ลดเสี่ยง long-covid ฟื้นฟูร่างกายหลังอาการป่วย

long-covid

หลาย ๆ คนที่กำลังอ่านบทความนี้อยู่อาจจะเคยติดเชื้อโควิด-19 มาแล้วจากการระบาดในระลอกใดระลอกหนึ่ง หรือหลายคนก็ยังไม่เคยป่วยเป็นโควิด-19 เลยสักครั้ง เรียกได้ว่าโชคดีและมีภูมิคุ้มกันร่างกายที่แข็งแรงมากเลยครับ แต่สำหรับใครที่เคยป่วยแล้วหลังจากพักฟื้นแล้วหาย อย่าเพิ่งนิ่งนอนใจ เพราะการได้รับเชื้อโคโรนานั้นไม่ใช่แค่ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจของเราเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่ออวัยวะอื่น ๆ ในร่างกายของเราด้วย ต้องฟังทางนี้หากไม่อยากเสี่ยง long-covid ครับ

ทำไมภาวะ long-covid ถึงน่าเป็นกังวล

สภาวะนี้เป็นอาการที่สามารถพบได้ในผู้ที่เคยได้รับเชื้อโคโรนาไวรัส ซึ่งถือเป็นอาการที่หลงเหลือหลังได้รับเชื้อ แม้จะได้รับการรักษาหายดีแล้ว แต่ผู้ป่วยจะยังคงรู้สึกไม่แข็งแรงเหมือนมี มีความรู้สึกที่แตกต่างจากก่อนป่วย แม้จะทิ้งช่วงการป่วยนานหลายสัปดาห์ก็ตาม เพราะโคโรนาไม่ได้กระทบต่อระบบทางเดินหายใจเท่านั้น จะยังไปทำลายและทำให้อวัยวะต่าง ๆ เช่น ระบบประสาท สมอง หัวใจ และระบบไหลเวียนเลือด ทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพเท่าที่ควร

สังเกตอย่างไรว่าตัวเองมีภาวะลองโควิด

อาการนี้สามารถสังเกตได้จาก ร่างกายอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ปวดตามกล้ามเนื้อ ตามข้อ มีอาการไอแห้งเรื้อรัง นอนหลับยากขึ้น ผมร่วง ท้องเสีย หรือการรับรู้รสหรือกลิ่นไม่เหมือนเดิม หรือกระทั่งมีอาการทางจิตร่วมด้วย เช่น เป็นกังวลมากกว่าปกติ รู้สึกซึมเศร้า ไม่อยากพบเจอผู้คน เครียด ซึ่งหากมีอาการเหล่านี้สามารถเข้าพบแพทย์ได้เลย เพื่อลดผลกระทบในระยะยาว

ฟื้นฟูร่างกายให้ดี ลดเสี่ยงได้

1. พักผ่อนร่างกายให้เพียงพอ เพื่อให้แน่ใจว่าหากกลับไปทำงานจะไม่กระทบต่อสุขภาพโดยรวม หลายคนต้องหยุดงานรักษาตัวเอง ทำให้ขาดรายได้ จึงรีบกลับไปทำงานทั้งที่ร่างกายยังไม่พร้อมเต็มที่ อาจจะเสี่ยงกับภาวะนี้ได้มากขึ้น

2. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และช่วยฟื้นบำรุงร่างกาย โดยเฉพาะโปรตีนไขมันน้อยที่จะเข้าไปซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกายขณะที่เรารักษาตัว เพิ่มการทานอาหารจำพวกผักและผลไม้ เพิ่มวิตามินจำเป็นให้กับร่างกาย และเลือกอาหารไขมันดีเพื่อช่วยคืนความสมดุลของร่างกาย

3. เลือกทานสารสกัดจาก “เบต้ากลูแคน” จะช่วยกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้สามารถกลับมาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ฟื้นฟูการทำงานของเม็ดเลือดขาวพร้อมบำรุงให้เม็ดเลือดขาวแข็งแรง พร้อมที่จะรับมือกับสิ่งแปลกปลอมที่จะเข้ามาสู่ร่างกาย ทั้งยังมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยลดการอักเสบของเนื้อเยื่อได้อีกด้วย ลดความเสี่ยงและป้องกันได้อีกทางหนึ่ง

4. ฉีดวัคซีนตามกำหนด หากรักษาตัวหายแล้ว ควรเข้ารับการฉีดวัคซีนเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันอีกครั้งตามกำหนด เพื่อป้องกันการติดเชื้อและลดความเสี่ยงการป่วยหนักรุนแรง

5. ออกกำลังกายกระตุ้นให้กล้ามเนื้อแข็งแรง สามารถออกกำลังกายเบา ๆ ได้ เช่น เดิน ปั่นจักรยาน เต้นแอโรบิค เป็นการกระตุ้นให้กล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ของร่างกายกลับมาทำงานได้ปกติ ไม่ว่าจะเป็นกล้ามเนื้อมัดใหญ่ หรือกล้ามเนื้อมัดเล็ก ๆ รวมไปถึงกล้ามเนื้อหัวใจและหลอดเลือดด้วย

Leave a comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

TOP