อาหารลดความดัน รับประทานอย่างไรถึงจะเหมาะสม?

ความดัน

โรคความดันโลหิตใกล้ตัวหลาย ๆ คนมากกว่าที่คิดนะครับ เพราะเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มีผู้ป่วยจำนวนมาก และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มจำนวนเยอะขึ้นทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยด้วย แม้โรคนี้จะดูไม่อันตรายถึงขั้นเสียชีวิตเฉียบพลัน แต่ก็เป็นโรคที่เปิดประตูสู่โรคเรื้อรังหลายแรงได้ ไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคเบาหวาน ฯลฯ ซึ่งปัจจัยสำคัญในการควบคุมความดันโลหิตคือ การรับประทานอาหาร แต่ทานอย่างไรถึงจะเหมาะสม วันนี้มีวิธีมาแนะนำครับ

1. จำกัดปริมาณโซเดียมในอาหาร

โซเดียมเป็นหนึ่งในแร่ธาตุตามธรรมชาติ ซึ่งมักจะมีปริมาณไม่มากจนส่งผลต่อร่างกาย แต่สำหรับอาหารแปรรูป เครื่องปรุง หรือการปรุงอาหาร โดยเฉพาะอาหารจานด่วน มักจะมีการเติมโซเดียมในปริมาณที่มาก เพื่อเพิ่มให้รสชาติของอาหารดียิ่งขึ้น ซึ่งผู้ที่มีความดันโลหิตสูงไม่ควรได้รับโซเดียมเกิน 2,400 มิลลิกรัม/วัน ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็ม รสจัด หรือหลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป อาทิ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เนื้อสัตว์แปรรูป อย่าง ไส้กรอก แฮม และหลีกเลี่ยงอาหารประเภทบุฟเฟ่ต์ เพราะจะทำให้คนรับประทานมากกว่าปกติ ซึ่งเสี่ยงที่จะได้รับโซเดียมเกินความจำเป็นต่อร่างกาย

2. จำกัดอาหารประเภทน้ำตาลและแป้ง

การรับประทานอาหารประเภทน้ำตาลและแป้งมักจะมาจากข้าวที่เป็นอาหารหลัก สำหรับผู้ป่วยความดันควรได้รับน้ำตาลไม่ต่างจากผู้คนทั่วไป คือ ไม่ควรเกิน 2,400 กิโลแคลเลอรี/วัน หรือ 24 กรัม หรือ 6 ช้อนชา หรือเปลี่ยนจากข้าวขาวที่รับประทานปกติเป็นข้าวซ้อมมือหรือข้าวไม่ขัดสี ซึ่งมีใยอาหาร และใยอาหารสามารถช่วยดูดซึมไขมันเข้าสู่กระแสเลือด และช่วยควบคุมความดันได้ อิ่มท้องนานขึ้น ไม่หิวบ่อย

3. เลือกเนื้อสัตว์ไขมันต่ำ

เนื้อสัตว์หรือโปรตีนเป็นสารอาหารที่สำคัญอย่างมากสำหรับผู้ที่เป็นโรคความดัน การเลือกเนื้อสัตว์ไขมันต่ำจะช่วยลดปริมาณไขมันอิ่มตัวและคอเลสเตอรอลที่พบมาในไขมันสัตว์ และไขมันเหล่านี้ส่งผลต่อการเกิดโรคหลอดเลือดได้มากยิ่งขึ้น และส่งผลต่ออัตราความดันโลหิตที่สูงขึ้นได้ โดยในแต่ละวันควรได้รับปริมาณเนื้อสัตว์ไขมันประมาณ 1 กรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม/วัน

4. เพิ่มผักและผลไม้ในอาหารทุกมื้อ

ในผักอุดมไปด้วยโพแทสเซียมและแมกนีเซียม ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่มีผลช่วยควบคุมความดันโลหิต ควรเลือกผักให้หลากสีและหลากชนิด ส่วนผลไม้อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุ รวมถึงโพแทสเซียมและแมกนีเซียมด้วย ซึ่งช่วยในการลดความดันและควบคุมความดันโลหิตได้

5. เพิ่มสารสกัดที่ช่วยควบคุมความดันและสุขภาพหัวใจ

รับประทานสารสกัดจากฮอร์ธอร์นและโคคิวเท็น ซึ่งสารสกัดทั้งสองชนิดนี้สามารถช่วยควบคุมความดัน ลดน้ำตาลในเลือด และฟื้นฟูการทำงานของหัวใจ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการเป็นโรคความดันโลหิตด้วย หากหัวใจสามารถสูบฉีดเลือดได้อย่างปกติ เลือดไหลเวียนได้อย่างดี ความดันโลหิตก็จะลดลง หรือคงที่ได้มากยิ่งขึ้น โดยปริมาณที่แนะนำ

สารสกัดจากฮอร์ธอร์น 300 มิลลิกรัม โคคิวเท็น 60 มิลลิกรัม สำหรับการบำรุงสุขภาพหัวใจและหลอดเลือด

สารสกัดจากฮอร์ธอร์น 600 มิลลิกรัม โคคิวเท็น 120 มิลลิกรัม สำหรับผู้ที่เริ่มมีปัญหาด้านหัวใจและหลอดเลือด

สารสกัดจากฮอร์ธอร์น 900 มิลลิกรัม โคคิวเท็น 180 มิลลิกรัม สำหรับผู้ที่มีปัญหาหัวใจและหลอดเลือด

Leave a comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

TOP