พ่อแม่ที่มีลูกวัยเรียนต้องประสบปัญหาลูกไม่อยากไปโรงเรียนอย่างแน่นอน ก่อนที่จะมองว่าลูกขี้เกียจหรืออยากจะทำกิจกรรมอย่างอื่นมากกว่า อยากให้พ่อแม่หาสาเหตุว่าทำไมลูกถึงไม่อยากไปโรงเรียน เช่น เด็กที่มีความรู้สึกไม่สบายตัวหรือไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับการเรียนในโรงเรียนได้ โดนเพื่อนแกล้ง มีปัญหากับเพื่อน หรือโดนครูดุมาก นอกจากนี้ยังมีปัจจัยด้านร่างกาย เช่น อาการท้องผูกที่ทำให้ไม่สบายตัว ขาดสมาธิในการเรียน จึงทำให้การเรียนไม่ทันเพื่อน ซึ่งปัญหานี้สามารถแก้ไขได้หากพ่อแม่เข้าใจสาเหตุและใส่ใจในการดูแลลูกอย่างเหมาะสม ปัจจัยอะไรบ้างที่ลูก ไม่อยากไปโรงเรียน 1. ลูกท้องผูก อาการท้องผูกเป็นปัญหาสุขภาพที่ส่งผลต่อความรู้สึกไม่สบายตัวของเด็ก เมื่อเด็กมีอาการท้องผูก อาจรู้สึกเจ็บท้องหรืออึดอัด จนทำให้ไม่อยากไปโรงเรียน การที่เด็กต้องเผชิญกับความไม่สบายตัวนี้ในตอนเช้าก่อนที่จะไปโรงเรียน อาจทำให้เขารู้สึกไม่อยากออกจากบ้าน 2. ลูกไม่มีสมาธิในการเรียน เด็กที่มีอาการสมาธิสั้นหรือไม่สามารถจดจ่อกับการเรียนได้นาน ๆ มักจะรู้สึกว่าการไปโรงเรียนเป็นเรื่องยากและไม่สนุก เด็กอาจรู้สึกว่าตัวเองเรียนไม่ทันเพื่อน หรือล้มเหลวในการทำการบ้าน ซึ่งอาจทำให้พวกเขามีความวิตกกังวลและไม่อยากไปโรงเรียน 3. เรียนไม่ทันเพื่อน เมื่อเด็กไม่สามารถตามเพื่อนในห้องเรียนได้ อาจรู้สึกว่าตัวเองไม่เก่งหรือไม่สามารถเข้าใจเนื้อหาการเรียนได้ดีพอ ทำให้มีความเครียดหรือวิตกกังวล ทำให้พวกเขารู้สึกเบื่อหน่ายและไม่อยากไปโรงเรียนได้เช่นเดียวกัน เพราะพกวเขารู้สึกแปลกแยกจากคนอื่น พ่อแม่ช่วยแก้ปัญหาลูกไม่อยากไปโรงเรียน เพื่อช่วยให้ลูกน้อยมีสุขภาพดีและสามารถไปโรงเรียนได้อย่างมีความสุข การดูแลลูกทั้งทางกายและจิตใจจะสามารถสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้ลูกได้ดีที่สุด การเสริมสร้างสุขภาพทางกาย – ให้ลูกทานสารสกัดจากเบต้ากลูแคน เพื่อช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและกระตุ้นการทำงานของระบบทางเดินอาหาร ซึ่งช่วยลดปัญหาท้องผูกและช่วยให้ลูกน้อยมีสุขภาพที่ดีขึ้น การเพิ่มสารสกัดเบต้ากลูแคนจะช่วยให้ลูกแข็งแรง ไม่ป่วยง่าย ลดอาการรู้สึกไม่สบายตัว และอยากทำกิจกรรมต่าง ๆ […]
“ลูกสมาธิสั้น” ปัญหาที่แก้ไขได้
ปัญหาลูกสมาธิสั้น (ADHD – Attention Deficit Hyperactivity Disorder) เป็นหนึ่งในปัญหาที่พ่อแม่หลายคนกังวลใจ โดยเฉพาะเมื่อเด็ก ๆ มีพฤติกรรมไม่สามารถโฟกัสหรืออยู่นิ่ง ๆ ได้นาน จนกระทั่งส่งผลกระทบต่อการเรียน การเข้าสังคม และการพัฒนาการทางด้านต่าง ๆ ของเด็ก แม้ว่าปัญหานี้อาจจะดูเหมือนแก้ยาก แต่การดูแลและเสริมสร้างสุขภาพสมองให้แข็งแรงสามารถช่วยบรรเทาปัญหานี้ได้ ลูกสมาธิสั้นคืออะไร? อาการที่ทำให้เด็กมีปัญหากับการจดจ่อกับกิจกรรมใด ๆ กิจกรรมหนึ่งเป็นเวลานานไม่ได้ ซึ่งอาจมีอาการแสดงออก เช่น ไม่สามารถฟังคำสั่งได้อย่างครบถ้วน ง่ายต่อการถูกรบกวนจากสิ่งรอบข้าง หรือมีพฤติกรรมเคลื่อนไหวเกินจำเป็นและไม่สามารถควบคุมตัวเอง รวมถึงพ่อแม่และครูที่โรงเรียนก็อาจจะควบคุมไม่ได้ อาการเหล่านี้อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางเคมีในสมองที่ทำให้เกิดความยากลำบากในการควบคุมสมาธิและพฤติกรรม การแก้ไขปัญหาลูกสมาธิสั้น แม้ว่าอาการสมาธิสั้นจะเป็นปัญหาที่ต้องได้รับการดูแลจากผู้เชี่ยวชาญ แต่ยังมีวิธีการเสริมสร้างสมาธิและการพัฒนาอย่างต่อเนื่องที่พ่อแม่สามารถทำได้ที่บ้าน ซึ่งต้องใช้การเอาใจใส่อย่างมาก 1. จัดสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ จัดมุมเรียนหรือเล่นที่เงียบสงบ มีสิ่งรบกวนน้อย เช่น หลีกเลี่ยงการมีทีวี วิทยุ หรือเสียงดังในบริเวณนั้น แต่งห้องโดยใช้สีโทนสว่างนุ่มนวล เช่น สีฟ้าอ่อน หรือสีเขียว เพื่อช่วยให้รู้สึกสงบ และจัดแสงธรรมชาติหรือแสงที่ไม่จ้าจนเกินไป รวมถึงจัดของใช้ที่เป็นระเบียบ เพื่อช่วยลดความสับสนและทำให้หาอุปกรณ์ได้ง่าย 2. สร้างกิจวัตรประจำวันและสร้างบรรยากาศการชื่นชม […]
5 อาหารทำลูกภูมิคุ้มกันต่ำ หยุดตามใจหากไม่อยากให้ลูกป่วย
เรื่องอาหารการกินของลูกน้อยเป็นสิ่งที่พ่อแม่ให้ความสำคัญที่สุด หลาย ๆ ครั้งต้องหาไอเดียใหม่ ๆ ในการคิดค้นเมนูให้ลูกทุกวัน เพราะเด็กยังมีต่อรับรสที่พัฒนาได้ไม่เต็มที่ ทำให้พวกเขาชอบทานอาหารอยู่ไม่กี่ชนิด โดยเฉพาะอาหารรสหวานเพราะต่อรับรสของเด็กรับรสนี้ได้ดีที่สุด ซึ่งพ่อแม่ต้องคอยระวังเพราะหากตามใจลูกให้รับประทานอาหารประเภทเดียวอาจจะส่งผลให้ลูกได้รับสารอาหารที่ไม่ควร และเสี่ยงที่ภูมิคุ้มกันตกและเป็นโรคตามมาได้ 5 อาหารเสี่ยงที่ทำให้ลูกภูมิคุ้มกันต่ำมีอะไรบ้าง 1. อาหารแปรรูปและฟาสต์ฟู้ด (Junk food) อาหารแปรรูปหรืออาหารฟาสต์ฟู้ดมักจะมีสารกันบูด มีสีสังเคราะห์ และไขมันทรานส์ (แม้บางประเทศจะห้ามขายแต่ก็ยังมีอยู่) เช่น ขนมขบเคี้ยว เบเกอรีบางชนิด หรืออาหารที่เก็บได้นาน ๆ ล้วนมีผลเสียต่อสุขภาพของลูก โดยเฉพาะการลดการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน เพราะเสี่ยงที่จะไม่ได้สารอาหารที่เหมาะกับพัฒนาการของลูกได้ การรับประทานอาหารเหล่านี้บ่อย ๆ จะทำให้ร่างกายไม่สามารถตอบสนองต่อเชื้อโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. อาหารที่มีน้ำตาลสูง เช่น ขนมหวาน น้ำอัดลม หรือขนมเค้ก อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นและทำลายระบบภูมิคุ้มกัน ร่างกายจะใช้พลังงานจากน้ำตาลแทนการใช้พลังงานจากแหล่งอาหารอื่น ๆ ส่งผลให้ภูมิคุ้มกันทำงานได้ไม่เต็มที่ มีรายงานว่าเด็กที่รับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของน้ำตาลมีส่วนที่ชะลอพัฒนาทางร่างกายเพราะอินซูลินในน้ำตาลไปยับยั้งฮอร์โมนสำคัญที่ทำให้เด็กเติบโต 3. อาหารที่มีโซเดียมสูง เช่น อาหารสำเร็จรูป ซุปก้อน อาหารแช่แข็ง หรืออาหารที่มีการปรุงรสจัด อาจส่งผลทำให้ร่างกายขาดน้ำและลดประสิทธิภาพของการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน เพราะการบริโภคเกลือมากเกินไปอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคต่าง ๆ ที่มีผลต่อสุขภาพในระยะยาวของเด็กได้ […]