หากพูดถึงโรคหลอดเลือดสมองหลายคนอาจจะรู้สึกไกลตัว แต่ถ้าที่บ้านใครมีผู้สูงอายุอยากให้ศึกษาโรคนี้ไว้ครับ เพราะผู้ที่อายุ 65 ปีขึ้นไปมีความเสี่ยงที่จะป่วยโรคนี้มากขึ้น และความน่ากังวลคือไม่ค่อยมีสัญญาณเตือนหรืออาการที่บ่งบอกแน่ชัดจนสามารถสังเกตได้ รู้จักโรคสมองตีบ-ตันให้มากขึ้น โรคสมองตีบ-ตัน หรือ ที่หลายคนรู้จักในอีกชื่อคือ Ischemic Stroke เป็นภาวะสมองขาดออกซิเจนและเลือด เกิดจากผนังหลอดเลือดหนาจากการที่ไขมันไปสะสมตามผนังหลอดเลือด ทำให้เลือดไหลเวียนได้ไม่ดีเท่าที่ควร ซึ่งหากผนังหลอดเลือดหนาขึ้นก็จะทำให้เลือดไม่สามารถไปหล่อเลี้ยงสมองได้ เกิดความเสียหายต่อระบบต่าง ๆ ของร่างกาย ผู้ป่วยอาจจะไม่สามารถควบคุมร่างกายได้ ซึ่งในบางรายอาจจะทำให้กลายเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือมีความผิดปกติ ไม่ว่าจะชาครึ่งซีก ตามองไม่เห็น แต่ถ้าผู้ป่วยได้รับการรักษาและวินิจฉัยทันท่วงทีก็อาจจะลดความเสียหายดังกล่าวได้ สถิติที่น่าเป็นกังวลของโรคสมองตีบ-ตัน ปัจจุบันประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ในอนาคตอาจจะมีผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงเป็นโรคสมองตีบ-ตันมากขึ้น โดยพบกว่า 1 ใน 4 ของประชาชนที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้ ซึ่งคาดการณ์ว่าผู้สูงอายุที่ต้องอยู่อย่างโดดเดี่ยวมีโอกาสที่จะเป็นอัมพฤษ์หรืออัมพาตจากการที่ไปโรงพยาบาลไม่ทันมีจำนวนมากขึ้นด้วย นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลให้เกิดโรคนี้กับผู้คนในสังคมมากขึ้นคือพฤติกรรมการบริโภคอาหาร สภาวะความเครียด และการละเลยการดูแลสุขภาพ สาเหตุของการเกิดหลอดเลือดสมองตีบ-ตัน – ไขมันสะสมตามผนังหลอดเลือดจำนวนมาก ทำให้หลอดเลือดแคบ ขาดความยืดหยุ่น เลือดไม่สามารถไหลเวียนไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ได้ – เกิดลิ่มเลือดขนาดเล็กลอยไปเกาะตามผนังหัวใจและลิ้นหัวใจ ลอยไปตามกระแสเลือดจนไปอุดตันที่สมอง – […]
ชวนดูสารอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดและความดัน
ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดและความดันโลหิตสูง นอกจากจะต้องรับประทานยาตามแพทย์สั่ง รวมถึงไปพบแพทย์เพื่อติดตามอาการแล้ว การดูแลเรื่องอาหารถือเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะทั้ง 2 โรคนี้ ปัจจัยในการเกิดที่สำคัญคือการเลือกรับประทานอาหารเป็นสำคัญ ชวนดูว่ามีสารอาหารอะไรบ้างที่เหมาะกับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดและความดันบ้าง อาหารที่มีโพแทสเซียมสูง มีงานวิจัยจำนวนมากระบุว่าผู้ที่ร่างกายได้รับโพแทสเซียมจากอาหารในปริมาณที่สูง พบว่ามีค่าเฉลี่ยของความดันโลหิตและอัตราการเกิดโรคความดันโลหิตสูง ต่ำกว่ากลุ่มคนที่ได้รับโพแทสเซียมจากอาหารในปริมาณที่น้อย และยังพบว่าการได้รับโพแทสเซียมอย่างเพียงพอ มีส่วนช่วยลดความเสี่ยงของหัวใจและหลอดเลือด รวมไปถึงลดความดันสูงได้ด้วย โดยอาหารที่มีโพแทสเซียมสูง เช่น แครอท มะเขือเทศ ถั่ว ทุเรียน กล้วย ลำไย ผลไม้แห้งต่าง ๆ เช่น ลูกเกด ลูกพรุน คะน้า หัวปลี ผักชี มันฝรั่ง นมและผลิตภัณฑ์จากนม อาหารที่มีแมกนีเซียมสูง เป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย โดยพบแมกนีเซียมในเซลล์ของร่างกายมากเป็นอันดับสอง ซึ่งเป็นสารที่ช่วยควบคุมการทำงานของกระบวนการต่าง ๆ ในเซลล์ สร้างพลังงาน มีส่วนช่วยในกระบวนการของกล้ามเนื้อและระบบประสาท เสริมความแข็งแรงให้กระดูก ช่วยรักษาสมดุลของการเต้นของหัวใจ มีบทบาทสำคัญในการควบคุมความดันโลหิตและหลอดเลือด อาหารที่มีแมกนีเซียมสูง เช่น ดาร์กช็อกโกแลต ปลาทูน่า ข้าวไม่ขัดสี ถั่วเปลือกแข็ง ธัญพืชประเภทต่าง ๆ เช่น เม็ดเจีย […]
ชวนดูวิธีเช็กว่า “ไขมัน” ในร่างกายของเราสมดุลหรือไม่?
เชื่อว่าหลายคนคงไม่อยากมีไขมันในร่างกายเยอะ ๆ เพราะไขมันเป็นตัวแปรสำคัญที่จะบอกว่าเราอ้วนหรือไม่อ้วนใช่ไหมครับ? แต่จริง ๆ แล้วเรามีวิธีตรวจสอบเบื้องต้นได้ว่า เรามีไขมันในร่างกายสมดุลหรือไม่ ด้วยการตรวจสอบค่า BMI ซึ่งค่านี้สามารถบอกเราได้คร่าว ๆ ด้วยว่าเราจะมีความเสี่ยงเป็นโรคอ้วน โรคเบาหวาน หรือความดันสูงหรือเปล่า มาดูวิธีการกันครับว่าเช็กอย่างไร BMI (Body Mass Index) หรือ ดัชนีมวลกาย เป็นค่าสากลที่ใช้เพื่อคำนวณเพื่อหาน้ำหนักตัวที่ควรจะเป็น และประมาณระดับไขมันในร่างกายโดยใช้น้ำหนักตัว และส่วนสูง อาจจะไม่ใช่ตัวชี้วัดไขมันในร่างกายได้โดยตรง แต่สามารถใช้เทียบเคียงเพื่อตรวจสอบตัวเองได้ โดยมีสูตรคำนวณง่าย ๆ ค่า BMI = น้ำหนักตัว[Kg] หารด้วย (ส่วนสูง[m] ยกกำลังสอง) จะได้เป็นตัวเลขออกมา ซึ่งตัวเลขที่ออกมาสามารถบอกเราได้ว่าไขมันในร่างกายของเราสมดุลหรือไม่ เช่น 30.0 ขึ้นไป = อ้วนมาก เป็นค่าที่ค่อนข้างน่ากังวล อาจจะต้องปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร เพราะเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวาน หรือไขมันในเลือดสูงได้ และต้องออกกำลังกายควบคุมไปกับการควบคุมโภชนาการ ซึ่งหากค่าสูงเกินกว่านี้ควรไปปรึกษาแพทย์ 18.6 – 24 = น้ำหนักปกติ ซึ่งเป็นค่าที่เหมาะกับสัดส่วนของคนไทย มีมวลกล้ามเนื้อและไขมันในระดับที่ค่อนข้างดี […]