พอโควิด-19 ระบาดไปทั่วโลก ทำหลายคนหลงลืมโรคเดิม ๆ ที่อยู่ใกล้ตัวอย่างโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ไปเสียสนิทเลยใช่มั้ยครับ แต่รู้ไหมครับว่าโรคไม่ติดต่อเรื้อรังนั้น คร่าชีวิตผู้คนทั่วโลกก่อนที่จะมีโควิด-19 มากมาย และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับที่ 1 อีกด้วย นั่นจึงต้องทำให้เราต้องหันกลับมาให้ความสำคัญของโรคนี้กันด้วยครับ ไม่ควรละเลย และต้องให้ความสำคัญมากพอ ๆ กับโรคติดต่อเลยครับ โดยข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกได้คาดการณ์ไว้ว่าในปี พ.ศ. 2573 ประชากรโลกจำนวน 23 ล้านคนจะเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ โดยร้อยละ 85 อยู่ในประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งประชากรส่วนใหญ่จะเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจถึง 17 ล้านคน หรือคิดเป็น 48% ของการเสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อทั้งหมด รองลงมา คือ โรคมะเร็ง โรคถุงลมโป่งพอง โรคปอดเรื้อรัง โรคหอบหืด และโรคเบาหวาน สำหรับประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคกลุ่ม NCDs ในสัดส่วนที่สูงกว่านานาชาติ โดยสาเหตุของการเสียชีวิตกว่า 300,000 รายในปี พ.ศ. 2552 ประเทศไทยมีสถิติการเสียชีวิตและผลกระทบจากกลุ่มโรค NCDs มากกว่าทั้งโลกเสียอีก นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมโรคไม่ติดต่อเรื้อถึงน่าเป็นกังวลกว่าโรคติดต่อเสียอีก ทำไมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังถึงน่ากลัวกว่าโรคติดต่อ? – โรคติดต่อมักจะเกิดจากเชื้อไวรัส […]
พร้อมเปิดแมสก์แล้ว ร่างกายเสริมภูมิพร้อมหรือยัง?
สถานการณ์โควิด-19 ยังถือเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตของเรา ทำให้ต้องติดตามและศึกษามาตรการในการรับมืออยู่ตลอดนะครับ ปัจจุบันมีประกาศให้สามารถถอดหน้ากากอนามัยโดยความสมัครใจได้ เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจที่ซบเซาจากผลกระทบของโรคระบาดที่ผ่านมา เรามาดูกันครับว่ามีกฎเกณฑ์อะไรบ้างที่ต้องรู้ รวมไปถึงวิธีรับมือกับความเสี่ยงที่มากขึ้น และการเตรียมความพร้อมของร่างกายเพื่อรับมือครับ มาตรการที่ต้องรู้ “ถอดหน้ากากอนามัยโดยความสมัครใจ” 1. สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า ได้ตามความสมัครใจ 2. แนะนำสวมหน้ากากอนามัยเมื่อต้องอยู่ร่วมกับผู้อื่นในพื้นที่แออัด อากาศถ่ายเทไม่สะดวก พื้นที่ปิด หรือการรวมกลุ่มคนจำนวนมาก และไม่สามารถเว้นระยะห่างในการใช้พื้นที่ได้ 3. กลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว หรือกลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวที่เกี่ยวกับทางเดินหายใจ ควรสวมหน้ากากอนามัยให้ถูกวิธีตลอดเวลาที่อยู่ร่วมกับผู้อื่น 4. ผู้ติดเชื้อโควิด-19 หรือสัมผัสผู้เสี่ยงสูง ต้องสวมหน้ากากอนามันอย่างถูกวิธีเมื่ออยู่ร่วมกับผู้อื่น เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อไวรัส 5. สำหรับสถานที่สาธารณะ แนะนำหากถอดหน้ากากอนามัย ต้องเว้นระยะห่าง ไม่มีผู้คนพลุกพล่าน หมั่นล้างถือและพกสเปรย์แอลกอฮอล์ ความเสี่ยงที่ยังต้องจับตามอง มีรายงานในหลาย ๆ ประเทศที่มีมาตรการถอดหน้ากากอนามัยแบบสมัครใจ มียอดผู้ติดเชื้อโควิดสูงขึ้น ซึ่งประกอบด้วยหลายปัจจัย อาทิ – ยังมีผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีน โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง เช่น เด็กและผู้สูงอายุ – เนื่องจากโควิด-19 เป็นโรคติดต่อทางเดินหายใจ การไม่สวมแมสก์จึงทำให้เกิดความเสี่ยงที่โรคจะสามารถติดต่อกันง่ายขึ้น – กิจกรรมที่รวมตัวกันอนุญาตให้กลับมาจัดได้ ไม่ว่าจะงานคอนเสิร์ต งานอีเวนต์ มหกรรมการแข่งขันกีฬาต่าง […]
อาหารดิบ-ดอง เช็กยังไงว่าสะอาดและปลอดภัย?
ใครชอบทานอาหารดิบ-ดอง อย่างเช่น ซาซิมิแซลมอน ปูไข่ดอง หรือหอยดอง บ้างครับ? ช่วงนี้เห็นคนไทยฮิตกันมาก ๆ เลย เมื่อก่อนพูดถึงอาหารดิบ ดอง หลายคนอาจจะกลัว แต่ปัจจุบันก็มีกรรมวิธีที่สะอาดและปลอดภัย ก็ทำให้หลายคนเปิดใจรับประทานกันมากขึ้น แต่ถึงอย่างไรอาหารดิบและอาหารดองก็ถือว่าเป็นอาหารที่มีความเสี่ยงต่อเชื้อโรค แบคทีเรีย และจุลินทรีย์บางชนิดที่เป็นอันตรายต่อร่างกายได้นะครับ ชวนเช็กอาหารดิบ ดอง ที่สะอาดและปลอดภัยก่อนทานกัน อันตรายจากอาหารดิบ-ดอง ที่ไม่สะอาด อย่างแซลมอนที่ทานดิบแบบซาชิมิ อาจจะมีการปนเปื้อนของจุลินทรีย์จากสิ่งแวดล้อม ปนเปื้อนจากแหล่งน้ำที่มาจากธรรมชาติ หรือกระทั่งปนเปื้อนจากอุปกรณ์การแล่และการหั่นที่ไม่สะอาดเพียงพอ โดยเฉพาะบริเวณห้องครัวที่ใช้สำหรับประกอบอาหารที่อาจจะมีเชื้อโรคปนเปื้อน หรือคนที่ประกอบอาหารไม่มีสุขลักษณะที่ดีพอ อย่างเช่นปนเปื้อนแบคทีเรียอีโคไล ซึ่งเป็นเชื้อที่พบได้ในอุจจาระของคนและสัตว์ อาจมาจากไม่ล้างมือให้สะอาดภายหลังการเข้าห้องน้ำ เป็นต้น และอาหารไม่ได้ผ่านความร้อนก็ทำให้เชื้อโรคและแบคทีเรียเหล่านี้เข้าสู่ร่างกายของเราได้ง่าย เช็กก่อนทานว่าปลอดภัย สะอาด ก่อนซื้อและรับประทาน – เลือกร้านหรือผู้ผลิตที่มีคุณภาพ และเชื่อถือได้ ต้องเป็นสินค้าที่เป็นเกรดที่ทานดิบได้ เช่น แซลมอนที่ทานดิบได้มีแหล่งที่มาจากนอร์เวย์และญี่ปุ่น เราสามารถสอบถามจากผู้ผลิตหรือผู้ขายได้เลย ว่านำเข้าแซลมอนจากที่ใดมา ต้องมีการแช่แข็งที่อุณหภูมิต่ำกว่า -35 องศาเซลเซียส อย่างน้อย 15 ชั่วโมง หรือ ต่ำกว่า -20 องศาเซลเซียส อย่างน้อย […]