เชื่อว่าหลายคนทราบดีว่าในร่างกายของเรามีทั้งไขมันที่ไม่ดีและไขมันดี ส่วนใหญ่หลายคนจะโฟกัสไปที่ไขมันไม่ดีเพราะแค่ชื่อก็ไม่ดีแล้ว การป้องกันตัวเองจากการบริโภคไขมันประเภทนี้จึงต้องหลีกเลี่ยง แล้วไขมันดีล่ะ? เราจะเลือกอย่างไร ถึงจะเหมาะสมกับร่างกาย วันนี้มาแนะนำอาหารไขมันดีกันครับ รู้จักระบบไขมันในร่างกาย ในร่างกายของเราประกอบไปด้วยไขมันหลายชนิด โดยจำแนกได้เป็น ไขมันชนิดดีที่มีประโยชน์จะเรียกว่า High Density Lipoprotein หรือ HDL โดยเป็นไขมันชนิดมีตับเป็นผู้สร้างขึ้น และมีทำหน้าที่ขจัดคอเลสเตอรอลหรือไขมันชนิดไม่ดี (LDL) ที่เกาะอยู่ตามหลอดเลือดออกไปนั่นเอง นั่นจึงหมายความว่าหากว่าเรามีไขมันที่ดีเพียงพอ ไขมันไม่ดีก็จะถูกกำจัดไปด้วยนั่นเอง ข้อดีของไขมันดี คอเลสเตอรอลชนิดดี หรือ ไขมันดี เป็นไขมันที่มีความหนาแน่นในตัวสูง ดีต่อหลอดเลือดแดง โดยที่ไขมันดีจะนำไขมันไม่ดีไปสู่ตับและทำลายทิ้ง รวมถึงขจัดออกจากร่างกายด้วย ช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคร้ายอย่าง โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจตีบ โรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นต้น โดยผู้ชายควรมีระดับของไขมันดี 60มก./เดซิลิตร หรือมากกว่านั้น หากมีต่ำกว่า 40 มก./เดซิลิตร อาจจะมีความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพ ส่วนผู้หญิงควรมีระดับไขมันดีอยู่ในระดับ 60 มก./เดซิลิตร หรือมากกว่านั้น ไม่ควรต่ำกว่า 50 มก./เดซิลิตร อาหารที่ช่วยเพิ่มไขมันดีให้ร่างกาย อะโวคาโด – เป็นผลไม้ที่มีไขมันดีสูงมาก นอกจากจะช่วยลดคอเลสเตอรอลที่ไม่ดีในร่างกายได้แล้ว อะโวคาโดยังเป็นผลไม้ที่ให้พลังงานสูง […]
“น้ำหนักเกิน ลงพุง” เปิดประตูสู่โรคร้าย อายุน้อยก็เสี่ยงถึงชีวิต
เชื่อว่าหลาย ๆ คนอาจจะคิดว่าการที่น้ำหนักตัวขึ้นเยอะ การมีพุงนิดหน่อย ไม่ถือว่าเป็นเรื่องร้ายแรง แต่จริง ๆ แล้วหลายคนไม่รู้ว่าตัวเองกำลังเสี่ยงที่จะเป็น “โรคอ้วน” โดยที่ไม่รู้ตัว โดยเฉพาะคนในวัยทำงาน รวมไปถึงเด็ก ๆ ที่พ่อแม่คิดว่าการที่ลูกอ้วนแล้วน่ารัก ชวนดูว่าถ้าหากน้ำหนักเกินมีพุงจะทำให้เราเสี่ยงอะไรบ้าง คนไทยอยู่ในภาวะเสี่ยงโรคอ้วนเพิ่มขึ้น กรมอนามัยเปิดเผยผลสำรวจของประชากรไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป ปี 2562 – 2563 โดยผู้ชายร้อยละ 37.8 และผู้หญิงร้อยละ 46.4 อยู่ในเกณฑ์อ้วน และพบว่า ผู้ชาย ร้อยละ 27.7 และผู้หญิง ร้อยละ 50.4 อ้วนลงพุง อีกทั้งประชากรในประเทศไทยมีค่าเฉลี่ย BMI ≥ 25 อยู่ที่ 32.2% ซึ่งเกินกว่าค่าเฉลี่ยมาเยอะพอสมควร โดยส่วนใหญ่จะกระจุกอยู่ในกลุ่มคนวัยทำงาน เนื่องจากต้องใช้เวลาในการทำงานกว่า 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ไม่มีเวลาออกกำลังกาย และการรับประทานอาหารไม่ถูกหลักโภชนาการ เพราะต้องการรับประทานอาหารที่ทำได้ง่ายและเร็ว รวมไปถึงเป็นอาหารที่ให้พลังงานเยอะด้วย สิ่งที่บอกว่าคุณเผชิญกับโรคอ้วน 1. ค่าเฉลี่ย BMI […]
หากลูกมีอาการสมาธิสั้น ควรรับมืออย่างไรให้เหมาะสม
การที่ลูกมีสมาธิที่สั้นไม่ใช่เรื่องผิดปกติที่น่าเป็นกังวลนะครับ เพราะเด็ก ๆ ทุกคนสามารถมีอาการนี้ได้โดยเฉพาะเด็กในช่วงวัยอนุบาลหรือประถมศึกษา เพราะธรรมชาติของเด็กคือความซุกซน มีพลังงานล้นเหลือ การวิ่งเล่นไปมา หรือการไม่สามารถจดจ่อกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้ เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้และพ่อแม่สามารถช่วยลูกแก้ไขเรื่องนี้ มาลองดูวิธีเหล่านี้กันครับ 1. กำหนดกิจกรรมประจำวันอย่างแน่นอน ตั้งเวลาในการทำกิจกรรมให้ลูกอย่างแน่นอน เพื่อให้พวกเขาเรียนรู้และจดจำเวลาในชีวิตของพวกเขาได้ดีขึ้น ช่วงแรกพ่อแม่อาจจะเหนื่อยหน่อยเพราะต้องจดจำตารางด้วยเช่นกัน ควรทำตารางอย่างละเอียดตั้งแต่ตื่นนอนไปจนถึงเข้านอนในทุกวัน 2. จดจ่อกับสิ่งที่เด็กต้องทำลดสมาธิสั้น การทำกิจกรรมแต่ละอย่างควรทำอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เวลารับประทานอาหารก็ไม่ควรดูทีวีหรือเล่นไอแพดไปด้วย อ่านหนังสือก็ไม่ควรมีเสียงดังรบกวนหรืออนุญาตให้ใช้โทรศัพท์มือถือหรือไอแพดไปด้วย การให้ลูกทำอย่างเดียวอย่างหนึ่งจะช่วยให้เขาโฟกัสสิ่งที่ทำอยู่ได้ดีขึ้น 3. ชื่นชมและให้รางวัล คำชื่นชมสำหรับเด็กมีคุณค่าทางใจกับพวกเขาอย่างมาก ยิ่งมีรางวัลเล็ก ๆ น้อย ๆ เขาจะรู้สึกประสบความสำเร็จกับสิ่งที่เขาทำ ครั้งหน้าเขาจะตั้งใจทำให้ดียิ่งขึ้น พ่อแม่ควรใส่ใจกับของรางวัลแม้เพียงเล็กน้อยแต่ต้องเป็นสิ่งที่เขารู้สึกว่าคู่ควรและมีค่าที่เขาได้รับมัน 4. หากลูกว่อกแว่กควรบอกให้เขารู้ตัวแทนที่จะตำหนิ หากมีช่วงที่เขาว่อกแว่กกับสิ่งที่ต้องทำ บอกให้เขารู้ตัว เช่น สะกิด ตบไหล่เบา ๆ หรือกระซิบ เพื่อให้เขารู้สึกว่าเรื่องที่ทำอยู่ไม่ใช่เรื่องผิดใหญ่โต สามารถแก้ไขและตั้งใจกับสิ่งที่ควรทำ หากพ่อแม่ตำหนิเขาจะรู้สึกเสียความมั่นใจ ไม่แน่ใจว่าสิ่งที่ทำอยู่ดีหรือไม่ และกลัวที่จะต้องทำต่อ 5. เปิดโอกาสให้เด็กได้ทำในสิ่งที่ชอบ ในตารางแต่ละวันพ่อแม่ควรเปิดโอกาสให้เขาได้ทำในสิ่งที่ชอบ เช่น ดูการ์ตูน เล่นเกม เล่นโทรศัพท์มือถือ เล่นกีฬา […]