ในช่วงที่โรคระบาดหนัก สิ่งที่จะทำให้ปลอดภัยและลดการติดเชื้อได้คือการหมั่นดูแลสุขภาพของตัวเองให้ดีที่สุดครับ เพื่อให้ร่างกายของเราแข็งแรงอย่างสม่ำเสมอ และที่สำคัญก็เพื่อให้ระบบภูมิคุ้มกันของเรายังคงทำงานได้ดี ช่วยปกป้องเราจากเชื้อโรคต่างๆ แต่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าพฤติกรรมบางอย่างก็ควรจะเลี่ยง หากไม่อยากภูมิคุ้มกันตก มาดูกันว่ามีพฤติกรรมอะไรบ้าง? เครียด แม้จะเป็นภาวะที่ห้ามได้ยาก แต่เมื่อรู้ตัวแล้วต้องหาวิธีจัดการความเครียดของตัวเองให้ได้เลยนะครับ เพราะไม่เช่นงั้นจะส่งผลต่อสภาวะของร่างกายโดยรวม ไม่ว่าจะทางร่างกายหรือจิตใจ เพราะความเครียดจะทำให้ฮอร์โมนส์ต่างๆ ทำงานผิดปกติ และส่งผลต่อการทำงานของภูมิคุ้มกันร่างกายในภาพรวมด้วย ฉะนั้นใครที่กำลังเผชิญกับความเครียด คิดมาก หรือกังวล พยายามหากิจกรรมที่ทำแล้วคลายเครียด ผ่อนคลาย และสร้างความสุขให้กับตัวเองให้ได้นะครับ พักผ่อนไม่เพียงพอ ส่วนหนึ่งอาจจะมาจากความเครียดจึงส่งผลให้นอนไม่หลับนะครับ เพราะฮอร์โมนส์ความเครียดหรือ “คอลติซอล” พยายามจะให้เราแก้ปัญหาหรือกำจัดความเครียดไปให้ได้ จึงส่งผลให้เรานอนหลับยากขึ้น ซึ่งการพักผ่อนไม่เพียงพอก็จะทำให้อวัยวะต่างๆ ในร่างกายทำงานได้อย่างไม่ปกติและแน่นอนว่าภูมิคุ้มกันของเราก็จะไม่สามารถทำงานได้เต็มที่เช่นกัน ดังนั้น อาจจะต้องหากิจกรรมที่ทำแล้วหลับง่ายขึ้น เช่น ออกกำลังกาย อ่านหนังสือ หรือดื่มอะไรอุ่นๆ ก่อนนอนจะช่วยได้มากขึ้นครับ ทานอาหารที่มีน้ำตาลสูง การทานอาหารน้ำตาลสูงและมีรสหวานบ่อยๆ นอกจากจะทำให้อ้วนแล้ว ยังทำให้ระบบความสมดุลแร่ธาตุในร่างกายสูญเสียไปด้วยนะครับ เพราะน้ำตาลให้พลังงานสูง หากร่างกายใช้ไม่หมดก็จะถูกสะสมเป็นไขมันไปเกาะตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย โดยจะส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันลดลงด้วย ทำให้ติดเชื้อง่าย เซลล์อักเสบ และเจ็บป่วยได้ง่ายกว่าคนอื่น ในหนึ่งวันร่างกายคนเราไม่ควรได้รับน้ำตาลเกิน 24 กรัม และต้องออกกำลังกายควบคู่ไปด้วยจะดีที่สุด การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์/ สูบบุหรี่ หลายคนทราบอยู่แล้วว่าการดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ไม่ดีต่อร่างกาย […]
รวมโรคที่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย!
หลายคนอาจจะเคยได้ยิน “ภาวะแทรกซ้อน” ทำให้การป่วยเป็นโรคนั้น ๆ มีอาการรุนแรงขึ้น หรือทำให้มีโอกาสที่จะเสียชีวิตเพิ่มมากขึ้น มาทำความรู้จักกับภาวะนี้ และโรคอะไรบ้างที่มีความเสี่ยงให้เกิดภาวะแทรกซ้อนง่าย รวมถึงเราจะดูและตัวเองอย่างไรให้ห่างไกลจากโรคเหล่านั้นได้บ้าง ภาวะแทรกซ้อน หรือ โรคแทรกซ้อน คืออะไร? โรคแทรก (complication) เป็นภาวะแทรกซ้อนขณะได้รับการรักษา หรือโรคอื่นที่ไม่พึ่งประสงค์ที่เกิดขึ้นขณะรักษาโรคหนึ่งอยู่ ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อการวินิจฉัยโรคหรือการรักษาของโรค โดยทั่วไปจะทำให้อาการของโรครุนแรงขึ้น หรือการรักษามีประสิทธิผลแย่ลง ซึ่งอาจแพร่กระจายไปทั่วร่างกายและส่งผลกระทบต่อระบบอวัยวะอื่น ๆ ภาวะแทรกซ้อนอาจนำไปสู่การพัฒนาของโรคใหม่ที่เกิดจากโรคที่มีอยู่ก่อนหน้านี้ได้ด้วย โรคที่สามารถเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย 1. โรคเบาหวาน ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมน้ำตาลได้ไม่ดี อาจจะทำให้เกิดภาวะเส้นเลือดตีบแข็งเร็วขึ้น เกิดปัญหาเกี่ยวกับอวัยวะที่เส้นเลือดต้องไปหล่อเลี้ยง สามารถเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ดังนี้ – ภาวะแทรกซ้อนทางตาอาจจะทำให้จอประสาทตาเสื่อม ซึ่งจะค่อย ๆ แสดงอาการ และถ้าละเลยอาจทำให้มีอาการตาพร่ามัว หลอดเลือดฉีกขาดง่าย และอาจจะร้ายแรงถึงทำให้ตาบอดสนิทได้ – ภาวะแทรกซ้อนทางไต เป็นสาเหตุของโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย – ภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาท โดยปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากๆ เป็นเวลานาน จะส่งผลโดยตรงต่อหลอดเลือด เกิดภาวะอักเสบและอุดตันได้ง่ายกว่าคนปกติ 2. โรคความดันโลหิต ภาวะที่แรงดันของเลือดที่มีต่อผนังเลือดสูงพอที่อาจจะทำให้เกิดโรคหัวใจต่าง ๆ ได้ในระยะยาว สามารถเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ดังนี้ – โรคหัวใจขาดเลือด […]
ภาวะโรคระบาด ทำไมภูมิคุ้มกันถึงสำคัญ?
วิกฤติโรคระบาดที่โลกของเราเคยเผชิญมีหนทางแก้ไขที่แตกต่างกันไปตามวิทยาการทางการแพทย์ในยุคนั้น ๆ สำหรับโควิด-19 เองทั่วโลกต่างก็ยอมรับในวิธีการเดียวกันนั่นคือ “การฉีดวัคซีน” เพื่อสร้าง “ภูมิคุ้มกันหมู่” ให้เกิดขึ้นโดยเร็วที่สุด การสร้างภูมิคุ้มกันสำคัญอย่างไรกับการรับมือกับโรค วันนี้จะมาอธิบายอย่างง่าย ๆ ให้เข้าใจครับ ภูมิคุ้มกันคืออะไร? ภูมิคุ้มกัน (Immunity) คือ ระบบที่ประกอบด้วยกระบวนการทางชีวิภาพของร่างกาย มีหน้าที่ป้องกันร่างกายจากสิ่งแปลกปลอมหรือแอนติเจนที่พยายามจะเข้าสู่ร่างกายของเรา โดยเฉพาะเชื้อโรคต่าง ๆ เช่น แบคทีเรีย ปรสิต เชื้อรา ไวรัส จะทำงานร่วมกับเซลล์และอวัยวะในร่างกาย ประกอบไปด้วยระบบย่อย 2 ระบบ ได้แก่ 1. ระบบภูมิคุ้มกันโดยกำเนิด (innate) จะทำหน้าที่ในขั้นแรก เมื่อมีสิ่งแปลกปลอมในร่างกาย จะทำลายพวกเชื้อโรคอย่างไม่เลือก เรียกได้ว่าเป็นด่านแรกที่จะเจอกับเชื้อโรค ส่วนประกอบของภูมิคุ้มกันประเภทนี้ เช่น น้ำตา ผิวหนัง เยื่อเมือกในบริเวณทางเดินหายใจ และทางเดินอาหาร เป็นต้น 2. ระบบภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะ (adaptive) จะทำงานต่อจากภูมิคุ้มกันโดยกำเนิด มีความสามารถที่จำเพาะเจาะจงมากขึ้น สามารถจดจำแอนติเจนที่เคนรู้จักมาก่อนได้อย่างรวดเร็ว แบ่งออกเป็นสองชนิด คือ การตอบสนอง ทางสารน้ํา (humoral […]