หากคุณรู้สึกเจ็บหน้าอกอย่าละเลย ไม่ว่าจะเจ็บน้อย เจ็บมาก ปวด ชา หรือรู้สึกเจ็บแปลบ เพราะอาการเจ็บหน้าอกมักเป็นสัญญาณเตือนของโรคที่เกี่ยวกับอวัยวะช่วงหน้าอกได้ ไม่ใช่แค่โรคหัวใจ แต่โรคอื่น ๆ เช่น โรคปอด โรคที่เกี่ยวกับหลอดอาหาร หรือโรคที่เกี่ยวกับระบบหายใจ หลายโรคมักแสดงออกด้วยการเจ็บหน้าอกได้เช่นกัน มาดูความแตกต่างของอาการเจ็บหน้าอกในแต่ละแบบแล้วสังเกตอาการตัวเองกันครับ อาการเจ็บหน้าอกแบบไหนที่ไม่ปกติ หากมีอาการที่เกี่ยวกับการเจ็บหน้าอกเหล่านี้ควรไปปรึกษาแพทย์ ไม่ควรทิ้งเวลาให้เกิดนาน – อาการปวดแน่นหน้าอก หรือเมื่อหายใจรู้สึกอึดอัด – รู้สึกเจ็บ เหมือนมีอะไรมากดทับ หรือปวดร้าวไปถึงบริเวณคอ บ่า ไหล่ – จุกเสียดแน่น หรือแสบที่ลิ้นปรี่ – รู้สึกเหนื่อย หอบ หายใจไม่ทัน หายใจไม่อิ่ม – รู้สึกวงเวียน คลื่นไส้ เหงื่อออก – หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น อาการเจ็บหน้าอกแบบนี้อาจจะเป็นโรคร้าย โรคหัวใจ – อาการเจ็บหน้าอกส่วนใหญ่มักเป็นหนึ่งในอาการหลักของโรคหัวใจต่าง ๆ อย่างเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งผู้ป่วยอาจจะรู้สึกปวดอกแบบจุดเค้น อาจกระจายไปสู่การเจ็บแขน ไหล่ กราม หรือหลังได้ เกิดจากการที่เลือดไม่สามารถไปหล่อเลี้ยงหัวใจได้เพียงพอ […]
ลดความดันโลหิตด้วยสารสกัดจากฮอร์ธอร์นและโคคิวเท็น
โรคความดันโลหิตสูงถือเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มีคนเป็นมากที่สุดหนึ่งโรค และนับเป็นภัยเงียบที่น่ากลัวต่ออวัยวะสำคัญอย่างหลอดเลือดและหัวใจ ซึ่งถือเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะหัวใจวาย หัวใจเต้นผิดจังหวะ มีโอกาสเกิดภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ซึ่งความน่ากลัวของโรคนี้คือไม่แสดงอาการ และไม่สามารถวินิจฉัยได้ในครั้งเดียวอีกด้วย โรคความดันโลหิตสูงคือหนึ่งในภัยเงียบที่คนไทยเป็นมากที่สุด การสำรวจสุขภาพประชากรไทยในปี พ.ศ. 2562-2563 พบว่าประชากรอายุ 18 ปีขึ้นไป เป็นโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 13 ล้านคน และในจำนวนนี้มีมากถึง 7 ล้านคน ไม่ทราบว่าตนเองป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงอยู่ ซึ่งองค์การอนามัยโลกได้ออกรายงานว่าโรคความดันโลหิตสูงเป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพของประชากร มีกลุ่มผู้ป่วยอายุ 30-79 ปี ป่วยเป็นโรคนี้กว่า 1.3 พันล้านคนทั่วโลกอีกด้วย นับว่าโรคนี้คนเป็นเยอะแต่หลายคนมักจะละเลย เพราะไม่แสดงอาการ และเมื่อตรวจพบก็รู้สึกว่าอาการไม่หนัก จึงไม่ให้ความสำคัญกับการควบคุมความดันเท่าไหร่นัก ทำไมการควบคุมความดันโลหิตถึงสำคัญกับผู้ป่วยความดันโลหิตสูง เนื่องจากความดันโลหิตสูงทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้น ผนังหัวใจหนาขึ้น ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี อาจจะทำให้ผนังหัวใจยืดออก และไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพเท่าควร อาจจะส่งผลให้หัวใจโต หัวใจวายเฉียบพลันได้ ถ้าหากปล่อยให้ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงต่อเนื่อง อาจจะทำให้ปวดศีรษะรุนแรง หายใจถี่ขึ้น เลือดกำเดาไหล ถึงขั้นเป็นลมหมดสติได้ อาการนี้หากเกิดในผู้ป่วยสูงอายุค่อนข้างอันตราย เพราะอาจจะทำให้ล้มหัวกระแทก หรือบาดเจ็บรุนแรงจากการล้มได้ ไม่เพียงเท่านี้หากไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตได้ก็อาจจะส่งผลให้เกิดโรคเรื้อรังอื่น ๆ ตามมา เช่น โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง […]
อาหารอันตรายต่อหลอดเลือดหัวใจ ทานมากเสี่ยงเป็นโรคที่เกี่ยวกับหัวใจ!
อาหารเป็นปัจจัยสำคัญในการดูแลสุขภาพ หลายคนทราบว่าอาหารบางชนิดส่งผลร้ายที่สามารถเป็นปัจจัยให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้ โดยเฉพาะโรคร้ายอย่างหัวใจ โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน จึงได้ละเลยในการใส่ใจสุขภาพของหลอดเลือดไป เพราะร่างกายของเราเต็มไปด้วยหลอดเลือดขนาดต่าง ๆ ที่หล่อเลี้ยงทุกส่วนและทุกอวัยวะของร่างกายอยู่ โดยเฉพาะหลอดเลือดหัวใจ มาดูอาหารที่ทำลายหลอดเลือดกันครับ จะได้เลี่ยงในการรับประทาน โรคหลอดเลือดในหัวใจนั้นเกิดขึ้นได้จากหลอดเลือดแดงที่เลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจตีบหรือตัน โดยแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ 1. แบบเรื้อรัง เกิดจากไขมันมาเกาะสะสมอยู่ที่ผนังหลอดเลือด ทำให้เยื่อบุในตำแหน่งนั้น ๆ หนาขึ้น ในขณะเดียวกันหลอดเลือดก็แคบและเล็กลงไปด้วย ซึ่งทำให้เลือดนำออกซิเจนไปไหลผ่านได้น้อยลง ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคหลอดเลือดและโรคเกี่ยวกับหัวใจอื่น ๆ ได้ 2. แบบเฉียบพลัน เกิดจากคราบไขมันที่เกาะอยู่ที่ผนังหลอดเลือดชั้นในปริแตก และกลายเป็นลิ่มเลือดไปอุดตันในหลอดเลือดที่จะไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้หัวใจขาดเลือด และเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจฉีกขาด และกล้ามเนื้อหัวใจวายตายเฉียบพลัน อาจจะนำไปสู่ภาวะหัวใจวาย หัวใจล้มเหลว และทำให้เสียชีวิตกะทันหันได้ อาหารที่ส่งผลให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ – อาหารที่มีกรดไขมันอิ่มตัว พบมากในไขมันสัตว์ และไขมันจากพืชบางชนิด เช่น น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว กะทิ นม เนย รวมไปถึงอาหารแปรรูปชนิดต่าง ๆ เช่น […]