ภาวะกล้ามเนื้อสลาย (Muscle Wasting) คือภาวะที่ร่างกายสูญเสียมวลกล้ามเนื้ออย่างรวดเร็ว ซึ่งมักเกิดในผู้ที่มีอาการป่วยเรื้อรังหรือพักฟื้นจากการเจ็บป่วย ภาวะนี้เป็นปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรง เนื่องจากกล้ามเนื้อมีส่วนสำคัญในการเคลื่อนไหว โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่อยู่ในช่วงพักฟื้น การสร้างความแข็งแรงให้กับร่างกาย การเผาผลาญพลังงานให้สอดคล้องกัน เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ การป้องกันภาวะนี้จึงเป็นสิ่งที่สำคัญในการดูแลผู้ป่วยอย่างมาก มาดูว่าเราจะสามารถป้องกันได้อย่างไร ปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อสลายในผู้ป่วย – การขาดสารอาหาร โดยเฉพาะการขาดโปรตีนที่จำเป็นต่อการสร้างและซ่อมแซมเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ ผู้ป่วยหลายคนปฏิเสธการรับประทานโปรตีนด้วยเหตุผลที่เคี้ยวยาก ย่อยยาก – การเคลื่อนไหวน้อยลง ผู้ป่วยที่ต้องนอนพักฟื้นหรือเคลื่อนไหวได้น้อย จะมีการสลายตัวของกล้ามเนื้อสูงขึ้น – การอักเสบและการเจ็บป่วยเรื้อรัง เช่น โรคมะเร็ง โรคปอดเรื้อรัง หรือการติดเชื้อบางชนิด ทำให้การใช้พลังงานของร่างกายเพิ่มขึ้นและเกิดการสลายกล้ามเนื้อเพื่อเป็นแหล่งพลังงานของร่างกาย ยิ่งผู้ป่วยที่ขยับตัวน้อยหรือผู้ป่วยติดเตียง ยิ่งมีโอกาสที่จะเกิดภาวะกล้ามเนื้อสลาย วิธีป้องกันภาวะกล้ามเนื้อสลาย 1. การบริโภคโปรตีนให้เพียงพอเป็นปัจจัยหลักในการรักษามวลกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่อยู่ในช่วงพักฟื้น ควรรับประทานโปรตีนประมาณ 1.2 – 2 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน เพื่อช่วยสร้างและซ่อมแซมเนื้อเยื่อ การเลือกโปรตีนจากพืชเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญสำหรับผู้ป่วยที่อาจจะมีภาวะย่อยยาก โดยเฉพาะโปรตีนจากพืช เช่น ถั่วลันเตา เมล็ดฟักทอง ข้าวกล้อง ไม่เพียงแต่ให้โปรตีนคุณภาพดี แต่ยังมีไฟเบอร์ […]
โปรตีนจากพืชช่วยดูแล “กรดไหลย้อน” ช่วยการรักษาที่ยั่งยืนมากขึ้น
กรดไหลย้อน เป็นหนึ่งในโรคฮิตที่หลาย ๆ คนประสบปัญหา โดยเฉพาะพนักงานออฟฟิศหรือวัยกลางคน ส่วนหนึ่งเกิดจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารไม่เป็นเวลา ทำให้หูรูดของหลอดอาหารทำงานไม่ปกติตามไปด้วย มาดูกันครับว่าโปรตีนจากพืชจะช่วยดูแลเรื่องกรดไหลย้อนได้อย่างไรบ้าง ภาวะกรดไหลย้อนคืออะไร ภาวะที่น้ำย่อยจากกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับเข้าสู่หลอดอาหาร ทำให้เกิดอาการไม่สบายต่าง ๆ เช่น แสบร้อนกลางอก เรอเปรี้ยว และรู้สึกเหมือนมีก้อนในลำคอ การจัดการอาหารและปรับพฤติกรรมการกินมีบทบาทสำคัญในการช่วยควบคุมอาการกรดไหลย้อน กรดไหลย้อนเกิดขึ้นได้อย่างไร สาเหตุหลักของกรดไหลย้อนมาจากความผิดปกติในการทำงานของกล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหารส่วนล่าง (Lower Esophageal Sphincter – LES) เมื่อกล้ามเนื้อนี้ทำงานไม่เต็มที่หรือคลายตัว น้ำย่อยและกรดในกระเพาะอาหารสามารถไหลย้อนขึ้นไปในหลอดอาหารได้ นอกจากนี้การบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม เช่น อาหารมัน อาหารทอด คาเฟอีน และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยังเป็นปัจจัยกระตุ้นให้อาการกรดไหลย้อนทวีความรุนแรงขึ้นด้วย โปรตีนจากพืชช่วยเรื่องอาการกรดไหลย้อนได้ 1. ย่อยง่ายกว่าโปรตีนจากสัตว์ โปรตีนจากพืช เช่น ถั่วลันเตา ข้าวกล้อง เมล็ดฟักทอง ฯลฯ ย่อยง่ายกว่าโปรตีนจากสัตว์ เนื่องจากไขมันอิ่มตัวในเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อแดงหรือเนื้อสัตว์ที่ผ่านการแปรรูป อาจทำให้กระเพาะอาหารต้องผลิตกรดมากขึ้นเพื่อย่อย ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดอาการกรดไหลย้อนมากขึ้น 2. ลดความดันในกระเพาะอาหาร โปรตีนจากพืชมีปริมาณไฟเบอร์สูงช่วยให้การย่อยอาหารเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดโอกาสที่อาหารจะอยู่ในกระเพาะอาหารนานเกินไป […]
ผู้ป่วยที่มีภาวะแพ้อาหาร โปรตีนจากพืชช่วยฟื้นฟู
ภาวะแพ้อาหารเป็นปัญหาสุขภาพที่ส่งผลกระทบต่อคนหลายล้านคนทั่วโลก โดยเฉพาะการแพ้นมวัวที่เป็นเรื่องที่พบได้บ่อยมาก ผู้ที่มีภาวะแพ้นมวัวโดยเฉพาะในเด็ก อาจจะเสี่ยงต่อภาวะการขาดแคลนสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย โดยเฉพาะโปรตีน แต่ปัจจุบันโปรตีนจากพืชสามารถเป็นทางเลือกที่ดีในการช่วยฟื้นฟูและเสริมสร้างสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภาวะแพ้อาหารแพ้นมวัวและผลกระทบต่อสุขภาพ การแพ้นมวัวเกิดจากการที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายตอบสนองผิดปกติต่อโปรตีนนมวัว เช่น เคซีนและเวย์ ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการแพ้ต่างๆ เช่น ผื่นคัน ท้องอืด ท้องเสีย หายใจไม่ออก และอาจรุนแรงถึงขั้นช็อกได้ การหลีกเลี่ยงนมวัวและผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของนมวัวจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้ที่มีภาวะแพ้นี้ ทานโปรตีนจากพืชทดแทน: ทางเลือกที่ปลอดภัยและมีประโยชน์ โปรตีนจากพืชเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยและมีประโยชน์สำหรับผู้ที่มีภาวะแพ้นมวัว เพราะโปรตีนจากพืชไม่มีโปรตีนที่กระตุ้นการแพ้ที่พบในนมวัว โดยสามารถบริโภคร่วมกับการทานอาหารให้ครบตามโภชนาการ ก็จะช่วยให้ได้รับโปรตีนตามที่ร่างกายต้องการ ที่สำคัญโปรตีนจากพืชยังมีประโยชน์กับสุขภาพและสุขภาวะในหลาย ๆ ด้าน เช่น 1. ลดความเสี่ยงต่อการแพ้ โปรตีนจากพืชไม่มีโปรตีนที่กระตุ้นการแพ้ในผู้ที่มีภาวะแพ้นมวัว จึงสามารถรับประทานได้อย่างปลอดภัย โดยไม่ต้องกังวลเรื่องการแพ้ 2. เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน โปรตีนจากพืชบางชนิด เช่น ถั่วเหลือง ถั่วลันเตา ข้าวกล้อง เมล็ดฟักทอง ควินัว และอัลมอนด์ มีสารต้านอนุมูลอิสระและวิตามินที่ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทั้งยังช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเรื้อรังได้ เช่น โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคที่เกี่ยวกับภูมิคุ้มกัน เป็นต้น 3. ช่วยในการย่อยอาหาร โปรตีนจากพืชมีใยอาหารสูงที่ช่วยในการย่อยอาหารและการทำงานของลำไส้ […]