ผู้ป่วยโรคเบาหวาน อย่าละเลย ก่อนเสี่ยงไตวายเรื้อรัง

โรคเบาหวาน

แม้ในไทยจะมีผู้ป่วยโรคเบาหวานกว่า 4.8 ล้านคน และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แต่เชื่อว่าหลายคนมองว่าโรคนี้ไม่ได้มีความอันตราย เพราะมีวิธีการรักษาด้วยนวัตกรรมทางการแพทย์ที่ก้าวหน้า ผู้ป่วยหลายคน หรือกระทั่งคนที่ยังไม่เป็นโรคนี้ก็ละเลยในการดูแลตัวเอง ไม่ควบคุมปริมาณน้ำตาลในเลือด ซึ่งทำให้อวัยวะที่ได้รับผลกระทบต่อมาคือไต และเสี่ยงที่จะเป็นโรคไตเรื้อรังแทรกซ้อนเข้ามาอีก

ทำไมเป็นโรคเบาหวานแล้วเสี่ยงโรคไตเรื้อรัง

โรคเบาหวานจะมีการสะสมน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคไตแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวาน คือ ระดับน้ำตาลในเลือกที่สูงมากนั้นก่อให้เกิดสารพิษตัวหนึ่งที่ไปกระตุ้นกลไกต่าง ๆ ที่ทำลายเนื้อไต จนไตไม่สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ การกรองของเสียก็ลดลง รวมไปถึงความสามารถในการกักเก็บโปรตีนก็เสื่อมลงอย่างช้า ๆ จนทำให้เป็นโรคไตเรื้อรังได้ และหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีก็เสี่ยงที่ผู้ป่วยจะไตวายเฉียบพลัน และทำให้เสียชีวิตได้เลยนะครับ

สังเกตอย่างไรว่ามีโรคไตเรื้อรังแทรกซ้อนผู้ป่วยโรคเบาหวาน

ในช่วงแรกจะสังเกตได้ยากเพราะมักไม่ค่อยแสดงอาหาร ผู้ป่วยโรคเบาหวานต้องไปพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอเพื่อตรวจโปรตีนในปัสสาวะ แต่หากผู้ป่วยโรคเบาหวานรู้สึกถึงความผิดปกติ เช่น มีอาการบวมที่เท้า บวมที่แขน มือ หรือเริ่มบวมไปทั่วตัว ก็อาจจะเสี่ยงที่จะเป็นโรคแทรกซ้อนไตเรื้อรังได้ หรือหากเลยไปถึงที่เป็นไตวายแล้ว จะมีอาการ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดหัว อ่อนเพลีย ชาตามปลายมือและเท้า หายใจหอบ ซึม ชัก หรือกระทั่งหมดสติ

ป้องกันผู้ป่วยโรคเบาหวานจากภาวะแทรกซ้อนโรคไตเรื้อรังได้อย่างไร?

การควบคุมปริมาณน้ำตาลในเลือดคือปัจจัยสำคัญในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคไตเรื้อรัง เพราะหากสามารถควบคุมน้ำตาลในเลือดอยู่ในระดับที่ปกติได้ อวัยวะต่าง ๆ เช่น หลอดเลือด หัวใจ และไตก็จะสามารถทำงานได้อย่างปกติ ซึ่งการเปลี่ยนพฤติกรรมมีส่วนสำคัญอย่างมาในการป้องกัน เช่น

– การรับประทานสารสกัดจากเบต้ากลูแคน นอกจากจะช่วยส่งเสริมให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันที่มีประสิทธิภาพแล้ว ยังสามารถช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด รวมไปถึงไขมันคอเลสเตอรอลให้คงที่ ช่วยให้หลอดเลือดไม่ตีบตัน เพิ่มเรื่องการเผาผลาญ ทั้งยังมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยป้องกันโรคมะเร็งได้ด้วย

– การเลือกรับประทานอาหาร ต้องงดอาหารที่มีน้ำตาลสูง และอาหารที่มีปริมาณโซเดียมสูง เน้นทานอาหารรสอ่อน หรือปรุงน้อย เลือกทานโปรตีนไขมันน้อย และคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เช่น ข้าวไม่ขัดสี ธัญพืชต่าง ๆ รวมถึงผักและผลไม้ เพื่อควบคุมปริมาณน้ำตาลในเลือด

– พักผ่อนให้เพียงพอ และออกกำลังกายตามความเหมาะสม การนอนให้เพียงพอก็มีส่วนในการควบคุมปริมาณน้ำตาลในเลือดได้เช่นกันนะครับ หลายคนอาจจะละเลยเรื่องนี้ ที่สำคัญควรหาเวลาในการออกกำลังกายบ้างตามความเหมาะสมของร่างกาย หากใครน้ำหนักตัวเยอะก็อาศัยการเดินหรือปั่นจักรยาน ส่วนใครที่เพิ่งเริ่มออกจากกำลังกายก็ใช้วิธีนี้ได้เหมือนกัน เพราะให้กล้ามเนื้อที่สะสมไขมันและน้ำตาลได้ถูกเผาผลาญและนำพลังงานไปใช้ ควบคุมปริมาณน้ำตาลในเลือดได้อีกทางหนึ่ง

หากใครที่มีคนในครอบครัวเป็นโรคเบาหวาน ต้องช่วยกันดูแลกิจวัตรประจำวัน ไม่ควรปล่อยให้น้ำตาลในเลือดสูงอย่างต่อเนื่อง เพราะภาวะแทรกซ้อนน่ากลัวกว่าโรคเบาหวานนะครับ

Leave a comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

TOP