บางคนอาจจะเข้าใจผิดนะครับที่คิดว่าอาหารที่มีไขมันสูงจะต้องเป็นอาหารที่มีส่วนประกอบของน้ำมันเท่านั้น อย่างอาหารทอด หรืออาหารที่มีไขมันเยอะ ๆ แต่ที่จริงแล้วอาหารที่มีไขมันสูงที่หมายถึงคืออาหารที่ทำให้เราเสี่ยงมีไขมันในเลือดสูงต่างหาก แม้ว่าอาหารเหล่านั้นจะไม่มีน้ำมันเลยก็ตาม มาทำความรู้จักอาหารเหล่านั้นให้ดีขึ้น และรับประทานให้ถูกวิธีกันดีกว่าครับ รู้จักกับประเภทไขมันให้ดีขึ้น คอเลสเตอรอล มี 2 ประเภท แบ่งออกเป็น – ไขมันดี (High Density Lipoprotein) หรือ HDL เป็นไขมันที่เปรียบเสมือนพาหนะบรรทุกไลโปโปรตีน (Lipoprotein) ที่มีความหนาแน่นสูง โดยจะขนส่งไขมันในเลือดทั่วร่างกายไปทำลายที่ตับ ไขมัน HDL จึงเป็นไขมันชนิดที่ดีต่อร่างกาย ดังนั้นเมื่อร่างกายมีปริมาณไขมัน HDL สูง ก็จะเป็นผลดีต่อสุขภาพ – ไขมันเลว (Low Density Lipoprotein) หรือ LDLเป็นไขมันที่ติดกับหลอดเลือด ทำหน้าที่ลำเลียงคอเลสเตอรอลทั้งหลายออกจากตับเข้าสู่กระแสเลือดในร่างกาย หากไขมันเลวเหลืออยู่ในกระแสเลือดก็จะสะสมเป็นตุ่มเกาะอยู่ตามผนังของหลอดเลือดทำให้หลอดเลือดแข็งตัว ส่งผลให้เกิดภาวะหลอดเลือดอุดตันได้ ไตรกลีเซอไรด์ คือ ไขมันชนิดหนึ่ง ปกติร่างกายสามารถสังเคราะห์ไตรกลีเซอร์ไรด์ได้เองจากตับหรือการรับประทานอาหารต่าง ๆ แต่การรับประทานอาหารที่ประเภทไขมันในปริมาณมาก ๆ จะทำให้ค่าไตรกลีเซอร์ไรด์สูง เพราะร่างกายสร้างไตรกกลีเซอไรด์แล้วขับเข้าสู่กระแสเลือดมากเกินไป ไตรกลีเซอไรด์ควรมีไม่เกินอย่างละ 200 mg/dl อาหารไม่มัน […]
ไขมันในเลือดสูง ตัวการร้ายสู่สารพัดโรค
หลายคนอาจจะเคยได้ยิน “ระวังไขมันในเลือดสูงนะอันตราย” “กินอันนี้ระวังไขมันในเลือดสูงนะ” แต่อาจจะยังไม่เข้าใจว่าไขมันที่ว่านั้นคืออะไร ทำไมมันถึงอันตายขนาดนั้น และเป็นตัวการร้ายสู่สารพัดโรคได้ยังไง วันนี้จะมาเล่าให้ฟังให้เห็นภาพมากขึ้นครับ ไขมันในเลือดสูงคืออะไร? ไขมันในเลือดสูง เป็นภาวะที่ร่างกายของเรามีไขมันในเลือดมากกว่าปกติ โดยไขมันที่ว่านั้นอาจจะเป็นคอเลสเตอรอล (Cholesterol) หรือ ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) ก็ได้ ภาวะนี้มีชื่อเฉพาะทางว่า Hyperlipidemia ซึ่งส่งผลให้เกิดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ต่อร่างกายของเรา โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวกับหัวใจ หลอดเลือด และเส้นเลือดที่ไปหล่อเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ทั่วร่างกาย ซึ่งหากเกิดการอุดตันหรือเลือดไม่สามารถไหลเวียนได้อย่างปกติ ก็อาจจะอันตรายถึงชีวิตก็ได้ครับ สาเหตุของไขมันในเลือดสูงเกิดจากอะไรได้บ้าง? 1. กรรมพันธุ์ตั้งแต่กำเนิด ทำให้ร่างกายเผาผลาญทำลายไขมันได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ 2. การใช้ยาบางชนิด หรือโรคบางอย่าง เช่น ยาขับปัสสาวะ ยาคุมกำเนิด โรคเบาหวาน โรคต่อมไทรอยด์ทำงานได้น้อย โรคไต เป็นต้น 3. การรับประทานอาหารไม่หลากหลาย ผิดหลักโภชนาการ ทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ได้แก่ – อาหารไขมันสูง เช่น เนื้อสัตว์ที่มีไขมันมาก ของทอด กะทิ – อาหารทีมีส่วนประกอบที่มีน้ำตาลสูง […]
ดูแลตัวเองอย่างไร ให้ปลอดภัยในขณะรอวัคซีน
วัคซีนถือเป็นเครื่องมือสำคัญเครื่องมือเดียวตอนนี้ที่ทั่วโลกใช้รับมือกับโควิด-19 และทุกคนต้องได้รับการฉีดวัคซีนที่มีประสิทธิภาพอย่างรวดเร็ว เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ให้เกิดขึ้น และจะได้กลับไปใช้ชีวิตอย่างปกติได้อย่างเมื่อก่อนนะครับ แต่เพราะขณะนี้วัคซีนที่อนุมัติให้ใช้งานยังคงเป็นวัคซีนฉุกเฉินจึงอาจจะมีผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นได้ เรามาดูกันดีกว่าครับว่าจะต้องดูแลตัวเองยังไงให้ปลอดภัยขณะรอฉีดวัคซีน สำหรับกลุ่มเสี่ยง – คนที่มีโรคประจำตัว ต้องรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ ช่วงนี้อาจจะต้องดูแลตัวเองเพิ่มเป็นสองเท่า พยายามพักผ่อนให้เพียงพอ – คนชรา ที่แข็งแรงดี ไม่ได้มีโรคประจำตัว ผู้ดูแลหรือลูกหลานต้องใส่ใจในเรื่องของสุขภาวะอย่างรอบด้าน เพราะคนกลุ่มนี้อารมณ์อ่อนไหว และค่อนข้างเป็นกังวล ให้ใส่ใจในเรื่องของอาหารและการพักผ่อนให้เพียงพอ – เด็ก แม้เด็กจะมีโอกาสการติดเชื้อที่ค่อนข้างต่ำกว่าผู้ใหญ่ แต่อย่างไรก็ต้องดูแลอย่างดี พยายามให้อยู่ที่บ้าน และทำกิจกรรมตามวัย และรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ สำหรับคนทั่วไป ที่ไม่ได้มีโรคประจำตัว ร่างกายปกติดี ให้ดูแลสุขภาพร่างกายอย่างสม่ำเสมอให้แข็งแรงไว้ ระวังภาวะความเครียดที่ทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย และอาจจะป่วยได้ง่าย ใครที่ทำงานอยู่บ้านก็พยายามใช้ชีวิตให้เป็นปกติ รูทีนเหมือนไปทำงานจะได้ไม่รู้สึกหมดไฟในการทำงาน โดยแนะนำให้ทุกคนพยายามอยู่บ้าน ถ้าจำเป็นต้องออกจากบ้านก็สวมใส่หน้ากากอนามัยสองชั้น พกเจลแอลกอฮอล์ ล้างมือสม่ำเสมอ ไม่ถอดหน้ากากอนามัยในสถานที่ที่มีผู้คนเด็ดขาด เลือกรับประทานอาหารให้มีประโยชน์ หลากหลาย ถ้ามีเวลาให้ออกกำลังกาย สร้างกล้ามเนื้อ เผาผลาญพลังงาน และอาจจะทานอาหารเสริมที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน อย่างเบต้ากลูแคนในทุกวัน เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันปกป้องเราอยู่เสมอ การเตรียมตัวก่อนไปฉีดวัคซีนต้องทำอะไรบ้าง? คำแนะนำจากกระทรวงสาธารณสุขได้มี 7 ข้อ ดังนี้ […]