เป็นความจริงที่ว่าความอ้วนหรือโรคอ้วนสามารถเป็นประตูสู่โรคเรื้อรังต่าง ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือด และโรคไขมันในหลอดเลือดได้ แต่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าคนที่มีรูปร่างผอมบางก็สามารถเป็นโรคที่เกี่ยวกับไขมันได้เหมือนกันนะครับ และคนที่มีรูปร่างผอมหรือสมส่วนมักคิดว่าตัวเองสุขภาพดีแล้วจึงละเลย และไม่สังเกตสุขภาพโดยรวมของตัวเอง มาดูกันครับว่าทำไมคนผอมเป็นโรคไขมันสูงได้ และจะมีวิธีสังเกตตัวเองอย่างไรบ้าง? ไม่อ้วนแต่ทำไมไขมันสูง? ความเชื่อที่หลาย ๆ อาจจะเข้าใจผิด เพราะจริง ๆ แล้วการที่มีไขมันในเลือดสูงไม่เกี่ยวกับไขมันที่อยู่ใต้ผิวหนัง แต่คือไขมันที่ละลายอยู่ในกระแสเลือด ซึ่งไม่ว่าจะอ้วน ผอม หรือน้ำหนักสมส่วนก็สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งนั้นครับ ซึ่งการเกิดภาวะไขมันในกระแสเลือดสูง หมายถึงระดับคอเลสเตอรอลหรือระดับไตรกลีเซอร์ไรด์สูงกว่าปกติ หรืออาจเกิดจากไขมันทั้ง 2 ชนิด ซึ่งไขมันเหล่านี้จะเข้าไปเกาะอยู่ตามผนังหลอดเลือด และเสี่ยงที่จะเกิดการอุดตันในหลอดเลือด ทำให้เลือดไหลเวียนได้ยากขึ้น และหากมีไขมันในกระแสเลือดสูงมาก ๆ เสี่ยงที่จะทำให้เกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลันได้เลยทีเดียว ไขมันในเลือดสูงเกิดจากอะไรได้บ้าง? ปัจจัยหลัก ๆ มี 2 สาเหตุ คือ พันธุกรรมและคนในครอบครัวมีประวัติไขมันในเลือดสูง หรือป่วยเป็นโรคบางชนิดที่ทำให้ไทรอยด์ทำงานน้อยกว่าปกติ เช่น โรคตับ โรคเบาหวาน ส่วนอีกสาเหตุคือเกิดจากพฤติกรรมในชีวิตประจำวันของตัวเอง ได้แก่ – ชอบทานอาหารที่มีไขมันในปริมาณสูง เช่น ของทอด อาหารแปรรูป เนื้อสัตว์ติดมัน – […]
รวมพฤติกรรมที่ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงต้องเลิกให้ได้
โรคความดันโลหิตสูงนับเป็นโรคเรื้อรังที่เมื่อเป็นแล้วอาจจะเสี่ยงที่จะต้องเป็นไปตลอดชีวิต เพราะตัวโรคจะขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของผู้ป่วย หากสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ ก็อาจจะทำให้ตัวโรคบรรเทาและผู้ป่วยสามารถอยู่กับโรคได้โดยไม่ต้องใช้ยา แต่หากไม่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ ก็อาจจะต้องกินยาไปตลอดชีวิต ฉะนั้นมาดูกันว่าพฤติกรรมอะไรที่ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตต้องเลิกให้ได้ 1. อาหารไขมันสูง น้ำตาลสูง อาจจะเป็นเรื่องเลี่ยงยาก เพราะอาหารประเภทนี้มักถูกปากและราคาไม่แพง แต่หากผู้ป่วยความดันโลหิตสูงยังไม่ลดหรือเลี่ยง ก็จะยิ่งทำให้ความดันสูงขึ้น จากปริมาณน้ำตาลที่แปรเปลี่ยนไปเป็นไขมัน และไปเกาะตามผนังหลอดเลือดทำให้ความดันสูงขึ้น เพราะต้องลำเลียงเลือดไปหล่อเลี้ยงในร่างกายยากขึ้น หากผู้ป่วยยังรับประทานอาหารประเภทนี้ต่อเนื่องก็ยังยิ่งอาการแย่ลง 2. น้ำหนักตัวมาก แต่ยังไม่พยายามคุมอาหาร เหตุผลนี้คล้ายกับข้อที่แล้ว ซึ่งโรคอ้วนเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง หากรู้ตัวว่าเป็นความดันร่วม ต้องสร้างวินัยในการรับประทานมากขึ้น ลดอาหารไขมันสูง อาหารจำพวกแป้ง น้ำตาล ของทอด ของมัน อาหารแปรรูป อาหารรสจัด เน้นทานโปรตีนไขมันต่ำ หรือโปรตีนจากพืช และเพิ่มผักและผลไม้ในอาหารทุกมื้อ จะเป็นการควบคุมน้ำหนักอย่างได้ผล และไม่มีผลข้างเคียงกับร่างกาย ที่สำคัญห้ามอดอาหารเด็ดขาด เพราะผู้ป่วยความดันหากอดอาหารความดันจะยิ่งสูงขึ้น อาจจะทำให้หน้ามืด เป็นลมหรือหมดสติได้ 3. หาวิตามินทานเสริม ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถทานวิตามินและอาหารเสริมได้ เช่น สารสกัดจากฮอร์ธอร์นและโคคิวเท็น สารอาหารทั้งสองชนิดสามารถช่วยขยายหลอดเลือด และกล้ามเนื้อหลอดเลือดได้ ซึ่งจะช่วยให้หลอดเลือดทำงานได้ดีขึ้น ช่วยลดการอุดตันของไขมันในหลอดเลือดที่เป็นอุปสรรคต่อการไหลเวียนของเลือดได้ ทั้งนี้ยังช่วยให้หัวใจและอวัยวะสำคัญอื่น ๆ ในร่างกายทำงานได้ดีขึ้น ที่สำคัญช่วยควบคุมคอเลสเตอรอลและระดับความดันในร่างกายได้อีกด้วย 4. […]
ไขมันทรานส์ ส่วนผสมร้ายทำหลอดเลือดอุดตัน!
แม้ไขมันจะเป็นสิ่งที่หลายคนไม่พึงปรารถนา เพราะคิดว่ามีข้อเสียมากกว่าข้อดี แต่ถึงอย่างไรร่างกายของเราก็ยังต้องการสารอาหารจากไขมันนะครับ ซึ่งไขมันในแต่ละประเภท ไม่ว่าจะเป็นไขมันอิ่มตัว ไขมันไม่อิ่มตัว หรือไขมันทรานส์ ต่างก็มีข้อดีและข้อเสียในตัวของมันเอง แต่ไขมันทรานส์ที่นับเป็นที่ไม่ดีต่อสุขภาพ ยิ่งบริโภคมากเท่าไหร่ก็จะส่งผลเสียต่อร่างกายเท่านั้น เพราะไปเพิ่มไขมันไม่ดี (LDL) ให้ร่างกาย ซึ่งส่งผลต่อการทำงานของหลอดเลือดและหัวใจด้วย ไขมันทรานส์คืออะไร? ไขมันทรานส์พบได้ในสัตว์เพียงเล็กน้อย ทั้งนมและผลิตภัณฑ์จากนมของวัวและควาย ไขมันทรานส์ที่เกิดจากอุตสาหกรรม เกิดจากการเติมไฮโดรเจนลงไปในกระบวนการผลิตน้ำมันหรือไขมันจากพืชไม่อิ่มตัว เรียกกระบวนการนี้ว่า hydrogenation ทำให้น้ำมันพืชอยู่ในสถานะที่คงตัวได้ในอุณภูมิห้อง ทนความร้อน ไม่เหม็นหืน เก็บได้นานขึ้น เช่น – เนยเทียม หรือมาการีน – เนยขาว – ผลิตภัณฑ์เบเกอร์รี เช่น พาย เค้ก เป็นเต้น – วิปครีม – ครีมเทียม การทานไขมันทรานส์ส่งผลให้เกิดโรคอะไรได้บ้าง? – โรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด – โรคไขมันในหลอดเลือดสูง – โรคหลอดเลือดสมอง – โรคหัวใจ และโรคที่เกี่ยวเนื่องกับหัวใจ – โรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน – […]