หยุดพฤติกรรมสู่ “โรคหัวใจขาดเลือด” สาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1

โรคหัวใจขาดเลือด

โรคที่เกี่ยวกับหัวใจเป็นโรคที่องค์การอนามัยโลกส่งสัญญาณเตือนมาถึงประชาคมโลกมาอย่างต่อเนื่อง เพราะมีอัตราเสียชีวิตสูงมากขึ้นทุกปี แซงโรคร้ายอย่างโรคมะเร็งเลยก็ว่าได้ ด้วยวิทยาการทางการแพทย์ทำให้โรคมะเร็งเริ่มมีทางเลือกในการรักษาที่มีประสิทธิผลมากขึ้น ในขณะที่โรคหัวใจมักจะเป็นภาวะโรคที่เฉียบพลัน โดยไม่ค่อยแสดงอาการ นั่นจึงทำให้ผู้ป่วยมีการเสียชีวิตกะทันหันมากขึ้นโดยเฉพาะ “โรคหัวใจขาดเลือด

 

โรคหัวใจขาดเลือดเฉลี่ยมีคนเสียชีวิตเฉลี่ย 2 คนต่อชั่วโมง

สถิติที่น่ากังวลของประเทศไทย คือ ผู้ป่วยที่เสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจเฉลี่ยเสียชีวิต 2 คนต่อชั่วโมง โดยพบว่ากว่า 45% เป็นการเสียชีวิตแบบเฉียบพลัน ซึ่งนับเป็นหนึ่งในโรคที่ต้องเฝ้าระวัง เพราะทุกวินาทีหมายถึงชีวิตหากรักษาหรือปฐมพยาบาลไม่ทันก็อาจจะสายเสียชีวิตโดยไม่ได้บอกลาคนที่รักได้เลย

 

ปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลให้เป็นโรคหัวใจขาดเลือด

1. ปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้

พันธุกรรม หากมีคนในครอบครัวที่ใกล้ชิด เช่น พ่อ แม่ ปู่ ยา ตา ยาย หรือพี่น้อง มีประวัติเป็นโรคหัวใจ ก็อาจจะทำให้เรามีโอกาสที่จะเสี่ยงเป็นโรคหัวใจได้เช่นกัน

อายุที่เพิ่มมากขึ้น ด้วยอายุมากขึ้นก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจได้มากขึ้น

เพศ โดยเฉพาะผู้ชายที่มีความเสี่ยงที่จะเป็นมากกว่าผู้หญิง เพราะผู้หญิงมีฮอร์โมนเพศหญิงที่ช่วยควบคุมปริมาณไขมันให้อยู่ในระดับที่พอดี แต่ผู้หญิงที่อยู่ในวัยหลังหมดประจำเดือนแล้วก็อาจความเสี่ยงการเป็นโรคได้เช่นกัน

 

2. ปัจจัยที่สามารถควบคุมได้

การสูบบุหรี่ พฤติกรรมนี้เป็นความเสี่ยงสูงสุดที่จะทำให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือด เพราะสารพิษในควันบุหรี่สามารถเข้าไปสู่หลอดเลือดได้ ทำให้เลือดข้น หนืด ไหลเวียนไปสู่ร่างกายได้ยากขึ้น หัวใจทำงานหนักกว่าปกติ ซึ่งนี่เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ผู้ชายมีความเสี่ยงกว่าผู้หญิง เพราะผู้ชายมีสูบบุหรี่มากกว่า

–  โรคอ้วน / ไขมันสะสมจำนวนมาก อีกหนึ่งความเสี่ยงคือการที่ร่างกายมีไขมันสะสมจำนวนมาก จากการรับประทานอาหารที่ไขมันสูง ทานอาหารไม่มีประโยชน์  ซึ่งไขมันเหล่านี้จะไปอุดกั้นการไหลเวียนของเลือด ซึ่งส่งผลให้เป็นโรคอย่างความดันโลหิตสูงด้วย เลือดไหลเวียนไปที่หัวใจได้ยากขึ้น หัวใจทำงานหนักขึ้น และเสี่ยงที่เป็นโรคหัวใจขาดเลือดได้ไม่ยากเลย

การทำงานอยู่กับที่ ไม่ค่อยขยับตัว หรือไม่ค่อยออกกำลังกาย การทำงานอยู่กับที่ ไม่ค่อยขยับตัว หรือเก็บตัว นั่นทำให้กล้ามเนื้อหัวใจไม่ได้ฝึกให้อดทนต่อการออกแรง กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแอลง เสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจขาดเลือดได้ ซึ่งการไม่ออกกำลังกายจะทำให้ร่างกายไม่มีสมดุล เสี่ยงคอเลสเตอรอลสูง ระบบเผาผลาญในร่างกายทำงานได้ไม่เต็มที่ รวมไปถึงกล้ามเนื้อต่าง ๆ ของร่างกายไม่ได้มีการพัฒนา ส่งผลต่อการทำงานของหัวใจด้วย

 

นอกจากนี้โรคประจำตัวอย่าง โรคความดันโลหิต โรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคไขมันในเลือดสูง หรือน้ำหนักตัวสูง เสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจขาดเลือดมากกว่าคนทั่วไปหลายเท่า ซึ่งโรคเหล่านี้ทำให้หัวใจทำงานหนัก และในระยะยาวจะผิดปกติ และเสี่ยงหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันด้วย ควรบำรุงหัวใจเพื่อให้หัวใจแข็งแรงโดยไม่ต้องรอให้มีอาการหรือป่วย ด้วยการรับประทานสารสกัดจากฮอร์ธอร์นและโคคิวเท็น ซึ่งสารสกัด 2 ชนิดนี้ จะช่วยกระตุ้นการทำงานของหัวใจ เติมพลังให้หัวใจสามารถทำงานได้อย่างเต็มที่มากขึ้น ขยายหลอดเลือดเพื่อให้เลือดไหลเวียนได้ดี ลดการอุดตันของไขมันในหลอดเลือด เพิ่มประสิทธิภาพให้เลือดไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ โดยเฉพาะหัวใจได้ดีขึ้น ทั้งยังช่วยลดคอเลสเตอรอล เพิ่มการทำงานของการเผาผลาญ ลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวาน โรคหลอดเลือด โรคความดันโลหิต ได้อีกด้วย

Leave a comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

TOP