โรคความดันโลหิตสูงถือเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มีคนเป็นมากที่สุดหนึ่งโรค และนับเป็นภัยเงียบที่น่ากลัวต่ออวัยวะสำคัญอย่างหลอดเลือดและหัวใจ ซึ่งถือเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะหัวใจวาย หัวใจเต้นผิดจังหวะ มีโอกาสเกิดภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ซึ่งความน่ากลัวของโรคนี้คือไม่แสดงอาการ และไม่สามารถวินิจฉัยได้ในครั้งเดียวอีกด้วย โรคความดันโลหิตสูงคือหนึ่งในภัยเงียบที่คนไทยเป็นมากที่สุด การสำรวจสุขภาพประชากรไทยในปี พ.ศ. 2562-2563 พบว่าประชากรอายุ 18 ปีขึ้นไป เป็นโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 13 ล้านคน และในจำนวนนี้มีมากถึง 7 ล้านคน ไม่ทราบว่าตนเองป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงอยู่ ซึ่งองค์การอนามัยโลกได้ออกรายงานว่าโรคความดันโลหิตสูงเป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพของประชากร มีกลุ่มผู้ป่วยอายุ 30-79 ปี ป่วยเป็นโรคนี้กว่า 1.3 พันล้านคนทั่วโลกอีกด้วย นับว่าโรคนี้คนเป็นเยอะแต่หลายคนมักจะละเลย เพราะไม่แสดงอาการ และเมื่อตรวจพบก็รู้สึกว่าอาการไม่หนัก จึงไม่ให้ความสำคัญกับการควบคุมความดันเท่าไหร่นัก ทำไมการควบคุมความดันโลหิตถึงสำคัญกับผู้ป่วยความดันโลหิตสูง เนื่องจากความดันโลหิตสูงทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้น ผนังหัวใจหนาขึ้น ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี อาจจะทำให้ผนังหัวใจยืดออก และไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพเท่าควร อาจจะส่งผลให้หัวใจโต หัวใจวายเฉียบพลันได้ ถ้าหากปล่อยให้ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงต่อเนื่อง อาจจะทำให้ปวดศีรษะรุนแรง หายใจถี่ขึ้น เลือดกำเดาไหล ถึงขั้นเป็นลมหมดสติได้ อาการนี้หากเกิดในผู้ป่วยสูงอายุค่อนข้างอันตราย เพราะอาจจะทำให้ล้มหัวกระแทก หรือบาดเจ็บรุนแรงจากการล้มได้ ไม่เพียงเท่านี้หากไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตได้ก็อาจจะส่งผลให้เกิดโรคเรื้อรังอื่น ๆ ตามมา เช่น โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง […]
อาหารอันตรายต่อหลอดเลือดหัวใจ ทานมากเสี่ยงเป็นโรคที่เกี่ยวกับหัวใจ!
อาหารเป็นปัจจัยสำคัญในการดูแลสุขภาพ หลายคนทราบว่าอาหารบางชนิดส่งผลร้ายที่สามารถเป็นปัจจัยให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้ โดยเฉพาะโรคร้ายอย่างหัวใจ โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน จึงได้ละเลยในการใส่ใจสุขภาพของหลอดเลือดไป เพราะร่างกายของเราเต็มไปด้วยหลอดเลือดขนาดต่าง ๆ ที่หล่อเลี้ยงทุกส่วนและทุกอวัยวะของร่างกายอยู่ โดยเฉพาะหลอดเลือดหัวใจ มาดูอาหารที่ทำลายหลอดเลือดกันครับ จะได้เลี่ยงในการรับประทาน โรคหลอดเลือดในหัวใจนั้นเกิดขึ้นได้จากหลอดเลือดแดงที่เลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจตีบหรือตัน โดยแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ 1. แบบเรื้อรัง เกิดจากไขมันมาเกาะสะสมอยู่ที่ผนังหลอดเลือด ทำให้เยื่อบุในตำแหน่งนั้น ๆ หนาขึ้น ในขณะเดียวกันหลอดเลือดก็แคบและเล็กลงไปด้วย ซึ่งทำให้เลือดนำออกซิเจนไปไหลผ่านได้น้อยลง ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคหลอดเลือดและโรคเกี่ยวกับหัวใจอื่น ๆ ได้ 2. แบบเฉียบพลัน เกิดจากคราบไขมันที่เกาะอยู่ที่ผนังหลอดเลือดชั้นในปริแตก และกลายเป็นลิ่มเลือดไปอุดตันในหลอดเลือดที่จะไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้หัวใจขาดเลือด และเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจฉีกขาด และกล้ามเนื้อหัวใจวายตายเฉียบพลัน อาจจะนำไปสู่ภาวะหัวใจวาย หัวใจล้มเหลว และทำให้เสียชีวิตกะทันหันได้ อาหารที่ส่งผลให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ – อาหารที่มีกรดไขมันอิ่มตัว พบมากในไขมันสัตว์ และไขมันจากพืชบางชนิด เช่น น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว กะทิ นม เนย รวมไปถึงอาหารแปรรูปชนิดต่าง ๆ เช่น […]
ลดเสี่ยง “โรคนิ่วในถุงน้ำดี” ด้วยสารอาหารที่เพิ่มภูมิคุ้มกัน
พูดถึงโรคนิ่วหลายคนอาจจะมองว่าไกลตัว แต่กลับเป็นโรคที่มีผู้ป่วยในแต่ละปีไม่น้อยเลย แต่หลายคนกลับไม่ค่อยรู้จักและไม่ค่อยตระหนักถึงโรคนี้สักเท่าไหร่ พามารู้จักโรคนี้ให้ดีขึ้นและมารู้จักวิธีป้องกัน รวมไปถึงอาหารที่สามารถช่วยลดความเสี่ยงด้วยการเพิ่มภูมิคุ้มกันครับ โรคนิ่วในถุงน้ำดีคืออะไร เกิดจากอะไร “โรคนิ่ว” เกิดจากการตกผลึกของหินปูนหรือแคลเซียม คอเลสเตอรอล และบิลิรูบิน (สารเคมีชนิดหนึ่งที่ให้สีเหลืองออกน้ำตาลเกิดจากการแตกตัวหรือการตายของเซลล์เม็ดเลือดแดงในหลอดเลือด) ที่มีอยู่ในน้ำดี เชื่อว่าเกิดจากการติดเชื้อของทางเดินน้ำดี และความไม่สมดุลของส่วนประกอบคอเลสเตอรอลและบิลิรูบินในน้ำดี การตกผลึกของสารเหล่านี้อาจทำให้เกิดเป็นก้อนนิ่วเพียงก้อนเดียว หรือก้อนเล็ก ๆ ก็ได้ ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคนิ่ว ในถุงน้ำดี 1. คนที่มีปริมาณคอเลสเตอรอลในเลือดสูงทำให้การบีบตัวของถุงน้ำดีลดลง 2. ฮอร์โมนเอสโตรเจนจากการรับประทานยาคุมหรือตั้งครรภ์หลายครั้ง เพราะฮอร์โมนนี้ทำให้ระดับคอเลสเตอรอลในน้ำดีสูงนั่นเอง หมายความว่าผู้หญิงมีความเสี่ยงมากกว่าผู้ชาย 3. การใช้ยาลดไขมันบางชนิด ทำให้คอเลสเตอรอลในน้ำดีสูง 4. ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีระดับไขมันชนิดไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงมาก ๆ 5. การลดน้ำหนักอย่างรวดเร็ว ทำให้ร่างกายละลายไขมันมากจนเกินไป อาการเมื่อเป็นนิ่วในถุงน้ำดี อาการของนิ่วในถุงน้ำดีบางรายอาจจะไม่ได้แสดงอาการชัดเจน หรือหากมีอาการให้สังเกต เช่น – อาการท้องเฟ้อบริเวณเหนือสะดือ เรอ คลื่นไส้ อาเจียน คล้ายอาการของอาหารไม่ย่อย ซึ่งมักเป็นหลังกินอาหารมันมาก – มีอาการปวดบิดรุนแรงเป็นพัก ๆ ตรงบริเวณใต้ลิ้นปี่หรือใต้ชายโครงขวา ซึ่งอาจปวดร้าวมาที่ไหล่ขวา หรือบริเวณหลังตรงใต้สะบักขวา – ปวดนานขึ้นเรื่อย […]