การที่ลูกมีสมาธิที่สั้นไม่ใช่เรื่องผิดปกติที่น่าเป็นกังวลนะครับ เพราะเด็ก ๆ ทุกคนสามารถมีอาการนี้ได้โดยเฉพาะเด็กในช่วงวัยอนุบาลหรือประถมศึกษา เพราะธรรมชาติของเด็กคือความซุกซน มีพลังงานล้นเหลือ การวิ่งเล่นไปมา หรือการไม่สามารถจดจ่อกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้ เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้และพ่อแม่สามารถช่วยลูกแก้ไขเรื่องนี้ มาลองดูวิธีเหล่านี้กันครับ 1. กำหนดกิจกรรมประจำวันอย่างแน่นอน ตั้งเวลาในการทำกิจกรรมให้ลูกอย่างแน่นอน เพื่อให้พวกเขาเรียนรู้และจดจำเวลาในชีวิตของพวกเขาได้ดีขึ้น ช่วงแรกพ่อแม่อาจจะเหนื่อยหน่อยเพราะต้องจดจำตารางด้วยเช่นกัน ควรทำตารางอย่างละเอียดตั้งแต่ตื่นนอนไปจนถึงเข้านอนในทุกวัน 2. จดจ่อกับสิ่งที่เด็กต้องทำลดสมาธิสั้น การทำกิจกรรมแต่ละอย่างควรทำอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เวลารับประทานอาหารก็ไม่ควรดูทีวีหรือเล่นไอแพดไปด้วย อ่านหนังสือก็ไม่ควรมีเสียงดังรบกวนหรืออนุญาตให้ใช้โทรศัพท์มือถือหรือไอแพดไปด้วย การให้ลูกทำอย่างเดียวอย่างหนึ่งจะช่วยให้เขาโฟกัสสิ่งที่ทำอยู่ได้ดีขึ้น 3. ชื่นชมและให้รางวัล คำชื่นชมสำหรับเด็กมีคุณค่าทางใจกับพวกเขาอย่างมาก ยิ่งมีรางวัลเล็ก ๆ น้อย ๆ เขาจะรู้สึกประสบความสำเร็จกับสิ่งที่เขาทำ ครั้งหน้าเขาจะตั้งใจทำให้ดียิ่งขึ้น พ่อแม่ควรใส่ใจกับของรางวัลแม้เพียงเล็กน้อยแต่ต้องเป็นสิ่งที่เขารู้สึกว่าคู่ควรและมีค่าที่เขาได้รับมัน 4. หากลูกว่อกแว่กควรบอกให้เขารู้ตัวแทนที่จะตำหนิ หากมีช่วงที่เขาว่อกแว่กกับสิ่งที่ต้องทำ บอกให้เขารู้ตัว เช่น สะกิด ตบไหล่เบา ๆ หรือกระซิบ เพื่อให้เขารู้สึกว่าเรื่องที่ทำอยู่ไม่ใช่เรื่องผิดใหญ่โต สามารถแก้ไขและตั้งใจกับสิ่งที่ควรทำ หากพ่อแม่ตำหนิเขาจะรู้สึกเสียความมั่นใจ ไม่แน่ใจว่าสิ่งที่ทำอยู่ดีหรือไม่ และกลัวที่จะต้องทำต่อ 5. เปิดโอกาสให้เด็กได้ทำในสิ่งที่ชอบ ในตารางแต่ละวันพ่อแม่ควรเปิดโอกาสให้เขาได้ทำในสิ่งที่ชอบ เช่น ดูการ์ตูน เล่นเกม เล่นโทรศัพท์มือถือ เล่นกีฬา […]
ทำไมไม่ควรหายาฆ่าเชื้อทานเองเมื่อมีอาการป่วยเล็กน้อย?
แม้การซื้อยารับประทานเองจะเป็นเรื่องที่สามารถทำได้ แต่หลาย ๆ คนอาจจะไม่ทราบว่าการซื้อยาแก้อักเสบหรือยาปฏิชีวนะรับประทานเองในขณะที่ป่วยเล็กน้อยอย่างไข้หวัด เจ็บคอ หรือเป็นแผลอักเสบ เป็นเรื่องที่ผู้ป่วยควรระมัดระวัง และเภสัชกรหรือร้านขายยาต้องซักประวัติก่อนขายยา เพราะการรับประทานยาฆ่าเชื้อแบบผิดวิธีอาจจะทำให้เกิดผลกระทบระยะยาวได้ ยาฆ่าเชื้อไม่ใช่ยาแก้อักเสบ เวลาเป็นหวัด เจ็บคอ การซื้อยาแก้อักเสบมารับประทานเอง เพราะเข้าใจว่าทานยานี้แล้วอาการจะดีขึ้น และหายเป็นปกติได้ไวขึ้น แต่ความจริงแล้วหวัดเกิดจากการติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย ซึ่งยาฆ่าเชื้อหรือยาปฏิชีวนะนั้นเป็นการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย ไม่สามารถกำจัดเชื้อไวรัสได้ อาการอักเสบของเนื้อเยื่อเวลาเจ็บคอหรือเป็นหวัด สามารถทานยาแก้ปวด ยาลดไข้ ฉะนั้นยาแก้อักเสบและยาปฏิชีวนะจึงไม่ใช่ยาตัวเดียวกันนั่นเอง โดยกลุ่ม 3 โรคที่ไม่จำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะ เช่น โรคหวัด แผลสด และโรคท้องร่วง หากใช้ยาฆ่าเชื้อผิดวิธีจะเสี่ยงอะไรบ้าง? 1. การแพ้ยา เพราะยาปฏิชีวนะที่ไม่ได้จ่ายโดยแพทย์อาจจะสุ่มเสี่ยงที่จะเกิดการแพ้ เพราะไม่ได้ตรวจวินิจฉัยโรคอย่างชัดเจน อาจจะมีอาการคัน มีผื่นขึ้นตามร่างกาย หากเป็นมากอาจจะเป็นแผล มีรอยไหม้ หรือรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ 2. เชื้อดื้อยา การกินยาเองโดยไม่จำเป็นหรือเกินความจำเป็น ทั้งยังกินไม่ครบโดสตามกำหนด อาจจะทำให้เชื้อแบคทีเรียกลายพันธุ์ หรือกำจัดไม่หมด หลงเหลืออยู่ภายในร่างกายได้ 3. อาจจะเกิดโรคแทรกซ้อน ยาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อแบคทีเรียทั้งที่ก่อโรคและแบคทีเรียที่มีประโยชน์ในร่างกาย อย่างแบคทีเรียช่วยย่อยในลำไส้ ซึ่งอาจจะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้นั่นเอง ป้องกันป่วยเล็กน้อยด้วยการเสริมภูมิคุ้มกันในร่างกาย แม้การป่วยเล็กน้อยอย่างไข้หวัด เจ็บคอ หรืออ่อนเพลีย […]
ลดผลข้างเคียง PM2.5 ลดเสี่ยงหวัด จากเอลเดอร์เบอร์รี
ต้องยอมรับว่า PM2.5 ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของหลาย ๆ คนมากเลยนะครับ โดยเฉพาะคนที่เป็นพ่อแม่ที่ต้องห่วงสุขภาพตัวเองแล้ว ยังต้องห่วงสุขภาพของลูกน้อยอีก ถ้าเป็นไปได้คงอยากให้ลูกอยู่บ้านไม่อยากให้ออกไปเผชิญกับฝุ่น แต่การไม่ให้ลูกออกไปไหนเลยก็จะกระทบกับพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของพวกเขา วันนี้จะมาแนะนำให้พ่อแม่รู้จัก “สารสกัดจากเอลเดอร์เบอร์รี” ที่จะเข้ามาช่วยป้องกันผลกระทบ PM2.5 ในเด็กกันครับ ทำไม PM2.5 ถึงส่งผลข้างเคียงต่อเด็กมากกว่า? มีการศึกษาว่าระดับฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ที่มีความเข้มข้นขึ้น ส่งผลร้ายต่อเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ โดยเฉพาะเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี จะได้รับผลกระทบมากเป็นพิเศษ โดยปกติเด็กจะมีอัตราการหายใจที่ถี่กว่าผู้ใหญ่ ซึ่งจะทำให้เด็กสูดฝุ่น PM2.5 เข้าไปได้มากกว่า ด้วยขนาดที่เล็กมากเด็กฝุ่นจิ๋วเหล่านี้จึงสามารถเข้าไปสู่กระแสเลือดผ่านการหายใจได้ ส่งผลต่อเซลล์ของอวัยวะต่าง ๆ โดยเฉพาะสมองและหัวใจ ส่งผลต่อพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของเด็ก การเรียนรู้ และการใช้ชีวิตในระยะยาวได้ PM2.5 ส่งผลกระทบต่อภูมิคุ้มกันในเด็ก โดยเฉพาะเด็กที่มีโรคประจำตัวตั้งแต่กำเนิด เช่น โรคภูมิแพ้ หอบหืด หรือโรคทางเดินหายใจอื่น ๆ จะไวต่อสิ่งเร้ามาก โดยเฉพาะฝุ่นขนาดเล็ก เมื่อหายใจเข้าไปอาจจะไปสะสมและทำให้เกิดอาการหนักกว่าเด็กทั่วไป นอกจากนี้เด็กที่ไม่มีโรคประจำตัวก็อาจจะส่งผลให้ภูมิคุ้มกันในร่างกายต่ำลง และเจ็บป่วยง่าย โดยเฉพาะเป็นหวัดหรือเป็นไข้ […]