การเลือกทานโปรตีนจากพืชสำหรับผู้ที่กำลังฟื้นฟูร่างกายเป็นทางเลือกที่ดี เนื่องจากพืชโปรตีนสูงมักมีสารอาหารที่เป็นประโยชน์และผลข้างเคียงน้อยเมื่อเทียบกับโปรตีนจากสัตว์ ชวนรู้จักพืชที่มีโปรตีนสูงที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่กำลังฟื้นฟูร่างกาย เพื่อให้เพื่อน ๆ ได้เลือกและทานได้อย่างเหมาะสม พืชโปรตีนสูงที่แนะนำ 1. ถั่วชนิดต่าง ๆ ถั่วขาว: เป็นแหล่งโปรตีนที่ดี สามารถช่วยสร้างกล้ามเนื้อได้ จึงฟื้นฟูกล้ามเนื้อได้ดี ถั่วขาวให้ใยอาหารที่เพียงพอ โดยถั่วขาว 170 กรัม มีใยอาหารสูงถึง 11 กรัม ถั่วเขียว: มีโปรตีนสูงและมีไฟเบอร์มาก ช่วยในการย่อยอาหารและส่งเสริมการฟื้นฟูร่างกาย ถั่วดำ: เป็นแหล่งโปรตีนที่ดีและมีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยในการลดการอักเสบ ถั่วเลนทิล: มีโปรตีนและไฟเบอร์สูง ช่วยในการย่อยอาหารและควบคุมน้ำตาลในเลือด 2. เมล็ดฟักทองและอัลมอนด์ เมล็ดฟักทอง: มีโปรตีนสูงและสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยในการลดการอักเสบและเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน อัลมอนด์: มีโปรตีนสูงและไขมันที่ดีต่อสุขภาพ ช่วยในการเสริมสร้างกล้ามเนื้อและฟื้นฟูร่างกาย 3. ควินัว ควินัวเป็นธัญพืชที่มีโปรตีนสูงและมีกรดอะมิโนครบถ้วน นอกจากนี้ยังมีไฟเบอร์และสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยในการฟื้นฟูร่างกายและเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน 4. เมล็ดเชียและเมล็ดแฟลกซ์ เมล็ดเชีย: มีโปรตีนสูง ไฟเบอร์ และโอเมก้า-3 ช่วยในการลดการอักเสบและส่งเสริมสุขภาพหัวใจ เมล็ดแฟลกซ์: มีโปรตีนและไฟเบอร์สูง รวมถึงมีกรดไขมันโอเมก้า-3 ช่วยในการฟื้นฟูร่างกายและลดการอักเสบ […]
โปรตีนจากสัตว์ vs โปรตีนจากพืช ความแตกต่างสำหรับผู้ป่วย
โปรตีนเป็นสารอาหารสำคัญที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย โดยทั่วไปแล้ว โปรตีนสามารถได้มาจาก 2 แหล่งที่มาใหญ่ ๆ คือ โปรตีนจากสัตว์และโปรตีนจากพืช ซึ่งทั้งสองประเภทนี้มีคุณสมบัติและประโยชน์ที่แตกต่างกันออกไป มาดูความแตกต่างของโปรตีนจากสัตว์และโปรตีนจากพืช เพื่อให้ผู้ป่วยและผู้ดูแลสามารถเลือกทานโปรตีนได้อย่างเหมาะสมกับสภาวะสุขภาพของแต่ละคน โปรตีนจากสัตว์ 1. คุณภาพและความครบถ้วนของสารอาหาร: โปรตีนจากสัตว์ เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ และผลิตภัณฑ์นม มักจะเป็นโปรตีนที่มีคุณภาพสูง เนื่องจากมีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายครบถ้วน ทำให้ร่างกายสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที 2. การย่อยและการดูดซึม: โปรตีนจากสัตว์มักจะย่อยและดูดซึมได้ดี เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหารสามารถได้รับประโยชน์จากโปรตีนชนิดนี้ได้มากกว่า 3. สารอาหารอื่น ๆ: โปรตีนจากสัตว์มักมีสารอาหารเพิ่มเติม เช่น วิตามิน B12, เหล็ก, และสังกะสี 4. ความเสี่ยง: การบริโภคโปรตีนจากสัตว์มากเกินไป อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคไต เนื่องจากมีไขมันอิ่มตัวและคอเลสเตอรอลสูง 5. โปรตีนจากสัตว์สำหรับผู้ป่วย: การเลือกทานโปรตีนจากสัตว์ต้องพิจารณาหลายเรื่อง เนื่องจากโปรตีนในสัตว์มีไขมันค่อนข้างสูง อย่างในไข่แดงของไข่ไก่เต็มไปด้วยคอเลสเตอรอล การรับประทานในปริมาณมากติดต่อกันอาจจะเสี่ยงที่จะทำให้ไขมันอุดตันในเส้นเลือดได้ ที่สำคัญโปรตีนจากสัตว์มักมีสารตกค้างจากกระบวนการปศุสัตว์ ซึ่งผู้ป่วยที่มีร่างกายที่อ่อนแอ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ได้รับเคมีบำบัดในการรักษาโรคมะเร็งควรจะศึกษาที่มาขอโปรตีนเหล่านั้นก่อนรับประทาน ไม่เพียงเท่านี้ ไขมันในโปรตีนจากสัตว์ยังไปยับยั้งกระบวนการสร้างภูมิคุ้มกันได้อีกด้วย […]
ทานโปรตีนพืชอย่างไร ให้เพียงพอต่อร่างกาย
ในโลกที่มีการให้ความสนใจกับสุขภาพและการรับประทานอาหารอย่างยั่งยืนเพิ่มขึ้น การรับประทานโปรตีนจากพืชกลายเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับหลายคน เพราะโปรตีนจากพืชไม่เพียงแต่ช่วยส่งเสริมสุขภาพที่ดี แต่ยังช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การเลือกรับประทานโปรตีนจากพืชให้เพียงพอต่อร่างกายจึงเป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญ และคนที่กำลังจะหันมาทานโปรตีนจากพืชควรรู้ วันนี้มาให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับทุกคนครับ 1. โปรตีนพืชมีความหลากหลาย แหล่งโปรตีนจากพืชมีความหลากหลาย ซึ่งการรับประทานโปรตีนจากหลากหลายแหล่งจะช่วยให้ได้รับกรดอะมิโนที่ร่างกายต้องการ อาทิ ถั่ว: เช่น ถั่วลิสง, ถั่วลันเตา, ถั่วเหลือง, ถั่วแดง, ถั่วพิสตาชิโอ, เมล็ดเจีย ธัญพืช: เช่น ข้าวกล้อง, ข้าวไรซ์เบอร์รี, ข้าวโอ๊ต, ควินัว, เมล็ดฟักทอง ผักและผลไม้: บางชนิดมีโปรตีนสูง เช่น บรอกโคลี, สาหร่าย, อโวคาโด 2. โปรตีนจากพืชที่มีคุณภาพ การเลือกสรรโปรตีนจากพืชอย่างมีคุณภาพต้องพิจารณาหลายอย่าง เช่น ความต้องการหรือปริมาณโปรตีนในแต่ละวัน เพราะแหล่งที่มีของโปรตีนจากพืชก็ให้โปรตีนที่แตกต่างกัน เช่น ถั่วลันเตา เมล็ดฟักทอง และข้าวกล้อง เป็นพืชที่ให้โปรตีนสูง มีไฟเบอร์ช่วยเรื่องการขับถ่าย ทั้งยังช่วยกระตุ้นเรื่องภูมิคุ้มกันของร่างกายได้ดีอีกด้วย อีกทั้งแหล่งโปรตีนดังกล่าวยังมีความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดการแพ้ต่ำ โดยมีการศึกษาว่าปัจจุบันคนแพ้โปรตีนจากถั่วเหลืองมากขึ้นนั่นเอง อีกทั้งยังมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยเรื่องลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งและโรคเรื้อรังอื่น ๆ ได้ 3. […]