มะเร็งกล้ามเนื้อหัวใจ (Cardiac Tumor) เป็นโรคที่พบได้ยากมากในกลุ่มของโรคมะเร็ง โดยทั่วไปแล้วกล้ามเนื้อหัวใจมักไม่ใช่บริเวณที่เซลล์มะเร็งจะเจริญเติบโต เนื่องจากกล้ามเนื้อหัวใจเป็นกล้ามเนื้อเฉพาะที่มีการเจริญเติบโตและซ่อมแซมตัวเองได้น้อย ดังนั้นมะเร็งกล้ามเนื้อหัวใจจึงพบได้น้อยกว่ามะเร็งที่เกิดกับอวัยวะอื่น ๆ แต่ก็มีเคสผู้ป่วยให้เห็นในยุคหลัง ๆ ด้วยการกลายพันธุ์ของมะเร็งและความเสี่ยงในการใช้ชีวิตของผู้คนมีมากขึ้น มารู้จักมะเร็งชนิดนี้และวิธีป้องกันให้มากขึ้นกันครับ มะเร็งกล้ามเนื้อหัวใจคืออะไร? การที่เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจกลายเป็นมะเร็งได้นั้น ส่วนใหญ่จะเกิดจากเซลล์ที่มาจากอวัยวะอื่นและลุกลามเข้ามาสู่หัวใจ แทนที่จะเป็นมะเร็งที่เกิดขึ้นโดยตรงที่หัวใจ เช่น มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม และมะเร็งเม็ดเลือดขาว ซึ่งเซลล์มะเร็งจะเดินทางผ่านทางกระแสเลือดหรือระบบน้ำเหลืองไปสู่หัวใจได้ ซึ่งแม้จะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ยาก แต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้ อาการของมะเร็งกล้ามเนื้อหัวใจ มะเร็งกล้ามเนื้อหัวใจมักไม่แสดงอาการในระยะแรก ๆ หรือมีอาการคล้ายกับโรคหัวใจอื่น ๆ จึงทำให้ยากต่อการวินิจฉัยเบื้องต้น แต่อาการที่พบบ่อยในผู้ป่วยมะเร็งกล้ามเนื้อหัวใจ เช่น – หายใจลำบาก โดยเฉพาะในขณะออกกำลังกายหรือเมื่อนอนราบ – เจ็บหน้าอก คล้ายกับอาการของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ – ใจสั่นหรือหัวใจเต้นผิดจังหวะ เพราะเซลล์มะเร็งไปรบกวนการทำงานของระบบไฟฟ้าหัวใจ – บวมตามร่างกาย เช่น ที่ขา เท้า หรือท้อง ซึ่งอาจเกิดจากการที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งกล้ามเนื้อหัวใจ 1. อายุที่มากขึ้น ความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งกล้ามเนื้อหัวใจมักเพิ่มขึ้นเมื่ออายุสูงขึ้น เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเริ่มเสื่อมลง […]
“หาวบ่อย” ไม่ใช่แค่อ่อนเพลีย แต่อาจจะกำลังสูญเสียระบบภูมิคุ้มกัน
การหาวบ่อย ๆ มักถูกมองว่าเป็นเรื่องของความอ่อนเพลียหรือการง่วงนอนอย่างเดียว แต่จริง ๆ แล้วหากมองลงไปลึกกว่านั้น “การหาว” อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพบางอย่าง โดยเฉพาะเมื่อมันเกิดขึ้นบ่อยครั้งหรือไม่สอดคล้องกับการนอนหลับที่ไม่เพียงพอ ร่างกายทำงานหนัก ทั้งการทำงาน การออกกำลังกาย หรือในบางกรณีการหาวบ่อยอาจกำลังบอกถึงการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันที่ลดลง และสัญญาณเตือนว่าร่างกายของเราอาจกำลังเผชิญกับปัญหาด้านสุขภาพที่ต้องใส่ใจกว่าเดิน มาสำรวจกันครับว่าเราอีกอาการแบบนี้และต้องแก้ไขอย่างไร การหาวเกิดขึ้นได้อย่างไร? การหาวเป็นกลไกตามธรรมชาติของร่างกายในการนำออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายมากขึ้นและช่วยควบคุมอุณหภูมิของสมอง ในขณะที่เราเหนื่อยหรือรู้สึกง่วงร่างกายจะหาวเพื่อเพิ่มปริมาณออกซิเจนในเลือดและกระตุ้นการทำงานของสมอง อย่างไรก็ตามหากพบว่าตัวเองหาวบ่อยโดยไม่มีสาเหตุที่ชัดเจน เช่น หาวระหว่างวันบ่อย ๆ แม้จะนอนหลับอย่างเพียงพอ นั่นอาจเป็นสัญญาณที่ร่างกายกำลังส่งบอกว่า ระบบภูมิคุ้มกันของคุณอาจจะมีปัญหาจากหลายปัจจัย เช่น การใช้ร่างกายหนัก ไม่ว่าจะเป็นการทำงานหรือกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน, ร่างกายกำลังเผชิญกับการต่อต้านสิ่งแปลกปลอมบางอย่าง, กำลังป่วยเป็นโรคใดโรคหนึ่ง การหาวบ่อยเกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันในเรื่องใดบ้าง? 1. ความเครียดและระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอลง ความเครียดเป็นปัจจัยหนึ่งที่สามารถส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน เมื่อเราตกอยู่ในสภาวะเครียด ร่างกายจะปล่อยฮอร์โมนคอร์ติซอล ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยให้ร่างกายรับมือกับความเครียด แต่การมีระดับคอร์ติซอลสูงเป็นเวลานาน ๆ สามารถทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลงได้ ความเครียดเรื้อรังอาจทำให้เรารู้สึกเหนื่อยและหาวบ่อย รวมถึงทำให้เราเสี่ยงต่อการติดเชื้อมากขึ้น 2. การอักเสบเรื้อรังและภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ การหาวบ่อย ๆ อาจเกิดขึ้นจากการที่ร่างกายต้องรับมือกับการอักเสบหรือภาวะภูมิคุ้มกันที่ลดลง ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแออาจมีการอักเสบเรื้อรังในร่างกาย ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ร่างกายต้องทำงานหนักเพื่อกำจัดเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอม การที่ร่างกายอยู่ในสภาวะที่ต้องต่อสู้กับการอักเสบตลอดเวลา อาจทำให้รู้สึกเหนื่อยง่ายและต้องการออกซิเจนมากขึ้นซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้หาวบ่อยขึ้นนั่นเอง […]
อากาศเย็นลงส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน ดูแลสุขภาพอย่างไรไม่ให้ป่วย?
เมื่ออากาศเย็นลงสังเกตได้ว่าเรามีแนวโน้มที่จะป่วยง่ายขึ้น เช่น เป็นหวัด เจ็บคอ หรือมีอาการไอ น้ำมูกไหล ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิอาจส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย แม้ว่าอากาศเย็นเองจะไม่ทำให้เราป่วยโดยตรง แต่การเปลี่ยนแปลงนี้สามารถกระตุ้นให้ร่างกายมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อมากขึ้นได้ในหลาย ๆ ทาง ฉะนั้นมีวิธีป้องกันและดูแลสุขภาพช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อยอย่างไร มาดูกันครับ 1. การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันลดลง เมื่ออุณหภูมิอากาศลดลงส่งผลต่ออุณหภูมิของร่างกายอาจจะลดลงตามไปด้วย ซึ่งส่งผลต่อประสิทธิภาพของระบบภูมิคุ้มกัน การทำงานของเม็ดเลือดขาว ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกันที่ช่วยต่อสู้กับเชื้อโรคลดลง อาจจะทำให้ร่างกายไม่สามารถกำจัดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียที่เข้าสู่ร่างกายได้เร็วเท่าที่ควร จึงเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อได้ง่ายขึ้นด้วย 2. การไหลเวียนโลหิตที่ช้าลง อากาศเย็นทำให้หลอดเลือดหดตัวและการไหลเวียนของเลือดช้าลง ส่งผลให้เลือดและสารอาหารที่จำเป็นต่อการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันไม่สามารถไปถึงอวัยวะและส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะบริเวณเยื่อเมือกในระบบทางเดินหายใจที่เป็นด่านแรกในการป้องกันเชื้อโรค การไหลเวียนโลหิตที่ช้าลงนี้ทำให้ระบบป้องกันเชื้อโรคทำงานได้ไม่เต็มที่ ทำให้เชื้อไวรัสและแบคทีเรียสามารถเจริญเติบโตได้ง่ายขึ้น 3. การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการแพร่ของเชื้อโรค ในช่วงที่อากาศเย็นลงหลายคนมักใช้เวลาอยู่ในบ้านหรือในที่อโคจรมากขึ้น ซึ่งทำให้มีโอกาสสัมผัสกับเชื้อโรคที่แพร่กระจายผ่านอากาศมากขึ้น นอกจากนี้เชื้อไวรัสบางชนิด เช่น ไวรัสไข้หวัดใหญ่ จะสามารถอยู่รอดและแพร่กระจายได้ดีในสภาพแวดล้อมที่เย็นและแห้ง ทำให้การแพร่ระบาดของโรคทางเดินหายใจในช่วงอากาศเย็นเกิดขึ้นได้ง่ายขึ้นกว่าปกติ 4. การทำงานของเยื่อเมือกลดลง อากาศเย็นและแห้งส่งผลให้เยื่อเมือกในระบบทางเดินหายใจ เช่น จมูกและคอแห้งได้ง่าย เยื่อเมือกที่แห้งนี้ทำให้เชื้อโรคสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายขึ้น เนื่องจากไม่มีความชุ่มชื้นที่ช่วยดักจับและขจัดเชื้อโรค การขาดความชุ่มชื้นในทางเดินหายใจจึงเป็นปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อได้ 5. อารมณ์และระดับความเครียดที่เพิ่มขึ้น อากาศเย็นมักทำให้หลายคนรู้สึกเหงาหรือรู้สึกเศร้ากว่าปกติ เพราะต้องจำกัดตัวเองอยู่ในที่อบอุ่น ซึ่งมีการศึกษาว่าอากาศที่เย็นลงส่งผลต่ออารมณ์และความเครียด ซึ่งความเครียดก็ส่งผลทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ไม่ดีเท่าที่ควร การขาดแสงแดดยังส่งผลให้ระดับวิตามินดีในร่างกายลดลง ซึ่งวิตามินดีมีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน […]