เฝ้าระวังโรคที่มากับน้ำ และวิธีการดูแลตัวเองไม่ให้ภูมิตกในช่วงมรสุม

โรคที่มากับน้ำ

ประเทศไทยนอกจากจะมีฤดูร้อนตลอดทั้งปีแล้ว อีกฤดูที่เราต้องเตรียมรับมือคือฤดูฝน ที่กินเกือบครึ่งปีของฤดูกาลในประเทศไทยไปแล้ว ส่งผลให้เกิดอุทกภัยในหลายพื้นที่ รวมไปถึงฝนตกหนักจนน้ำขังตามจุดต่าง ๆ ด้วย สิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยากคือเชื้อโรคที่มาพร้อมกับน้ำ รวมไปถึงสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว อาจจะส่งผลให้บางคนป่วยกะทันหัน มาเฝ้าระวังโรคที่มากับน้ำ รวมไปถึงการดูแลตัวเองช่วงมรสุมกันดีกว่าครับ

โรคที่มากับน้ำส่วนใหญ่มักจะติดเชื้อโดยเชื้อไวรัสและแบคทีเรียที่มากับน้ำสกปรก ในช่วงแรกที่น้ำท่วมอาจจะยังไม่เจอเชื้อโรคเหล่านี้ แต่หากน้ำขังนาน ๆ ก็จะเกิดความสกปรกและส่งผลต่อผู้คนที่ต้องอาศัยอยู่ในสถานที่น้ำขังได้ เช่น

1. โรคติดต่อทางผิวหนัง

ไม่ว่าจะเป็นโรคน้ำหัดเท้า โรคติดเชื้อจากเชื้อรา แผลพุพอง ที่เกิดจากการแช่น้ำที่เต็มไปด้วยเชื้อโรคเป็นเวลานาน หรือการใส่เสื้อผ้าเปียกชื้นก็อาจจะเป็นสาเหตุให้ติดเชื้อได้เช่นกัน ซึ่งจะรู้สึกคันตามซอกผิวที่อับชื้น เช่น ระหว่างนิ้ว ข้อพับ ผิวหนังลอกออกเป็นขุย และลุกลามไปยังเนื้อผิวข้างเคียงได้ การดูแลตัวเองเบื้องต้นคือการทำความสะอาดผิวที่ติดเชื้อด้วยน้ำสะอาด ฟอกสบู่ เช็ดให้แห้ง และใช้ครีมที่รักษาเชื้อราทา หากอาการหนักขึ้นและลุกลาม ควรพบแพทย์ทันที

2. โรคตาแดง

เป็นโรคที่ไม่รุนแรง มักพบในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่มากับน้ำ และการสัมผัสบริเวณดวงตา แม้อาการของโรคจะไม่รุนแรง แต่ก็สามารถติดเชื้อและเกิดโรคแทรกซ้อนได้  หากได้รับเชื้อต้องไม่สัมผัสหรือใกล้ชิดผู้ป่วย เพราะเป็นโรคติดต่อที่สามารถติดกันได้ง่าย ในช่วง 1-2 วันแรก จะเริ่มระคายเคืองตา ปวดตา น้ำตาไหลบ่อย มีขี้ตามาก และมักจะหายได้เองภายใน 1-2 อาทิตย์ แต่หากไม่หายต้องพบแพทย์และใช้ยาในการรักษา

3. โรคระบบทางเดินหายใจ

ไข้หวัด เป็นโรคติดต่อที่ไม่ได้อันตราย สามารถติดได้ทุกเพศทุกวัย ซึ่งอาจจะเกิดจากอากาศเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และติดต่อได้จากการกระจายมาจากน้ำมูก น้ำลาย เสมหะ มีอาการปวดหัว ครั่นเนื้อครั่นตัว ปวดเมื่อยตามร่างกาย หายได้ประมาณ 1-2 สัปดาห์

ไข้หวัดใหญ่ อาการจะคล้าย ๆ ไข้หวัด แต่มีไข้สูง มีน้ำมูก มีเสมหะ ปวดตามเนื้อตัว อ่อนเพลียมาก หากทานยา 2-3 วันแล้วไข้ยังคงสูงและอาการไม่ดีขึ้น ต้องพบแพทย์เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นไข้หวัดใหญ่และรักษาอย่างใกล้ชิดมากขึ้น

นอกจากนี้ยังต้องระวังโรคโควิด-19 ด้วย เพราะยังคงเป็นโรคที่ต้องเฝ้าระวังในการติดเชื้อ และสามารถติดต่อได้จากสารคัดคลั่ง ยิ่งช่วงน้ำท่วม การแพร่ระบาดอาจจะง่ายขึ้น

4. โรคท้องร่วง

เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่มากับน้ำปนเปื้อนอาหาร ทำให้เกิดท้องเสียหรือท้องร่วงได้ ซึ่งหากใครที่ถ่ายหนักจนเหนื่อยล้า หน้าซีด ร่างกายอาจจะอยู่ในสภาวะขาดน้ำอย่างรุนแรง ต้องไปพบแพทย์เพราะอาจจะช็อกได้

ดูแลตัวเองไม่ให้ป่วยช่วงมรสุม

– รับประทานสารสกัดจากเบต้ากลูแคน ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ร่างกายสามารถรับความเปลี่ยนแปลงได้เสมอ ไม่ว่าจะสภาพอากาศเปลี่ยน หรือต้องอยู่ในภาวะประสบอุทกภัย ด้วยการกระตุ้นเม็ดเลือดขาวให้ทำงานได้อย่างเต็มที่ ป้องกันสิ่งแปลกปลอมเข้าร่างกายและทำลายหากมีสิ่งแปลกปลอมหลุดรอดเข้ามา ก่อนที่ร่างกายจะป่วยได้ ทั้งยังมีช่วยลดการอักเสบของเนื้อเยื่อ ให้ร่างกายแข็งแรงอยู่เสมอ แนะนำทานตอนเนิ่น ๆ ไม่ต้องรออากาศเปลี่ยน จะช่วยลดความเสี่ยงและป้องกันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

– รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ ลดความเสี่ยงที่จะติดเชื้อแบคทีเรีย ที่แพร่กระจายได้ดีในช่วงหน้าฝน

– พักผ่อนให้เพียงพอ เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่หลายคนป่วยบ่อยในช่วงนี้ เพราะภูมิคุ้มกันในร่างกายตก และต้องเผชิญกับสภาพอากาศที่ย่ำแย่ หลายคนที่เป็นภูมิแพ้อาการกำเริบจากสิ่งเร้าได้ง่ายขึ้นอีกด้วย หากพักผ่อนให้เพียงพอจะลดความเสี่ยงจากภูมิคุ้มกันตกได้ครับ

Leave a comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

TOP