เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นผลกระทบที่ตามมาไม่เพียงแค่ทำให้รู้สึกไม่สบายตัว หลายคนที่มีภูมิคุ้มกันต่ำยังอาจจะส่งผลให้ป่วยง่าย โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัวจะได้รับผลกระทบมากกว่าคนทั่วไป อย่างผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิต และโรคปอด ซึ่งอาจเสี่ยงต่อการเสียชีวิตเฉียบพลันได้ มาเข้าใจถึงสาเหตุและการป้องกันกันครับ โรคประจำตัวการเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคลมแดด (Heat Stroke) ภาวะลมร้อน หรือ การเกิดโรคลมแดด (Heat Stroke) จะเกิดขึ้นเมื่อร่างกายไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิได้เหมาะสม เนื่องจากอากาศภายนอกร่างกายที่สูงจัดจนเกิดไป ซึ่งอาจนำไปสู่อาการรุนแรง เช่น วิงเวียนศีรษะ ชัก และอาจส่งผลให้หัวใจวายจนเสี่ยงที่จะเสียชีวิตได้ ผู้ป่วยโรคเรื้อรังมักมีภูมิคุ้มกันที่ลดลง ทำให้เสี่ยงต่อภาวะลมร้อนมากกว่าคนทั่วไปอีกด้วย ในภาวะนี้ต้องอาศัยการปฐมพยาบาลเบื้องต้นอย่างเหมาะสม และต้องหลีกเลี่ยงสถานที่ที่อากาศร้อนจัดสำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรังโดยเด็ดขาด อากาศร้อนส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจ อากาศร้อนเพิ่มภาระให้กับหัวใจ เนื่องจากต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อรักษาอุณหภูมิร่างกายให้เหมาะสม สำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง สภาพแวดล้อมที่ร้อนจัดอาจทำให้เกิดอาการแทรกซ้อน เช่น หมดสติ ช็อก และหัวใจวายเฉียบพลันได้ โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง มักไม่ค่อยรู้ว่าตัวเองเป็นโรคนี้ เพราะอาการไม่ได้แน่ชัดจึงเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบจากอากาศร้อน หัวใจสูบฉีดเลือดไม่ปกติ และเสี่ยงที่จะช็อกและเป็นอัมพฤกษ์หรืออัมพาตได้ ผู้ป่วยโรคเบาหวานเฝ้าระวังอากาศเป็นพิเศษ ผู้ป่วยเบาหวานต้องระมัดระวังในหน้าร้อนเป็นพิเศษ เนื่องจากความร้อนสามารถทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดผันผวน นอกจากนี้ความร้อนยังส่งผลต่อการทำงานของอินซูลินในร่างกายด้วย ฉะนั้นผู้ป่วยเบาหวานต้องรักษาระดับน้ำตาลในเลือดในสมดุลอยู่เสมอ อากาศร้อนเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะขาดน้ำ […]
ดูแลตัวเองจากภายใน เสริมภูมิคุ้มกันไว้รับหน้าร้อน
ต้องยอมรับว่าสภาพอากาศในปัจจุบันส่งผลต่อการดำเนินชีวิตอย่างมาก การจะหลีกเลี่ยงทำได้ยากเพราะเราไม่สามารถไปปรับเปลี่ยนสภาพอากาศได้ การดูแลสุขภาพและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายจึงเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นที่จะละเลยไม่ได้ เพื่อป้องกันโรคที่อาจเกิดขึ้นจากความร้อนและเพื่อรักษาความสมดุลของร่างกายในช่วงที่อากาศร้อนจัด มีวิธีอะไรบ้างมาดูกันครับ 1. ดื่มน้ำให้เพียงพอ การรักษาความสมดุลน้ำในร่างกายถือเป็นกุญแจสำคัญในการดูแลสุขภาพ เพราะร่างกายต้องการน้ำเพื่อช่วยในการควบคุมอุณหภูมิร่างกายและให้ระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายให้ทำงานได้อย่างเหมาะสม การดื่มน้ำเปล่าประมาณ 8-10 แก้วต่อวันหรือมากกว่านั้นในวันที่อากาศร้อนมากเป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลย ควรระมัดระวังไม่ให้ตัวเองขาดน้ำ หรืออยู่ในสถานที่ที่อากาศร้อนจัดเป็นเวลานาน อุณหภูมิที่สูงจัดอาจจะเสี่ยงเป็นโรคลมแดด หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิต เสี่ยงที่จะหัวใจวายเฉียบพลันได้ 2. รับประทานอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง อาหารที่อุดมด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น ผักและผลไม้สด ช่วยปกป้องเซลล์จากความเสียหายและเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน เช่น แครอท ผักโขม ผลไม้เช่น ส้ม แอปเปิ้ล และพืชตระกูลเบอร์รี หรือใครที่ต้องการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันอย่างมีประสิทธิภาพสามารถทานสารสกัดจากเบต้ากลูแคนได้ เป็นหนึ่งในสารสกัดที่ได้รับการยอมรับในวงการวิทยาศาสตร์ว่าสามารถเสริมสร้างภูมิคุ้มกันได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะชนิดเบต้า 1,3/1,6 D-กลูแคนจะเป็นสายพันธุ์ที่มีประสิทธิภาพ ช่วยให้การทำงานและบำรุงเซลล์เม็ดเลือดขาว และเพิ่มจำนวนเม็ดเลือดขาวให้พร้อมทำงานเมื่อมีสิ่งแปลกปลอมเข้ามาในร่างกาย ทั้งยังลดการอักเสบการติดเชื้อได้ดี นอกจากนี้ยังช่วยลดระดับไขมันคอเลสเตอรอลในเลือดลง เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) และจากงานวิจัยทั่วโลก เบต้ากลูแคนยังมีส่วนช่วยสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งอีกด้วย 3. การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การออกกำลังกายช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดและส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน อย่างไรก็ตาม […]
ยิ่งอากาศร้อน ยิ่งทานหวาน เสี่ยงภูมิตก โรคเรื้อรัง
ในสภาพอากาศที่ร้อนขึ้นทุก ๆ ปี ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการดื่มเครื่องดื่มหรือของหวานเย็น ๆ เพื่อคลายร้อน ทำให้รู้สึกสดชื่นขึ้น นั่นเพราะร่างกายสูญเสียน้ำอาจจะจากเหงื่อออก ทำให้ร่างกายต้องการพลังงานมากขึ้น น้ำหวานหรือขนมหวานจึงตอบโจทย์ในช่วงหน้าร้อนได้ดี แต่การทานน้ำตาลมากเกินไปอาจนำไปสู่ผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำให้ภูมิคุ้มกันตกและเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังในอนาคตได้ด้วย ทำไมการทานหวานถึงเสี่ยงภูมิคุ้มกันตก? น้ำตาลส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันโดยตรง การบริโภคน้ำตาลมากเกินไปสามารถยับยั้งการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาวซึ่งมีบทบาทในการต่อสู้กับเชื้อโรค นั่นหมายความว่าการทานอาหารหวานเป็นประจำอาจทำให้คุณเสี่ยงต่อการติดเชื้อง่ายขึ้นในระยะยาว หรือกระทั่งเสี่ยงที่จะเป็นโรคอ้วนหรือโรคเบาหวาน ซึ่งเป็นประตูสู่โรคไม่ติดต่อเรื้อรังอีกมากมายได้ด้วย น้ำตาลคือสาเหตุหลักของการเป็นโรคติดต่อเรื้อรัง การบริโภคน้ำตาลสูงเกี่ยวข้องกับโรคเรื้อรังหลายชนิด อย่าง โรคหัวใจ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 และโรคอ้วน การทานน้ำตาลมากเกินไปสามารถเพิ่มระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือด ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง และโรคหลอดเลือดตีบตันได้ด้วย เนื่องจากน้ำตาลที่รับประทานเข้าไปหากร่างกายนำไปใช้ไม่หมดจะเปลี่ยนไปเป็นไขมันในเลือด ซึ่งไขมันเหล่านี้จะไม่มีสลายไปง่าย ๆ จะไปเกาะตามผนังหลอดเลือด ทำให้เส้นเลือดอุดตันและเสี่ยงที่จะหัวใจวายเฉียบพลันได้ด้วย น้ำตาลยังเสี่ยงทำให้เกิดการติดเชื้ออักเสบได้ง่าย น้ำตาลเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการอักเสบในร่างกาย และการติดเชื้อได้ง่ายกว่าปกติ เพราะภูมิคุ้มกันไม่สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ อาจจะส่งผลให้ป่วยได้ง่าย เป็นแผลก็หายช้า เกิดภาวะการอักเสบตามร่างกายได้ง่าย โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่อาจจะทำให้เกิดโรคข้ออักเสบได้อีกด้วย หน้าร้อนกับการทานในปริมาณน้ำตาลที่แนะนำ องค์การอนามัยโลกแนะนำว่าปริมาณน้ำตาลที่ควรบริโภคต่อวันไม่ควรเกิน 10% ของพลังงานรวม สำหรับผู้ใหญ่ที่บริโภคพลังงาน 2,000 กิโลแคลอรีต่อวัน ควรบริโภคน้ำตาลไม่เกิน 24 […]