไม้เป็นประจำ ออกกำลังกาย และพักผ่อนให้เพียงพอ 7-9 ชั่วโมง รวมถึงทานอาหารเสริมประเภทเบต้ากลูแคนก็จะช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้ร่างกายแข็งแรงต้านทานโรคได้

แน่นอนว่าเมื่ออายุมากขึ้น ระบบต่าง ๆ ในร่างกายก็เริ่มหมดสภาพลง เบต้ากลูแคนจะช่วยเสริมและปรับระดับภูมิต้านทานให้กับคนแก่ที่มีระบบภูมิต้านทานเสื่อมถอย ซึ่งเบต้ากลูแคนจะมีผลทำให้ร่างกายเกิดปฏิกิริยาป้องกันการติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการเจ็บป่วยต่างๆ นั่นเองครับ

Leave a comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

TOP