โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) เป็นหนึ่งในโรคที่ส่งผลร้ายแรงต่อสุขภาพและชีวิตประจำวันของผู้ป่วย โดยอาการที่เกิดจากโรคหลอดเลือดสมองสามารถนำไปสู่ภาวะอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือสูญเสียการทำงานของสมองในบางส่วนได้ โรคนี้ไม่เพียงแต่เกิดในผู้สูงอายุเท่านั้น แต่ผู้ที่อยู่ในวัยหนุ่มสาวก็สามารถมีความเสี่ยงได้ หากไม่ได้ดูแลสุขภาพหรือมีพฤติกรรมเสี่ยง เช่น การทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ หรือการไม่ออกกำลังกาย สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดสมองเกิดจากการที่หลอดเลือดในสมองตีบตันหรือแตก ส่งผลให้สมองขาดเลือดไปหล่อเลี้ยง ซึ่งทำให้เนื้อสมองเสียหาย และเกิดการหยุดชะงักของการทำงานในส่วนที่ได้รับผลกระทบ ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองมีหลายปัจจัย เช่น 1. ความดันโลหิตสูง เป็นปัจจัยเสี่ยงหลักที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง เพราะความดันโลหิตสูงจะทำให้หลอดเลือดเกิดการเสื่อมสภาพและเสี่ยงต่อการแตกได้ง่าย หลอดเลือดมีความยืดหยุ่นน้อยเพราะต้องทำงานหนักจากภาวะความดันของร่างกายที่ไม่สมดุล 2. ระดับไขมันในเลือดสูง จากการทานอาหารที่มีไขมันสูงหรือไม่ออกกำลังกายอาจทำให้เกิดการสะสมของไขมันในหลอดเลือด เป็นปัจจัยสำคัญที่เกิดจากพฤติกรรมของผู้ป่วยเองด้วย หลายคนอาจจะไม่รู้ตัวว่าตัวเองมีภาวะไขมันในเลือดสูงเนื่องจากคนที่มีภาวะนี้ไม่จำเป็นต้องเป็นคนอ้วนเสมอไป เพราะไขมันที่กระจายตัวในกระแสเลือดเกิดกับคนที่มีรูปร่างผอมบางก็ได้เช่นกัน 3. การสูบบุหรี่ สารพิษในบุหรี่สามารถทำให้หลอดเลือดแข็งตัวและเสื่อมสภาพได้ เพราะในควันบุหรี่มีสารพิษมากมายหลายชนิด และการสูบเข้าผ่านปอด นอกจากจะเกาะติดปอดแล้วจะปะปนในเลือดทำให้เลือดเป็นพิษ เลือดหนืด ซึ่งส่งผลต่อการไหลเวียนเลือดได้ด้วย 4. การไม่ออกกำลังกาย ส่งผลให้ระบบเลือดไหลเวียนได้ไม่ดี เนื่องจากการขาดการเคลื่อนไหวร่างกายทำให้การไหลเวียนของเลือดในร่างกายช้าลง เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดลิ่มเลือด (blood clots) เสี่ยงที่ลิ่มเลือดอุดตันไปเลี้ยงสมอง 5. โรคเบาหวาน เบาหวานส่งผลให้การไหลเวียนเลือดผิดปกติและหลอดเลือดเสียหายได้ง่าย เนื่องจากไขมันที่สะสมในร่างกายไปสร้างความลำบากในการไหลเวียนเลือด เสี่ยงที่หลอดเลือดจะอุดตันจากไขมัน และทำให้เลือดไหลเวียนได้ยากขึ้น โรคหลอดเลือดสมองในอายุน้อย […]