‘ภูมิคุ้มกัน’ เกราะป้องกันโรคที่ทุกคนมีไม่เท่ากัน ในยุค COVID – 19 ถึงแม้ว่าเราจะดูแลป้องกันตัวเองดีอย่างไร ป้องกันร่างกายตามวิธีปฏิบัติแบบ New Normal ดีแค่ไหน แต่เราก็ไม่สามารถวางใจได้ 100% ว่าเจ้าโรคร้ายจะไม่มาย่ามกรายกับเราใช่ไหมล่ะครับ แต่ทราบไหมครับว่า กำแพงด่านสุดท้ายที่สำคัญที่สุดที่จะบอกว่าป้องกันเชื้อโรคได้แค่ไหน ก็คือ ‘ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย’ ครับ แต่ยังไม่มีกฎที่แน่ชัดว่าคุณควรมีภูมิต้านทานเท่าไหร่ถึงจะปลอดภัย เนื่องจากภูมิคุ้มกันของแต่ละคนนั้นไม่เท่ากันและอาจเสื่อมถอยตามอายุขัยของร่างกาย เหตุผลนี้จึงทำให้ผู้สูงอายุ 70 ปีขึ้นไปเป็นกลุ่มเสี่ยงที่สุดในวงจรของ COVID – 19 และในบางกรณีภูมิคุ้มกันก็ไม่ได้ขึ้นอยู่กับอายุ สังเกตได้จากสูงวัยหลายๆ คนมีสุขภาพดี ร่างกายแข็งแรง แต่บางคนกลับมีภูมิคุ้มกันน้อยทั้งๆ ที่อายุยังไม่เยอะ สำหรับผู้ที่อายุไม่เยอะ ไม่มีพฤติกรรมสุ่มเสี่ยงให้ร่างกายทรุดโทรม ภูมิคุ้มกันจะยังทำงานได้ดี มีประสิทธิภาพพอจะกำจัดเชื้อโรคที่เข้ามารุกรานร่างกาย แต่อย่าเพิ่งชะล่าใจครับ เพราะภูมิคุ้มกันที่ดีไม่อยู่กับเราตลอดไป เพราะจะค่อยๆ เสื่อมถอยตามอายุขัย เรียกว่าภาวะ Immunosenescence ซึ่งเริ่มมีผลกระทบกับคนโดยเฉพาะในช่วงวัย 60 ปีขึ้นไป ยิ่งสูงวัยมากเท่าไหร่ยิ่งมีโอกาสป่วยมากขึ้นจากการติดเชื้อมากเท่านั้น ภาวะ Immunosenescence ยังสามารถเกิดกับผู้ที่อายุไม่เยอะเช่นกัน เพราะหากมีพฤติกรรม ทั้งนอนดึก ตื่นสาย โหมทำงานหนัก ขาดการออกกำลังกาย […]
ภาวะคัดจมูกเรื้อรัง อาจเป็นโรคร้ายที่ไม่คาดคิด
ภาวะคัดจมูก อาจเป็นมากกว่าแค่คัดจมูก คัดจมูก น้ำมูกไหล อาจไม่ใช่แค่หวัด ภาวะคัดจมูกเรื้อรังเกิดจากการอักเสบของ เยื่อบุโพรงจมูกด้านใน หรือผนังกั้นจมูก ทำให้ผู้ป่วย น้ำมูกไหล จาม ปวดศีรษะ และหายใจไม่สะดวก หากไม่รักษาให้หายขาดหรือปล่อยทิ้งไว้นานอาจทำให้เกิดภาวะคัดจมูก ซึ่งจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบอื่นๆ ของร่างกายได้เช่นกัน ภาวะคัดจมูกบอกโรคที่แอบแฝงในร่างกายอย่างไรบ้าง • ระบบหายใจส่วนล่างทำงานหนักขึ้น เพราะเมื่อคัดจมูกแล้วผู้ป่วยมักจะหายใจทางปากแทน ทำให้อากาศเย็นและความชื้นผ่านลงไปในทางเดินหายใจส่วนล่าง ระบบหายใจส่วนล่างจึงต้องทำงานหนักขึ้น รวมทั้งเสี่ยงต่อการอักเสบและระคายเคืองด้วย • หูอักเสบ เมื่อเป็นหวัดเยื่อบุในท่อ Eustachian tube ซึ่งเชื่อมระหว่างหูชั้นกลางและโพรงหลังจมูก จะบวมและตีบตันทำให้ไม่สามารถระบายความดันอากาศในช่องหูชั้นกลางได้ จึงก่อให้เกิดอาการปวดหู หูอื้อ และอาจติดเชื้อจนกลายเป็นหูอักเสบและหูน้ำหนวก • ท่อน้ำตาอุดตัน เมื่อเป็นหวัดจะทำให้เยื่อบุโพรงจมูกบวม จนน้ำตาไม่สามารถไหลลงไปที่โพรงจมูกได้ ทำให้ท่อน้ำตาอุดตัน มีอาการตาแฉะหรือน้ำตาเอ่อในตา ถ้าอาการรุนแรงขึ้นอาจมีน้ำตาไหลตลอดเวลา • โรคหยุดหายใจขณะหลับ อาการคัดจมูกจะทำให้ผู้ป่วยพยายามหายใจเข้าจนเกิดความดันในทางเดินหายใจส่วนบนจนทำให้ทางเดินหายใจตีบแคบ […]
กินแบบไหนเสี่ยงมะเร็งลำไส้ ปิ้งย่าง VS ชาบู
มะเร็งลำไส้ใหญ่ ไม่ได้เสี่ยงแค่ปิ้งย่าง เพื่อนๆ ทราบไหมครับว่า เมนูแสนอร่อยที่เรารับประทานอยู่ทุกวัน แฝงไปด้วยปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยเฉพาะอาหารแปรรูปที่ผ่านการหมัก รมควัน หรือกระบวนการต่าง ๆ ที่เพิ่มรสชาติหรือถนอมอาหาร เช่น เบคอน ไส้กรอก แหนม ลูกชิ้น หมูยอ และกุนเชียง เป็นต้น ซึ่งอาหารเหล่านี้มีสารเคมี ไนโตรซามีน (nitrosamine) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง เมื่อมีการสะสมในร่างกายจะทำปฏิกิริยากับปัจจัยอื่นในร่างกาย เช่นการอักเสบของระบบทางเดินอาหาร หรือสารอื่นที่ร่างกายได้รับผ่านทางอาหาร ส่งผลให้เซลล์ปกติกลายเป็น ‘เซลล์มะเร็ง’ ได้ ในปัจจุบันร้านอาหารแนวบุฟเฟต์ กลายเป็นที่นิยมมากขึ้น โดยเฉพาะแนวปิ้งย่างและชาบู แต่ทราบไหมครับว่า การรับประทานเนื้อแดงไม่ว่าจะเป็น เนื้อหมู เนื้อวัว เนื้อแกะ หรือเนื้อแพะ ที่ถูกประกอบอาหารในความร้อนสูงจนเกรียมแบบปิ้งย่าง หรือ ถูกประกอบอาหารในความร้อนสูงแบบต้ม ก็มีความเสี่ยงเกิดมะเร็งได้เช่นกัน เนื่องจากการนำเนื้อแดงไปประกอบอาหารในความร้อนสูง จะทำให้เกิด ‘สารโพลีไซคลิกอโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (PAH) และสารเฮเทอโรไซคลิกอโรมาติกเอมีน (HAA)’ ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งได้เช่นกัน เป็นที่น่าสนใจว่าความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งที่ลำไส้ใหญ่นั้น เพิ่มขึ้นตามปริมาณเนื้อแดงที่รับประทาน โดยพบว่าการรับประทานเนื้อแดงปริมาณ 100 กรัมต่อวัน เพิ่มความเสี่ยงมะเร็งที่ลำไส้ใหญ่มากขึ้น […]