ใครที่รับประทานเบต้ากลูแคนอยู่ อาจจะมีคำถามว่าสามารถรับประทานกับวิตามินหรือสารอาหารอะไรได้บ้าง? วันนี้มาดูคำแนะนำที่อาจจะทำให้หลายคนที่สนใจในสารสกัดชนิดนี้ตัดสินใจได้ง่ายขึ้น เพราะเบต้ากลูแคนเป็นสารสกัดที่ปลอดภัยสามารถทานคู่กับวิตามินและสารอาหารได้หลากหลายเลยทีเดียว ทำไมต้องรู้ว่าสารอาหารแต่ละประเภททานร่วมกันได้หรือไม่ได้? เนื่องจากปัจจุบันมีสมุนไพรและอาหารเสริมในตลาดจำนวนมาก ซึ่งอาจจะส่งผลให้ผู้ใช้งานเกิดความสับสนได้ว่า วิตามินหรือสารสกัดบางชนิดสามารถไม่สามารถใช้งานร่วมกันได้ หรือการรับประทานในปริมาณที่มากเกินไป จนร่างกายแย่งกันดูดซึม หรือปัญหาใหญ่กว่านั้นวิตามินบางชนิดอาจจะไปยับยั้งการทำงานของยาที่ใช้รักษาโรคประจำตัวได้ ซึ่งอาจจะนำมาสู่ผลข้างเคียงในการรักษาโรค และอาจจะทำให้อาการของโรคแย่ลง นี่จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ใช้สารสกัดหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจำเป็นต้องศึกษาเรื่องนี้ให้ละเอียดครับ เบต้ากลูแคนทานคู่กับอะไรได้บ้าง? 1. วิตามินซี โดยวิตามินซีมีกรดแอสคอร์บิก (Ascorbic Acid) ซึ่งมีส่วนช่วยกระตุ้นการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาว และกระบวนการทำลายเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย ซึ่งจะคล้าย ๆ กับการทำงานของเบต้ากลูแคน หากรับประทานควบคู่กันในปริมาณที่แนะนำต่อวัน จะช่วยบำรุงร่างกายโดยเฉพาะระบบภูมิคุ้มกัน ทั้งยังมีสารต้านอนุมูลอิสระช่วยลดการอักเสบ บำรุงผิวหนังและกระดูกด้วย 2. วิตามินดี เป็นวิตามินที่ช่วยในการดูดซึมแคลเซียม ช่วยเสริมสร้างการทำงานของเซลล์ต่าง ๆ โดยเฉพาะระบบภูมิคุ้มกัน หากรับประทานคู่กับเบต้ากลูแคนในปริมาณที่กำหนดต่อวัน จะยิ่งส่งเสริมการทำงานของกันและกัน ทั้งยังพบว่าวิตามินดีช่วยลดความเสี่ยงที่จะติดโรคจากไวรัสและสิ่งแปลกปลอมได้อีกด้วย ทั้งยังช่วยบำรุงกระดูก ฟัน และช่วยสร้างกล้ามเนื้อ 3. สารสกัดฮอร์ธอร์น เป็นพืชสมุนไพรในตระกูลเบอร์รี ช่วยบำรุงการทำงานของหัวใจ และกระตุ้นให้ระบบเมแทบอลิซึมในร่างกายทำงานได้ดียิ่งขึ้น ช่วยการเผาผลาญ และควบคุมคอเลสเตอรอลได้ด้วย หากรับประทานกับเบต้ากลูแคนจะช่วยส่งเสริมกันในเรื่องลดไขมันในหลอดเลือด ช่วยควบคุมให้ไขมันในร่างกายสมดุลขึ้นทั้งไขมันดีและไขมันไม่ดี กระตุ้นการเผาผลาญ ให้หัวใจทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากขึ้น 4. สารสกัดโคคิวเท็น เป็นสารที่ร่างกายสามารถผลิตได้เอง […]
ตรวจสุขภาพรับต้นปี ต้องตรวจภูมิคุ้มกันด้วย!
กิจกรรมสำหรับคนรักสุขภาพแน่นอนว่าการตรวจ สุขภาพ ร่างกาย รับต้นปีเป็นเรื่องที่ต้องใส่ใจ เพราะสุขภาพเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เป็นสิ่งที่ทำให้เราทราบได้ว่าสุขภาพในภาพรวมของเราเป็นอย่างไร มีอะไรเปลี่ยนแปลง หรือมีความผิดปกติในเรื่องใดบ้าง ที่ต้องใส่ใจในจุดนั้นเพิ่ม หรือวางแผนในการดูแลสุขภาพในอนาคตได้อย่างไร นอกจากสุขภาพแล้ว ปีนี้อยากแนะนำทุกคนตรวจภูมิคุ้มกันเพิ่มด้วยจะยิ่งครอบคลุมมากขึ้นครับ ตรวจสุขภาพ ทำไมต้องตรวจภูมิคุ้มกัน? นับตั้งแต่โลกเผชิญกับการแพร่ระบาดของโคโรนาไวรัส โดยเฉพาะช่วงปลายปีการแพร่ระบาดมักจะกลับมารุนแรง เนื่องจากสภาพอุณหภูมิที่ลดต่ำลงทำให้การแพร่กระจายของไวรัสเป็นไปได้ง่ายขึ้น ดูจากการรายงานการติดเชื้อในประเทศไทยก็นับว่าเพิ่มจำนวนขึ้น ซึ่งการตรวจภูมิคุ้มกันในร่างกายจะทำให้เราทราบได้ว่าตอนนี้ร่างกายของเรามีภูมิคุ้มกันเพียงพอที่จะปกป้องเราให้ห่างไกลจากโรคติดต่อ หรือสิ่งแปลกปลอมอื่น ๆ หรือไม่ โดยเฉพาะหลังจากได้รับวัคซีนโควิด-19 แล้ว ภูมิคุ้มกันที่เพิ่มขึ้นจะค่อย ๆ ลดต่ำลง ซึ่งการตรวจภูมิคุ้มกันจะทำให้ทราบว่าเมื่อไหร่ที่ต้องทำการกระตุ้นด้วยการฉีดวัคซีนอีกครั้งเมื่อไหร่นั่นเองครับ ใครบ้างที่ควรตรวจภูมิคุ้มกัน? – ผู้ที่เคยติดเชื้อโควิด-19 และสงสัยว่าตัวเองอาจจะได้รับเชื้อแต่ไม่แสดงอาการ เพื่อค้นหาภูมิคุ้มกันธรรมชาติที่มี และวางแผนการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น – ผู้ที่ได้รับวัคซีนโควิด-19 เพื่อติดตามการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันหลังได้รับวัคซีน – ผู้ที่มีโรคประจำตัว ควรตรวจภูมิคุ้มกันเพื่อตรวจสอบสภาพร่างกายโดยรวม เพราะการมีโรคประจำตัวอาจจะส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันลดประสิทธิภาพการทำงานได้ เตรียมตัวก่อนตรวจภูมิคุ้มกัน – ไม่ต้องงดน้ำ งดอาหาร แต่หากต้องการตรวจพร้อมตรวจร่างกายประจำปี สามารถปรึกษาสถานพยาบาลที่จะเข้ารับบริการก่อนได้ครับ – ควรตรวจหลังฉีดวัคซีนโควิด-19 ครบโดสแล้วอย่างน้อย 14-28 วัน แต่ไม่ควรเกิน 3 เดือน […]
ลดเสี่ยง long-covid ฟื้นฟูร่างกายหลังอาการป่วย
หลาย ๆ คนที่กำลังอ่านบทความนี้อยู่อาจจะเคยติดเชื้อโควิด-19 มาแล้วจากการระบาดในระลอกใดระลอกหนึ่ง หรือหลายคนก็ยังไม่เคยป่วยเป็นโควิด-19 เลยสักครั้ง เรียกได้ว่าโชคดีและมีภูมิคุ้มกันร่างกายที่แข็งแรงมากเลยครับ แต่สำหรับใครที่เคยป่วยแล้วหลังจากพักฟื้นแล้วหาย อย่าเพิ่งนิ่งนอนใจ เพราะการได้รับเชื้อโคโรนานั้นไม่ใช่แค่ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจของเราเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่ออวัยวะอื่น ๆ ในร่างกายของเราด้วย ต้องฟังทางนี้หากไม่อยากเสี่ยง long-covid ครับ ทำไมภาวะ long-covid ถึงน่าเป็นกังวล สภาวะนี้เป็นอาการที่สามารถพบได้ในผู้ที่เคยได้รับเชื้อโคโรนาไวรัส ซึ่งถือเป็นอาการที่หลงเหลือหลังได้รับเชื้อ แม้จะได้รับการรักษาหายดีแล้ว แต่ผู้ป่วยจะยังคงรู้สึกไม่แข็งแรงเหมือนมี มีความรู้สึกที่แตกต่างจากก่อนป่วย แม้จะทิ้งช่วงการป่วยนานหลายสัปดาห์ก็ตาม เพราะโคโรนาไม่ได้กระทบต่อระบบทางเดินหายใจเท่านั้น จะยังไปทำลายและทำให้อวัยวะต่าง ๆ เช่น ระบบประสาท สมอง หัวใจ และระบบไหลเวียนเลือด ทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพเท่าที่ควร สังเกตอย่างไรว่าตัวเองมีภาวะลองโควิด อาการนี้สามารถสังเกตได้จาก ร่างกายอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ปวดตามกล้ามเนื้อ ตามข้อ มีอาการไอแห้งเรื้อรัง นอนหลับยากขึ้น ผมร่วง ท้องเสีย หรือการรับรู้รสหรือกลิ่นไม่เหมือนเดิม หรือกระทั่งมีอาการทางจิตร่วมด้วย เช่น เป็นกังวลมากกว่าปกติ รู้สึกซึมเศร้า ไม่อยากพบเจอผู้คน เครียด ซึ่งหากมีอาการเหล่านี้สามารถเข้าพบแพทย์ได้เลย เพื่อลดผลกระทบในระยะยาว ฟื้นฟูร่างกายให้ดี ลดเสี่ยงได้ […]