หัวใจเป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดของร่างกาย ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งเป็นอวัยวะที่มีระบบการทำงานที่ซับซ้อนและละเอียดอ่อนมาก เมื่อมีความผิดปกติจึงไม่แสดงอาการให้ทราบได้ และตรวจวินิจฉัยได้ยาก ทำให้เมื่อมีความผิดปกติเกิดขึ้นกับหัวใจก็มักจะเป็นขั้นที่ต้องรักษาอย่างจริงจังแล้ว นี่เป็นอีกปัจจัยที่ทำให้สถิติคนไทยป่วยเป็นโรคหัวใจมากขึ้น และอีกปัจจัยคือเรื่องพฤติกรรม มาดูกันว่าทำไมคนไทยถึงเป็นโรคนี้มากขึ้นจะน่าเป็นกังวลครับ สถิติโรคหัวใจของคนไทยเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ รายงานจากองค์การอนามัยโลกหรือ WHO ในปี 2563 รายงานว่า กลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของคนทั่วโลก หรือประมาณ 17.9 ล้านคน และจากสถิติในประเทศไทย พบผู้เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดมากถึง 6 หมื่นคนต่อปี หรือมีผู้เสียชีวิตเฉลี่ยชั่วโมงละ 2 คน โดยพบว่าปัจจุบันมีความเสี่ยงที่จะทำให้คนเป็นโรคหัวใจเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะพฤติกรรมการใช้ชีวิต ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดโรคหัวใจ 1. ความผิดปกติตั้งแต่เกิด เกิดจากพันธุกรรม หรือหัวใจผิดปกติตั้งแต่กำเนิด หรือตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา 2. เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต บางคนอายุเพียง 30 – 35 ปี ก็สามารถป่วยเป็นโรคหัวใจได้ เพราะการใช้งานร่างกายที่หนัก โดยเฉพาะนักกีฬาที่ต้องออกแรงทำให้หัวใจสูบฉีดเลือดอย่างหนักมาตลอด อาจจะทำให้ผนังหลอดเลือดหัวใจหนาขึ้น และเสี่ยงที่จะเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันได้ 3. โรคต่าง ๆ ที่เป็นประตูนำไปสู่โรคหัวใจ […]
รักษาโรคมะเร็งด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด ทำได้อย่างไร?
โรคมะเร็งถือเป็นอีกหนึ่งโรคร้ายที่ไม่มีใครอยากเป็น และเป็นอีกหนึ่งโรคที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตของคนทั่วโลกและคนไทยจำนวนไม่น้อยในแต่ละปี และยังถือว่าเป็นโรคที่ยังคงค้นหาวิธีการรักษาใหม่ ๆ อยู่เสมอ เนื่องจากโรคนี้มีความหลากหลาย และมีปัจจัยในการเกิดที่หลากหลายเช่นกัน วันนี้มาชวนทำความรู้จักกับวิธีรักษาโรคมะเร็งด้วยภูมิคุ้มกันบำบัดว่าทำได้อย่างไร และช่วยผู้ป่วยโรคมะเร็งได้แค่ไหนกันครับ รักษาโรคมะเร็งด้วยภูมิคุ้มกันบำบัดคืออะไร? วิธีการรักษาโรคมะเร็งด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด หรือ Immunotherapy เป็นการรักษามะเร็งโดยอาศัยหลักการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย พูดง่าย ๆ คือระบบภูมิคุ้มกันของเราจะทำหน้าที่กำจัดสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย โดยวิธีการภูมิคุ้มกันบำบัดคือการส่งเสริมให้ระบบภูมิคุ้มกันสามารถกำจัด หรือควบคุมการกลายพันธุ์ของเซลล์มะเร็งในร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น มะเร็งชนิดใดบ้างที่สามารถรักษาด้วยวิธีภูมิคุ้มกันบำบัด – มะเร็งปอดบางชนิด – มะเร็งต่อมน้ำเหลือง – มะเร็งในกระเพาะปัสสาวะที่ดื้อต่อเคมีบำบัด – มะเร็งผิวหนังเมลาโนมาระยะลุกลาม – มะเร็งไตที่ดื้อต่อการรักษาด้วยวิธีอื่น – มะเร็งศีรษะและลำคอที่ดื้อต่อเคมีบำบัด การรักษาโรคมะเร็งด้วยวิธีภูมิคุ้มกันบำบัดสามารถทำได้อย่างไร? – วัคซีนโรคมะเร็ง ที่หลายคนอาจจะเคยพอได้ยินบ้างโดยเฉพาะผู้หญิง นั่นก็คือวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก โดยจะเป็นการกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันสามารถทำลายเซลล์มะเร็ง และป้องกันร่างกายของเราได้ – โมโนโคลนอลแอนติบอดี (Monoclonal Antibodies) เป็นวิธีการสร้างโปรตีนสังเคราะห์ที่เลียนแบบแอนติบอดีที่เป็นโปรตีนระบบคุ้มกันของร่างกาย โดยแอนติบอดีจะพัฒนาให้มีความจำเพาะและออกฤทธิ์ต่อมะเร็งชนิดนั้น ๆ โดยเฉพาะ – ยับยั้งการทำงานที่อิมมูนเช็กพอยต์ เป็นกลไกในการยับยั้งระบบควบคุมและสั่งการเซลล์สิ่งแปลกปลอม เพราะบางทีเซลล์มะเร็งอาจจะอาศัยระบบนี้ทำการซ่อนตัวและแบ่งเซลล์ไปเรื่อย ๆ ซึ่งจะหลีกหนีการทำลายโดยระบบภูมิคุ้มกันได้ ซึ่งยากลุ่มนี้จะพัฒนาเพื่อกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันตรวจจับเซลล์มะเร็งได้ดีขึ้น – […]
โรคความดันสูงประตูสู่โรคไตวายเรื้อรัง ป้องกันได้อย่างไร?
แม้หลายคนจะรู้อยู่แล้วว่าโรคความดันโลหิตสูงเป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดโรคต่าง ๆ แต่มีรายงานว่ามีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงหลายคนเลือกที่จะไม่เข้ารับการรักษา หรือเข้ารับการวินิจฉัยว่าตัวเองเป็นโรคความดันโลหิต ด้วยรู้สึกว่าไม่ใช่โรคร้ายแรงและเสียเวลาในการเข้ารับการรักษา แต่รู้หรือไม่ว่าโรคความดันโลหิตสูงเป็นประตูสู่โรคอื่น ๆ ได้ โดยเฉพาะโรคไตวายเรื้อรัง ทำไมการเป็นโรคความดันโลหิตสูงถึงทำลายระบบไต ในช่วงเริ่มต้นที่ไม่ได้เป็นความดันโลหิตสูงชนิดที่ไม่รุนแรงมาก การสูบฉีดไปหล่อเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ หัวใจต้องทำงานหนักมากขึ้น เพราะภาวะความดันโลหิตที่ไม่ปกติ ก็อาจจะส่งผลให้ผนังหลอดเลือดหัวใจค่อย ๆ หนาตัวขึ้น เลือดอาจจะไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ เกิดเป็นภาวะเนื้อไตขาดเลือด ซึ่งส่งผลต่อการทำงานของระบบไต และโครงสร้างการทำงานของไต แต่หากไต่ระดับขึ้นไปเป็นโรคความดันโลหิตแบบที่รุนแรง คือ ค่าความดันอยู่ที่ 200/130 มิลลิเมตรปรอท ก็อาจจะส่งผลให้ไตสูญเสียกลไกการป้องกันแรงดันเลือดสูง เสี่ยงที่จะเกิดภาวะไตวายเฉียบพลันได้ ยิ่งปล่อยไว้นาน หัวใจทำงานหนัก ไตก็ยิ่งทำงานหนัก ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงในระยะยาวทำให้เส้นเลือดทั่วร่างกายค่อย ๆ เสื่อมสภาพ ทำให้เกิดโรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือด โดยเฉพาะหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดไต อาจจะทำให้มีโปรตีนรั่วออกมาทางปัสสาวะ ไตไม่สามารถจับเกลือแร่และของเสียได้ ยิ่งทำให้เกลือแร่ไปคั่งอยู่ในกระแสเลือด ยิ่งส่งผลให้ความดันโลหิตสูงขึ้นไปอีก เสี่ยงที่จะเกิดภาวะหัวใจวาย หรือช็อกหมดสติ จนกลายเป็นอัมพฤกษ์หรืออัมพาตได้เลย ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรีเช็กอาการ เสี่ยงโรคไตวายเรื้อรัง – ปวดศีรษะบริเวณท้ายทอย – มึนงง – คลื่นไส้อาเจียน – หน้ามืดคล้ายจะเป็นลม – […]