การที่หัวใจของเราหยุดเต้นเฉียบพลันอาจจะฟังดูไกลตัวของเรา แต่รู้หรือไม่? ว่าสถิติการเกิดภาวะนี้ทั่วโลกนับว่าสูงขึ้นมาก และเกิดขึ้นได้กับคนอายุน้อยลงเรื่อย ๆ ซึ่งเป็นภาวะเสี่ยงต่อสุขภาพของประชาชนที่น่าจับตามองจากระบบสาธารณสุขหลายประเทศทั่วโลกด้วยกัน เรามาดูกันครับว่าภาวะเสี่ยงหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันใครเป็นกลุ่มเสี่ยงบ้าง และเราจะมีวิธีการป้องกันได้อย่างไร? ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันคืออะไร? เป็นภาวะที่หัวใจไม่สามารถส่งเลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายอย่างทันที สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากมีโรคหัวใจแต่ไม่เคยมีอาการ และไม่เคยไปตรวจสุขภาพแล้วพบเจอว่าตัวเองมีภาวะเสี่ยง หรือเป็นโรคหัวใจมาก่อน สาเหตุการเกิดหัวใจหยุดเต้น กลุ่มคนที่อายุมากกว่า 35 ปี – เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ ทั้งที่ตรวจแล้วรู้ และไม่เคยตรวจและไม่แสดงอาการ – มีความผิดปกติของการเต้นของหัวใจ – โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนา – ผนังหัวใจห้องล่างซ้ายหนาตัว – กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ กลุ่มคนที่อายุน้อยกว่า 35 ปี – มีความผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจแต่กำเนิด ทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว ในคนอายุน้อยอาจจะตรวจพบได้ยาก - ผนังกล้ามเนื้อหัวใจหนาผิดปกติ – โครงสร้างหลอดเลือดหัวใจมีความผิดปกติ ทำให้การสูบฉีดเลือดทำงานได้อย่างไม่เต็มประสิทธิภาพ – การเต้นของหัวใจมีความผิดปกติ – ผนังหัวใจห้องล่างซ้ายหนาตัว – กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ กลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้น – พันธุกรรมหรือครอบครัวเคยเป็นโรคหัวใจมากก่อน เช่น พ่อแม่ พี่หรือน้อง ที่มีประวัติเสียชีวิตขณะที่มีอายุน้อยกว่า […]
ดูแลตัวเองอย่างไร ให้ปลอดภัยในขณะรอวัคซีน
วัคซีนถือเป็นเครื่องมือสำคัญเครื่องมือเดียวตอนนี้ที่ทั่วโลกใช้รับมือกับโควิด-19 และทุกคนต้องได้รับการฉีดวัคซีนที่มีประสิทธิภาพอย่างรวดเร็ว เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ให้เกิดขึ้น และจะได้กลับไปใช้ชีวิตอย่างปกติได้อย่างเมื่อก่อนนะครับ แต่เพราะขณะนี้วัคซีนที่อนุมัติให้ใช้งานยังคงเป็นวัคซีนฉุกเฉินจึงอาจจะมีผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นได้ เรามาดูกันดีกว่าครับว่าจะต้องดูแลตัวเองยังไงให้ปลอดภัยขณะรอฉีดวัคซีน สำหรับกลุ่มเสี่ยง – คนที่มีโรคประจำตัว ต้องรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ ช่วงนี้อาจจะต้องดูแลตัวเองเพิ่มเป็นสองเท่า พยายามพักผ่อนให้เพียงพอ – คนชรา ที่แข็งแรงดี ไม่ได้มีโรคประจำตัว ผู้ดูแลหรือลูกหลานต้องใส่ใจในเรื่องของสุขภาวะอย่างรอบด้าน เพราะคนกลุ่มนี้อารมณ์อ่อนไหว และค่อนข้างเป็นกังวล ให้ใส่ใจในเรื่องของอาหารและการพักผ่อนให้เพียงพอ – เด็ก แม้เด็กจะมีโอกาสการติดเชื้อที่ค่อนข้างต่ำกว่าผู้ใหญ่ แต่อย่างไรก็ต้องดูแลอย่างดี พยายามให้อยู่ที่บ้าน และทำกิจกรรมตามวัย และรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ สำหรับคนทั่วไป ที่ไม่ได้มีโรคประจำตัว ร่างกายปกติดี ให้ดูแลสุขภาพร่างกายอย่างสม่ำเสมอให้แข็งแรงไว้ ระวังภาวะความเครียดที่ทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย และอาจจะป่วยได้ง่าย ใครที่ทำงานอยู่บ้านก็พยายามใช้ชีวิตให้เป็นปกติ รูทีนเหมือนไปทำงานจะได้ไม่รู้สึกหมดไฟในการทำงาน โดยแนะนำให้ทุกคนพยายามอยู่บ้าน ถ้าจำเป็นต้องออกจากบ้านก็สวมใส่หน้ากากอนามัยสองชั้น พกเจลแอลกอฮอล์ ล้างมือสม่ำเสมอ ไม่ถอดหน้ากากอนามัยในสถานที่ที่มีผู้คนเด็ดขาด เลือกรับประทานอาหารให้มีประโยชน์ หลากหลาย ถ้ามีเวลาให้ออกกำลังกาย สร้างกล้ามเนื้อ เผาผลาญพลังงาน และอาจจะทานอาหารเสริมที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน อย่างเบต้ากลูแคนในทุกวัน เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันปกป้องเราอยู่เสมอ การเตรียมตัวก่อนไปฉีดวัคซีนต้องทำอะไรบ้าง? คำแนะนำจากกระทรวงสาธารณสุขได้มี 7 ข้อ ดังนี้ […]
บุหรี่ตัวร้ายที่ทำให้ไขมันเลวสูง!
เชื่อว่าหลายคนรู้ว่าบุหรี่เป็นสิ่งหนึ่งที่ก่อให้เกิดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพหลายอย่าง แต่ใครที่ติดไปแล้วก็ใช่ว่าจะหลุดออกมาจากการเสพติดได้ง่าย ๆ เพราะนิโคตินที่ร่างกายซึมซับมาเป็นเวลานานจะรู้สึกโหยหาเมื่อขาดนิโคตินไปช่วงระยะเวลาหนึ่ง มาดูอีกเหตุผลสำคัญที่คุณควรเลิกบุหรี่คือทำให้ร่างกายมีคอเลสเตอรอลที่เป็นไขมันเลวในร่างกายสูงกว่าคนที่ไม่สูบนะครับ อันตรายจากบุหรี่มาจากไหน? ในบุหรี่มีใบยาสูบที่มีนิโคตินซึ่งทำให้เกิดการเสพติด แต่อันตรายจากบุหรี่มาจากควันที่มีทั้งสารพิษกว่า 7,000 ชนิด สารพิษอัตรายมาก 250 ชนิด และสารก่อมะเร็งอีกมากกว่า 70 ชนิด รวมไปถึงคาร์บอนมอนนอกไซด์จากการเผาไหม้ บุหรี่ที่เข้าไปในร่างกายจะสามารถแทรกซึมเข้าไปตามกระแสเลือดในทุกส่วนของร่างกาย ตั้งแต่สมอง ทางเดินหายใจ ทางเดินอาหาร และเป็นปัจจัยสำคัญในการทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ทั้งหลอดเลือดหัวใจ มะเร็ง อาจจะส่งผลต่อสมรรถภาพทางเพศ และผู้หญิงที่ตั้งภรรภ์อาจจะทำให้ทารกพิการตั้งแต่กำเนิดได้ บุหรี่ทำให้เกิดคอเลสเตอรอล”ไขมันเลว”ในร่างกายได้อย่างไร? สารพิษในบุหรี่ทำให้ไขมันชนิดไม่ดี (LDL) ในเลือดมีความหนืด ข้น และเหนียวมากขึ้น และไปลดระดับไขมันดี (HDL) ในเลือดให้ลดลง ทำให้ไขมันไปเกาะตัวจนเกิดลิ่มเลือดที่ไปอุดตันในเส้นเลือดได้ง่ายขึ้น เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงหัวใจและสมองได้ ซึ่งส่งผลให้เกิดโรคต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับหัวใจได้มากกว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่ ที่สำคัญสารพิษในบุหรี่ทำให้ร่างกายไม่สามารถดูดซึมสารอาหารดี ๆ อย่างแคลเซียม วิตามิน และแร่ธาตุบางอย่างได้นะครับ มีผลการศึกษาบอกว่าถึงแม้ว่าคุณจะสูบบุหรี่เพียงมวนเดียวต่อวัน ผู้สูบจะมีความเสี่ยงต่ออาการหัวใจวายเพิ่มขึ้นถึง 50 เปอร์เซ็นต์ เเละเสี่ยงมากขึ้นถึง 30 เปอร์เซ็นต์ต่ออาการอุดตันในเส้นเลือดที่หล่อเลี้ยงหัวใจ หรือการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันในเส้นเลือดที่ไปหล่อเลี้ยงหัวใจเเละสมอง […]