ตั้งแต่มีการค้นพบโคโรนาไวรัส หรือ โควิด-19 เราก็ได้รับรายงานข่าวสารถึงการกลายพันธุ์ของไวรัสนี้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งนับว่าเป็นความปกติที่ไวรัสจะมีการกลายพันธุ์เพื่อรักษาเผ่าพันธุ์ของตัวเองไว้ ยิ่งกลายพันธุ์ได้มากก็มีโอกาสรอดชีวิตสูงตามไปด้วย แต่นั่นยิ่งไม่เป็นผลดีกับมนุษย์ นั่นหมายถึงการเอาตัวรอดของไวรัสนั้น ยิ่งทำให้ผู้คนสามารถได้รับเชื้อไวรัสเข้าร่างกายได้ง่ายมากขึ้น โดยเฉพาะโคโรนาสายพันธุ์โอมิครอน สายพันธุ์ย่อย BA.2.75 ความน่ากังวลของโอไมครอน สายพันธุ์ย่อย BA.2.75 โคโรนาไวรัส สายพันธุ์ BA.2.75 พบครั้งแรกที่ต่างประเทศช่วงเดือนมกราคม 2565 แต่มีการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วในอินเดีย ช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา โดยสายพันธุ์ย่อยนี้พบการกลายพันธุ์บน spike protein หลายตำแหน่งซึ่งส่งผลให้มีโอกาสติดเชื้อมากขึ้น เพิ่มโอกาสในการแพร่กระจายได้มากขึ้นอีกด้วย รวมถึงมีแนวโน้มที่จะสามารถหลบหลีกภูมิคุ้มกันจากการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ได้ และอาจจะมีโอกาสในการติดเชื้อซ้ำ แม้จะเพิ่งติดเชื้อได้ไม่นานก็ตาม จะป้องกันตัวเองจาก โอมิครอน สายพันธุ์ย่อย BA.2.75 ได้อย่างไร? 1. ฉีดวัคซีนและวัคซีนเข็มกระตุ้น การฉีดวัคซีนยังคงมีความจำเป็นในการลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ และลดความรุนแรงเมื่อได้รับเชื้ออยู่นะครับ ซึ่งจากรายงานหลายประเทศทั่วโลก ยังมีประชากรที่ไม่ได้รับวัคซีนเข็ม 1 และยังมีอัตราการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นในระดับที่ไม่มาก ซึ่งจึงทำให้อัตราการแพร่ระบาดจากคนติดเชื้ออยู่ในระดับที่สูง การฉีดวัคซีนจึงยังคงจำเป็นอยู่ครับ 2. การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย แม้การฉีดวัคซีนจะเป็นการกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อได้ แต่การเสริมภูมิคุ้มกันจากปัจจัยภายนอกก็สำคัญไม่แพ้กัน การรับประทานอาหารเสริม “เบต้ากลูแคน” นับเป็นอีกทางเลือกที่จะทำให้ร่างกายของเราแข็งแรงจากภูมิคุ้มกันที่เข้มแข็งได้ และนับว่าเป็นวิธีที่สะดวก […]
จริงหรือ? ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เสี่ยงเป็นมะเร็ง
ปัจจัยในการเกิดโรคมะเร็งมีหลายอย่างนะครับ ทั้งเกิดจากพันธุกรรม ปัจจัยสภาพแวดล้อมที่อาจมีสารพิษปนเปื้อน หรือเกิดจากพฤติกรรมที่ใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งปัจจัยอย่างหลังนี้ มีผลต่อการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายมาก ๆ และหลายคนก็อาจจะยังไม่ทราบว่า หากภูมิคุ้มกันเราอ่อนแออย่างต่อเนื่อง ก็เสี่ยงที่จะทำให้เป็นมะเร็งได้ด้วย ทำไมถึงเป็นแบบนั้น? แล้วเราจะป้องกันไม่ให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอได้อย่างไร? ได้มาดูกันครับ โดยปกติร่างกายจะมีเซลล์ภูมิต้านทานหรือเซลล์ภูมิคุ้มกัน (Immune System) ที่คอยตรวจสอบและตรวจจับความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกายอยู่เสมออยู่แล้ว ซึ่งหากร่างกายเราปกติดี เซลล์นี้ก็จะทำหน้าที่อย่างแข็งขัน หากเจอความผิดปกติก็จะเข้าไปทำลายเซลล์นั้น ๆ ได้ โดยเฉพาะเซลล์ผิดปกติที่เสี่ยงจะเกิดมะเร็งก็จะกำจัดก่อนที่จะลามไปยังเซลล์อื่น ๆ แต่หากว่าเรามีร่างกายที่อ่อนแอ ระบบเซลล์ภูมิต้านทานก็จะอ่อนแอตามไปด้วย ทำให้มีโอกาสที่เซลล์ภูมิต้านทานไม่สามารถที่จะทำลายเซลล์ผิดปกติได้ จนอาจลุกลามและกลายไปเป็นโรคมะเร็งได้ในที่สุด วิทยาการรักษาผู้ป่วยมะเร็งด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด วิทยาการทางการแพทย์ได้ค้นพบความสำคัญของระบบภูมิคุ้มกันอีกอย่างหนึ่งคือสามารถทำลายเซลล์มะเร็งได้ จนได้ค้นคว้าการรักษาโรคมะเร็งด้วยใช้วิธีภูมิคุ้มกันบำบัด หรือ Immunotherapy โดยใช้หลักการทำงานของระบบภูมิค้มกัน คือ เมื่อมีสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกาย ระบบภูมิคุ้มกันจะถูกกระตุ้นให้กำจัดสิ่งแปลกปลอมนั้น ๆ ออกจากร่างกาย ก่อนที่ร่างกายจะได้รับผลกระทบ โดยการรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัดนี้ จะเป็นการส่งเสริมให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานเพื่อให้สามารถกำจัดหรือควบคุมเซลล์มะเร็งในร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดผลข้างเคียงจากการใช้ยาเคมีบำบัด การฉายแสง ทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จะเห็นได้เลยนะครับว่าระบบภูมิคุ้มกันสำคัญกับร่างกายเรามาก ๆ วิธีป้องกันไม่ให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ 1. ทานอาหารเสริม “เบต้ากลูแคน” วิธีนี้นับว่าเป็นวิธีทางเลือกที่รวดเร็วและได้ประสิทธิภาพ เพราะเบต้ากลูแคนเป็นสารอาหารที่ได้รับการยอมรับว่าสามารถกระตุ้นภูมิค้มกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะเบต้ากลูที่สกัดมาจากผนังเซลล์ของยีสต์ Saccharomyces […]
โควิด-19 กลายมาเป็นโรคประจำถิ่น ต้องเฝ้าระวังอะไรบ้าง?
เมื่อเร็ว ๆ นี้ประเทศไทยได้ประกาศว่าโรคการติดเชื้อโคโรนาไวรัสจาก “โรคระบาดใหญ่” หรือลดระดับลงมาเป็น “โรคประจำถิ่น” ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงมาตรการอีกครั้งในการรับมือกับโรคโควิด-19 ของไทย แต่อย่างที่เราติดตามข่าวสารกันมาตลอด การติดเชื้อยังคงสูงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง แม้อาการผู้ติดเชื้อจะไม่หนักเทียบกับช่วงก่อนหน้า แต่เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงมาตรการในระดับนโยบาย มาดูกันครับว่าเราควรจะต้องรับมือกับการเปลี่ยนแปลงนี้อย่างไร ความแตกต่างของการระบาดใหญ่และโรคประจำถิ่น การระบาดใหญ่ (Pandemic) หมายถึง การระบาดที่แพร่กระจายไปทั่วโลก เช่น ไข้หวัดสเปน, ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009, โควิด-19 ซึ่งมีผู้ติดเชื้อเป็นจำนวนมาก สถานการณ์การแพร่ระบาดสูง แต่สำหรับโรคประจำถิ่น (Endemic) หมายถึง โรคที่มีอัตราป่วยคงที่ในพื้นที่ และมักคาดการณ์ได้ว่าส่วนใหญ่จะพบในพื้นที่ใด ฤดูไหน จำนวนมากน้อยเท่าไร เช่น ไข้เลือดออกในมากกว่า 100 ประเทศ รวมถึงประเทศไทยซึ่งพบผู้ป่วยตลอดทั้งปีและมากขึ้นในฤดูฝน ไข้มาลาเรียในทวีปแอฟริกา หากในพื้นที่นั้นมีการระบาดของโรคประจำถิ่นในระดับสูงจะเรียกว่า Hyperendemic โดยมีเป้าหมายของการบริหารจัดการเพื่อให้เข้าสู่โรคประจำถิ่น คือ การเข้าถึงการดูแลรักษาได้อย่างรวดเร็ว มีคุณภาพ อัตราป่วยตายไม่เกินร้อยละ 0.1 และครอบคลุมการได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นต้องมากกว่าร้อยละ 60 เนื่องจากปัจจุบันประชาชนได้รับวัคซีนเข็มที่ 1 และเข็ม 2 ทะลุ 60% แต่เข็มกระตุ้นยังต่ำอยู่ […]