ยิ่งอายุมากขึ้นยิ่งต้องใส่ใจสุขภาพ เชื่อว่าบ้านใครมีผู้สูงอายุ หรือกระทั่งตัวเราเองที่อายุมากขึ้นเรื่อยๆ ก็พยายามที่จะใส่ใจรายละเอียดในการดูแลสุขภาพของตัวเองและคนรอบข้างมากขึ้น ทั้งอาหารการกิน ความเป็นอยู่ สุขอนามัย สุขภาวะทางด้านจิตใจ ที่สำคัญอย่าลืมดูแลหัวใจ ที่เป็นอวัยวะสำคัญของร่างกายเรา มาดูว่าจะดูแลหัวใจอย่างไรให้แข็งแรง และป้องกันการเป็นโรคหัวใจได้อย่างไร อาหารเสริมเป็นทางเลือกในการดูแลสุขภาพหัวใจของผู้สูงอายุ สารสกัดอย่างฮอร์ธอร์น, โคคิวเท็น, ซีตรัส ออเรนเทียม, สารสกัดจากทับทิม หรือน้ำมันมะกอก มีส่วนช่วยในการดูแลและฟื้นบำรุงหัวใจ โดยสารสกัดเหล่านี้ช่วยเติมพลังงานให้หัวใจได้ทำงานอย่างที่เคยทำเมื่อสมัยอายุไม่มาก ช่วยขยายหลอดเลือด ให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น ให้คอเลสเตอรอลในเลือดได้ทำงานได้อย่างสมดุล ลดไขมันเลว เพิ่มไขมันดี ทั้งนี้ยังช่วยเรื่องการเผาผลาญแคลอรี่ และมีสารต้านอนุมูลอิสระมากมายที่ช่วยชะลอวัยอีกด้วย ไม่ต้องรอให้ป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดก็สามารถทานได้ หรือแม้แต่อายุมากแล้วก็ยังสามารถทานได้เช่นกันครับ ควบคุมปริมาณอาหารและประเภทของอาหาร หากอายุเพิ่มมากขึ้นการรับประทานอาหารจำนวนมาก จะทำให้ร่างกายไม่สามารถนำไปใช้ได้หมด และจะสะสมเป็นไขมันและคอเลสเตอรอลตามร่างกาย ฉะนั้น ควรรับประทานอาหารให้พอเหมาะในแต่ละมื้อ โดยทานอาหารให้ครบตามโภชนาการ และเลือกอาหารที่เหมาะกับสุขภาพของตัวเอง เช่น คนที่มีไขมันมาก ก็ต้องลดอาหารประเภทไขมัน น้ำตาล นม ไข่แดง เป็นต้น เน้นที่ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน อาหารจำพวกแป้งก็ทานเท่าที่จำเป็น ตรวจสุขภาพทุกปี ผู้ที่อายุมากเกิน 50 ควรจะตรวจสุขภาพโดยละเอียดทุกปี เพื่อเช็กระดับน้ำตาลในเลือด ไขมัน […]
ทำไมการควบคุม “ความดัน” ถึงสำคัญต่อสุขภาพ
หลายคนอาจจะเคยได้ยินความดันสูงไปก็ไม่ดี ความดันต่ำไปก็อันตราย เหตุใดความดันถึงสำคัญต่อสุขภาพของเราขนาดนี้ และค่าความดันบอกอะไรเกี่ยวกับสุขภาพเราได้บ้าง หาคำตอบพร้อมการดูแลสุขภาพความดันมาแนะนำให้ทุกคนด้วยครับ ค่าความดันโลหิตหรือความดันเลือดคืออะไร? อวัยวะอย่างหัวใจมีหน้าที่สูบฉีดเลือด เพื่อนำเอาออกซิเจน และสารอาหารต่างๆ ไปหล่อเลี้ยงทุกส่วนของร่างกาย ความดันโลหิต คือ แรงดันของเลือดที่ดันต้านกับผนังหลอดเลือดแดง เพื่อดันให้เลือดไหลเข้าออกผ่านหัวใจไปได้ทุกส่วนของร่างกาย ค่าความดันเลือดโดยปกติคือ 120/80 มิลลิปรอท หากสูงไปถึงระดับ 140/90 ถือว่ามีภาวะความดันโลหิตสูง ซึ่งจะส่งผลต่อหลอดเลือดในร่างกายอาจจะทำให้หลอดเลือดและอวัยวะภายในร่างกายเสียหายได้ และอาจจะนำไปสู่โรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือดได้ ค่าความดันโลหิตสูงเกิดจากอะไรได้บ้าง? – อายุที่เพิ่มขึ้น – การรับประทานอาหารรสจัด – ครอบครัวมีประวัติผู้ป่วยโรคเกี่ยวกับความดันและหลอดเลือด – การดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่เป็นประจำ – ไม่ออกกำลังกาย – ขาดการพักผ่อนอย่างเพียงพอ – ภาวะความเครียดเรื้อรัง ทำไมต้องควบคุมความดันให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ การตรวจวัดความดันโดยปกติควรทำผ่านอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐานของโรงพยาบาล หรือปัจจุบันมีเครื่องวัดแบบดิจิทัลที่สามารถทำได้ที่บ้าน โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ควรวัดความดันสม่ำเสมอ เพราะหากมีภาวะความดันสูงอย่างต่อเนื่องจะส่งผลต่อการทำงานของหลอดเลือด อันตรายถึงขั้นทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดตีบเฉียบพลันซึ่งอาจจะนำไปสู่อันตรายถึงชีวิตได้ นอกจากนี้ยังส่งผลต่อโรคร้ายอื่น ๆ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งจะเป็นชนวนให้เกิดโรคอื่น ๆ ตามมาได้ ป้องกันภาวะความดันสูงก่อนโรคร้ายจะมาถึง […]
หลอดเลือดหัวใจตีบ โรคอันตรายที่อาจไม่ได้บอกลา
นอกจากโรคระบาดที่น่ากลัวในยุคสมัยนี้ โรคที่เคยมีอยู่ก็ไม่ได้ลดความอันตรายลงเลยด้วย ซึ่งมีการประเมินว่าสถานการณ์สาธารณสุขทั่วโลกในอนาคต อาจจะมีผู้ป่วยที่เกิดจากโรคไม่ติดต่อเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 และวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป หนึ่งในภัยเงียบที่คร่าชีวิตผู้คนอย่างไม่บอกกล่าวคือ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือโรคหลอดเลือดแดงโคโรนารี หรือโรคหัวใจขาดเลือด นับเป็นอีกโรคที่ต้องเฝ้าระวังตัวเองและคนรอบข้าง เพราะหากเป็นเราอาจจะไม่มีโอกาสแม้แต่บอกลาคนที่รัก โรคหลอดเลือดหัวใจตีบอันตรายอย่างไร? โรคหลอดเลือดแดงโคโรนารี (Coronary artery disease, CAD) หรือโรคหัวใจขาดเลือด (Ischemic heart disease, IHD) หมายถึง โรคที่เกิดจากหลอดเลือดแดงที่เลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจตีบหรือตัน ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากไขมัน และเนื้อเยื่อสะสมอยู่ในผนังของหลอดเลือด มีผลให้เยื่อบุผนังหลอดเลือดชั้นในตำแหน่งนั้นหนาตัวขึ้น โรคหลอดเลือดหัวใจยังเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ในประเทศไทย และมีจำนวนผู้ป่วยมากขึ้น รวมถึงผู้ป่วยมีอายุน้อยลงเรื่อยๆ อีกด้วย ฉะนั้นโรคนี้ไม่ได้เป็นมากแค่กลุ่มคนสูงวัยเท่านั้นนะครับ คนที่อายุไม่มากก็สามารถเป็นโรคนี้ได้เช่นกัน ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ 1. อายุที่เพิ่มมากขึ้น โดยคนที่อายุ 45 ปีขึ้นมี มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้ โดยเฉพาะคนที่มีน้ำหนักตัวมากและมีไขมันในเลือดสูง 2. มีความเป็นไปได้ว่าโรคหลอดเลือดหัวใจตีบสามารถส่งผ่านทางกรรมพันธุ์ได้ หากพ่อแม่เป็นก็มีโอกาสที่ลูกจะเป็น 3. การสูบบุหรี่ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบในไทยส่วนใหญ่พบว่ามีพฤติกรรมสูบบุหรี่ หรือเคยสูบบุหรี่ เพราะสารพิษจากควันบุหรี่จะแทรกซึมเข้าไปตามหลอดเลือดทั่วร่างกาย และสะสมเป็นตะกอนเกาะตามผนังหลอดเลือด ทำให้เลือดข้นเหนียว และไหลเวียนไม่สะดวก […]