พูดเรื่องการรับประทานอาหารรสเค็ม หลายคนอาจจะคิดถึง “โรคไต” แต่จริง ๆ การกินอาหารรสเค็มมีผลกระทบต่อสุขภาพมากกว่าที่หลายคนเข้าใจ โดยเฉพาะการเกิดโรคที่เกี่ยวกับความดันโลหิตสูงและหลอดเลือด รวมไปถึงหัวใจด้วย ยิ่งเฉพาะผู้ป่วยที่เป็นโรคเหล่านี้ การรับประทานอาหารรสเค็มยิ่งจะไปทำให้โรครุนแรงกว่าเดิม ทำไมการติดรสเค็มถึงอันตรายกว่าที่คิด? มีการศึกษาว่ารสอะไรที่ทำให้คนรับประทานอาหารได้มากเกินกว่าที่ร่างกายต้องการ (Overeating) โดยรสเค็มเป็นรสที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการรับประทานอาหารมากที่สุด คือ รสเค็ม เนื่องจากรสเค็มไปกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งสารโดปามีน ซึ่งทำให้ร่างกายรู้สึกพึงพอใจ มีความสุข ทำให้เกิดความอยากอาหาร และทำให้สมองระลึกถึงรสความอร่อยที่เป็นรสเค็มได้มากกว่ารสอื่น ๆ เมื่อรับประทานอาหารรสอื่น ๆ ที่ไม่เค็มก็จะรู้สึกอาหารไม่อร่อย หงุดหงิด จึงทำให้คนที่ติดรสเค็มเสี่ยงที่จะเกิดภาวะน้ำหนักขึ้นเร็วหรือโรคอ้วนได้ง่าย เนื่องจากรับประทานอาหารมากกว่าปกติเมื่อได้ทานอาหารรสเค็ม อาหารติดเค็มเสี่ยงต่อผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจ ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง จะมีความผิดปกติของค่าความดันอยู่แล้ว ซึ่งการบริโภคอาหารรสเค็มยิ่งไปกระตุ้นให้ร่างกายเกิดภาวะความดันไม่ปกติ เนื่องจากร่างกายจะดูดน้ำกลับเข้าสู่กระแสเลือดเพื่อลดปริมาณเกลือลง จึงทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นหากผู้ป่วยบริโภคอาหารรสเค็มจัด ทั้งยังเสี่ยงที่จะทำให้เกิดภาวะช็อกจากการที่ร่างกายต้องพยายามปรับสมดุลด้วย ผู้ป่วยเปราะบางอย่างผู้อาวุโส หรือผู้ป่วยโรคเรื้อรังอื่น ๆ อาจจะเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ ผู้ป่วยโรคหัวใจ ซึ่งจำเป็นอย่างมากจะต้องรักษาระดับความดันโลหิตให้คงที่ เพื่อให้หัวใจยังคงรักษาความสมดุลและสามารถทำหน้าที่ได้ในขณะที่รักษา แต่หากมีภาวะความดันโลหิตสูงเนื่องจากรับประทานอาหารรสเค็มอย่างต่อเนื่อง อาจจะเสี่ยงที่จะนำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลว หลอดเลือดในสมองแตก เพราะมีปริมาณเกลือในกระแสเลือดและร่างกายขับออกไม่ทัน สิ่งสำคัญในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจคือควบคุมปริมาณเกลือหรือโซเดียมในอาหารทุกมื้อ เสริมการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจด้วยสารสกัดจากฮอร์ธอร์น สำหรับผู้ป่วยที่ดูแลสุขภาพช่วงที่เผชิญกับโรคความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจ ซึ่งสองโรคนี้มีความเกี่ยวโยงกันอย่างแยกไม่ออก แนะนำรับประทานสารสกัดจากฮอร์ธอร์นเพิ่ม เพื่อบำรุงและกระตุ้นให้หัวใจและหลอดเลือดทำงานได้ดีขึ้น ช่วยให้กล้ามเนื้อหลอดเลือดขยายตัว มีความยืดหยุ่น ให้เลือดสามารถไหลเวียนได้ดี […]
เพิ่มไขมันดี (HDL) ดีต่อสุขภาพจริงไหม ทานอะไรถึงได้ผล?
เชื่อว่าหลายคนทราบดีว่าในร่างกายของเรามีทั้งไขมันที่ไม่ดีและไขมันดี ส่วนใหญ่หลายคนจะโฟกัสไปที่ไขมันไม่ดีเพราะแค่ชื่อก็ไม่ดีแล้ว การป้องกันตัวเองจากการบริโภคไขมันประเภทนี้จึงต้องหลีกเลี่ยง แล้วไขมันดีล่ะ? เราจะเลือกอย่างไร ถึงจะเหมาะสมกับร่างกาย วันนี้มาแนะนำอาหารไขมันดีกันครับ รู้จักระบบไขมันในร่างกาย ในร่างกายของเราประกอบไปด้วยไขมันหลายชนิด โดยจำแนกได้เป็น ไขมันชนิดดีที่มีประโยชน์จะเรียกว่า High Density Lipoprotein หรือ HDL โดยเป็นไขมันชนิดมีตับเป็นผู้สร้างขึ้น และมีทำหน้าที่ขจัดคอเลสเตอรอลหรือไขมันชนิดไม่ดี (LDL) ที่เกาะอยู่ตามหลอดเลือดออกไปนั่นเอง นั่นจึงหมายความว่าหากว่าเรามีไขมันที่ดีเพียงพอ ไขมันไม่ดีก็จะถูกกำจัดไปด้วยนั่นเอง ข้อดีของไขมันดี คอเลสเตอรอลชนิดดี หรือ ไขมันดี เป็นไขมันที่มีความหนาแน่นในตัวสูง ดีต่อหลอดเลือดแดง โดยที่ไขมันดีจะนำไขมันไม่ดีไปสู่ตับและทำลายทิ้ง รวมถึงขจัดออกจากร่างกายด้วย ช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคร้ายอย่าง โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจตีบ โรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นต้น โดยผู้ชายควรมีระดับของไขมันดี 60มก./เดซิลิตร หรือมากกว่านั้น หากมีต่ำกว่า 40 มก./เดซิลิตร อาจจะมีความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพ ส่วนผู้หญิงควรมีระดับไขมันดีอยู่ในระดับ 60 มก./เดซิลิตร หรือมากกว่านั้น ไม่ควรต่ำกว่า 50 มก./เดซิลิตร อาหารที่ช่วยเพิ่มไขมันดีให้ร่างกาย อะโวคาโด – เป็นผลไม้ที่มีไขมันดีสูงมาก นอกจากจะช่วยลดคอเลสเตอรอลที่ไม่ดีในร่างกายได้แล้ว อะโวคาโดยังเป็นผลไม้ที่ให้พลังงานสูง […]
สัญญาณอันตรายของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
โรคความดันโลหิตสูงถือเป็นภัยเงียบที่ส่งผลร้ายต่อร่างกายอีกหนึ่งโรค ซึ่งเป็นโรคที่คนไทยเป็นเยอะแต่หลายคนไม่รู้ตัว เพราะโรคนี้ไม่แสดงอาการ อีกทั้งหากตรวจพบหลายคนก็ละเลยการดูแลตัวเองโดยเฉพาะการควบคุมความดัน ซึ่งส่งผลให้เกิดภาวะอื่น ๆ แทรกซ้อนตามมา ไม่ว่าจะเป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจและโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดได้ด้วย แต่สัญญาณอันตรายว่าการเป็นโรคความดันโลหิตสูงมีอะไรเตือนบ้าง มาดูกันครับ โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่มักจะไม่แสดงอาการแต่อย่างใด แต่หากมีอาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณที่อันตรายว่าคุณกำลังมีความโลหิตสูงเกินและเสี่ยงที่หากไม่รักษาอาจจะส่งผลอันตรายต่อชีวิตนะครับ เช่น ปวดมึนหัวบ่อย ๆ เวียนศีรษะ บางคนอาจจะปวดหัวตุบ ๆ เหมือนเป็นไมเกรน หากเข้าขั้นอันตรายอาจจะมีอาการมากขึ้น เช่น อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ ใจสั่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือโคม่าถึงขั้นเสียชีวิตได้ โรคความดันโลหิตหากไม่รักษาจะมีสัญญาณอันตรายอย่างไร? ระดับความดันโลหิตสูงส่งผลต่อหลายอวัยวะในร่างกาย โดยเฉพาะการทำงานของหัวใจ อาจจะทำให้ผนังหัวใจหนาขึ้น ยืดขึ้น และทำงานไม่ได้เต็มประสิทธิภาพ นอกจากนี้การไม่รักษาโรคความดันโลหิตหรือควบคุมความดันโลหิตจะส่งผลร้ายต่อร่างกายได้อีก เช่น – เลือดไปหล่อเลี้ยงหัวใจไม่พอ อาจจะทำให้หัวใจขาดเลือด หรือหัวใจวายได้ – หลอดเลือดตีบ ตัน หรือโป่งพอง ทำให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ได้น้อยลง – เลือดไม่สามารถไปหล่อเลี้ยงไตได้ อาจจะทำให้เกิดโรคไตหรือไตวายเรื้อรัง – เลือดไม่สามารถไปหล่อเลี้ยงสมองได้ อาจจะทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งเสี่ยงเป็นอัมพาตได้ ควบคุมความดันและดูแลสุขภาพมวลรวมคือหัวใจสำคัญในการรักษาโรคความดันโลหิตสูง การควบคุมความดันสามารถทำได้หลายวิธีนะครับ สิ่งสำคัญคือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เราทำทุกวัน […]