โรคความดันโลหิตใกล้ตัวหลาย ๆ คนมากกว่าที่คิดนะครับ เพราะเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มีผู้ป่วยจำนวนมาก และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มจำนวนเยอะขึ้นทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยด้วย แม้โรคนี้จะดูไม่อันตรายถึงขั้นเสียชีวิตเฉียบพลัน แต่ก็เป็นโรคที่เปิดประตูสู่โรคเรื้อรังหลายแรงได้ ไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคเบาหวาน ฯลฯ ซึ่งปัจจัยสำคัญในการควบคุมความดันโลหิตคือ การรับประทานอาหาร แต่ทานอย่างไรถึงจะเหมาะสม วันนี้มีวิธีมาแนะนำครับ 1. จำกัดปริมาณโซเดียมในอาหาร โซเดียมเป็นหนึ่งในแร่ธาตุตามธรรมชาติ ซึ่งมักจะมีปริมาณไม่มากจนส่งผลต่อร่างกาย แต่สำหรับอาหารแปรรูป เครื่องปรุง หรือการปรุงอาหาร โดยเฉพาะอาหารจานด่วน มักจะมีการเติมโซเดียมในปริมาณที่มาก เพื่อเพิ่มให้รสชาติของอาหารดียิ่งขึ้น ซึ่งผู้ที่มีความดันโลหิตสูงไม่ควรได้รับโซเดียมเกิน 2,400 มิลลิกรัม/วัน ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็ม รสจัด หรือหลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป อาทิ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เนื้อสัตว์แปรรูป อย่าง ไส้กรอก แฮม และหลีกเลี่ยงอาหารประเภทบุฟเฟ่ต์ เพราะจะทำให้คนรับประทานมากกว่าปกติ ซึ่งเสี่ยงที่จะได้รับโซเดียมเกินความจำเป็นต่อร่างกาย 2. จำกัดอาหารประเภทน้ำตาลและแป้ง การรับประทานอาหารประเภทน้ำตาลและแป้งมักจะมาจากข้าวที่เป็นอาหารหลัก สำหรับผู้ป่วยความดันควรได้รับน้ำตาลไม่ต่างจากผู้คนทั่วไป คือ ไม่ควรเกิน 2,400 กิโลแคลเลอรี/วัน หรือ 24 กรัม หรือ 6 ช้อนชา หรือเปลี่ยนจากข้าวขาวที่รับประทานปกติเป็นข้าวซ้อมมือหรือข้าวไม่ขัดสี […]
ควบคุมน้ำหนักไม่ถูกวิธีเสี่ยงโรคหัวใจ โรคไต และหลอดเลือด
หลายคนที่รักสุขภาพจะเข้าใจดีว่าการที่น้ำหนักตัวขึ้นเยอะทำให้เสี่ยงที่จะทำให้เกิดหลายโรค ไม่ว่าจะโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือด และโรคอื่น ๆ อีกมากมาย เวลาน้ำหนักตัวขึ้นมักจะหาเคล็ดลับและวิธีควบคุมน้ำหนักที่ได้ผล ซึ่งปัจจุบันมีวิธีมากมาย แต่ที่หลายคนมักจะมองข้ามคือข้อจำกัดของการลดน้ำหนักในแต่ละรูปแบบ และการไม่ประเมินความพร้อมของร่างกาย ซึ่งการควบคุมน้ำหนักไม่ถูกวิธี อาจจะนำไปสู่โรคร้ายได้นะครับ การควบคุมน้ำหนักไม่ถูกวิธีเกิดได้จากอะไรบ้าง? ปัจจัยหลัก ๆ มักจะเกิดจากความใจร้อนของคนที่อยากลดน้ำหนักเอง หลาย ๆ คนที่ต้องการควบคุมน้ำหนักมักจะอยากให้เห็นผลเร็ว จึงทำให้หาวิธีการที่จะช่วยลดน้ำหนักแบบที่น้ำหนักลงอย่างรวดเร็วมาใช้ ซึ่งการที่น้ำหนักลงอย่างรวดเร็วนั้นส่งผลร้ายต่อร่างกายมากกว่าที่คิด เพราะนอกจากจะทำให้ร่างกายสูญเสียมวลกล้ามเนื้อที่เป็นส่วนสำคัญของร่างกายไปแล้ว ไขมันที่อยู่ในร่างกายก็ไม่ได้หายไป ทั้งร่างกายอาจจะไม่สามารถกำจัดไขมันส่วนเกินนี้ได้ด้วย ทั้งยังส่งผลให้หัวใจทำงานหนักอย่างมาก เพราะร่างกายเร่งอัตราการเผาผลาญ ซึ่งทำให้หัวใจต้องเร่งทำงานอีกขึ้นด้วย นอกจากนี้ไตก็ยังต้องทำงานหนักเพราะต้องกรองของเสีย อาจจะทำให้ร่างกายเกิดภาวะขาดน้ำ หรือเสี่ยงที่จะไตวายเฉียบพลันได้ด้วย ฉะนั้นการควบคุมน้ำหนักที่มีประสิทธิภาพไม่ใช่การที่น้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็วแน่นอนครับ การควบคุมน้ำหนักอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะใช้วิธีการใดในการลดน้ำหนักให้ทุกคนสังเกตตัวเอง ในช่วงแรกที่เริ่มลดน้ำหนัก น้ำหนักจะค่อย ๆ ลดลง ไม่ลดไวเกินไป หากลดไวเกินไปนั่นแสดงว่าผิดวิธี และหักโหม ซึ่งไม่ดีต่อร่างกาย และเมื่อถึงจุดหนึ่งน้ำหนักจะเริ่มคงที่ เนื่องจากมวลกล้ามเนื้อลดลง ควรออกกำลังกายเพื่อสร้างกล้ามเนื้อ หรือหากิจกรรมที่เพิ่มการเผาผลาญ เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายกลับมาน้ำหนักเพิ่มขึ้นอีก หากร่างกายมีมวลกล้ามเนื้อในปริมาณที่เพียงพอ ก็จะยิ่งช่วยเผาผลาญไขมันส่วนเกิน และสร้างสมดุลเมแทบอลิซึมให้กลับมาทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพอีกครั้ง ควบคุมน้ำหนักอย่างปลอดภัย ลดผลข้างเคียงควรทำอย่างไร? – ให้ความสำคัญกับอาหารที่รับประทานเป็นหลัก […]
เสี่ยงอัมพฤกษ์-อัมพาต เพราะไขมันในหลอดเลือด
หลายคนทราบอยู่แล้วนะครับว่าการมีภาวะไขมันในเลือดสูงไม่ได้ส่งผลดีต่อร่างกายในระยะสั้นหรือระยะยาวเลย แต่ก็ยังมีหลายคนที่ละเลยในการดูแลสุขภาพโดยเฉพาะการควบคุมปริมาณไขมันในร่างกาย วันนี้จะมาบอกให้ทุกคนตระหนักรู้มากขึ้นในการควบคุมการดูแลไขมันก่อนจะเสี่ยงอัมพฤกษ์-อัมพาตครับ ทำไมภาวะไขมันสูงถึงเสี่ยงอัมพฤกษ์-อัมพาต? เมื่อร่างกายมีไขมันในมากจนเกินไป จะไปเกาะตามผนังหลอดเลือด ขัดขวางการไหลเวียนของหลอดเลือด หลอดเลือดตีบ-ตัน และทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก ซึ่งทำให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนไปเลี้ยงอวัยวะได้เพียงพอ โดยเฉพาะสมองซึ่งอาจจะส่งผลให้เกิดโรคได้ นอกจากนี้ยังทำให้หัวใจทำงานหนักมากขึ้น เพราะต้องพยายามสูบฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยงร่างกาย ส่งผลให้เกิดเป็นโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูงขึ้น หรืออาจจะเกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลันได้ด้วย สาเหตุของการเกิดไขมันหลอดเลือดสูง 1. มีคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคไขมันในเลือดสูง 2. การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงเป็นประจำ 3. การเป็นโรคบางชนิด เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิต 4. การดื่มแอลกอฮอล์หรือสูบบุหรี่เป็นประจำ 5. ยาบางชนิด เช่น ยาขับปัสสาวะ ยาสเตรียรอยด์ 6. ความเครียด ทำงานหนัก และพักผ่อนไม่เพียงพอ รักษาระดับไขมันในร่างกายลดความเสี่ยงไขมันในหลอดเลือดสูง ระดับไขมันในร่างกายที่ปกติคือ คอเลสเตอรอลต่ำกว่า 200 มก./ดล. ไตรกลีเซอร์ไรด์ต่ำกว่า 200 มก./ดล. และไขมันชนิด HDL สูงกว่า 35 มก./ดล. ซึ่งสิ่งที่จะทำให้เรารักษาสมดุลระดับไขมันในเลือดได้มีดังนี้ – ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี การตรวจสุขภาพประจำปีเป็นการรีเช็กว่า […]