หลายคนทราบอยู่แล้วนะครับว่าการมีภาวะไขมันในเลือดสูงไม่ได้ส่งผลดีต่อร่างกายในระยะสั้นหรือระยะยาวเลย แต่ก็ยังมีหลายคนที่ละเลยในการดูแลสุขภาพโดยเฉพาะการควบคุมปริมาณไขมันในร่างกาย วันนี้จะมาบอกให้ทุกคนตระหนักรู้มากขึ้นในการควบคุมการดูแลไขมันก่อนจะเสี่ยงอัมพฤกษ์-อัมพาตครับ ทำไมภาวะไขมันสูงถึงเสี่ยงอัมพฤกษ์-อัมพาต? เมื่อร่างกายมีไขมันในมากจนเกินไป จะไปเกาะตามผนังหลอดเลือด ขัดขวางการไหลเวียนของหลอดเลือด หลอดเลือดตีบ-ตัน และทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก ซึ่งทำให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนไปเลี้ยงอวัยวะได้เพียงพอ โดยเฉพาะสมองซึ่งอาจจะส่งผลให้เกิดโรคได้ นอกจากนี้ยังทำให้หัวใจทำงานหนักมากขึ้น เพราะต้องพยายามสูบฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยงร่างกาย ส่งผลให้เกิดเป็นโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูงขึ้น หรืออาจจะเกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลันได้ด้วย สาเหตุของการเกิดไขมันหลอดเลือดสูง 1. มีคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคไขมันในเลือดสูง 2. การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงเป็นประจำ 3. การเป็นโรคบางชนิด เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิต 4. การดื่มแอลกอฮอล์หรือสูบบุหรี่เป็นประจำ 5. ยาบางชนิด เช่น ยาขับปัสสาวะ ยาสเตรียรอยด์ 6. ความเครียด ทำงานหนัก และพักผ่อนไม่เพียงพอ รักษาระดับไขมันในร่างกายลดความเสี่ยงไขมันในหลอดเลือดสูง ระดับไขมันในร่างกายที่ปกติคือ คอเลสเตอรอลต่ำกว่า 200 มก./ดล. ไตรกลีเซอร์ไรด์ต่ำกว่า 200 มก./ดล. และไขมันชนิด HDL สูงกว่า 35 มก./ดล. ซึ่งสิ่งที่จะทำให้เรารักษาสมดุลระดับไขมันในเลือดได้มีดังนี้ – ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี การตรวจสุขภาพประจำปีเป็นการรีเช็กว่า […]
นอนกรนสัญญาณโรคร้ายอะไรบ้าง?
แม้พฤติกรรมการนอนกรนจะดูเหมือนเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้กับหลาย ๆ คน แต่รู้ไหมครับว่าการนอนกรนนั้นสามารถที่บอกได้นะครับว่าคุณเสี่ยงจะเป็นโรคอะไรบ้าง เพราะการกรนถือเป็น “เรื่องไม่ปกติ” ในการนอนหลับพักผ่อนครับ มาดูกันครับว่าการนอนกรนทำไมถึงอันตราย และเสี่ยงโรคอะไรบ้าง? การนอนกรนเกิดจากอะไร? โดยปกติเมื่อเรานอนหลับกล้ามเนื้อต่าง ๆ จะหย่อนตัวหรือคลายตัวลง ซึ่งอวัยวะในทางเดินหายใจของเรา ไม่ว่าจะเป็นเพดานอ่อน โคนลิ้น ก็อาจจะหย่อนลงมาทำให้ทางเดินหายใจตีบหรือแคบลงได้ โดยเฉพาะท่านอนหงาย พอเราหายใจเอาอากาศเข้าลมที่ผ่านช่องนี้ก็จะทำให้กล้ามเนื้อกระพือจนเกิดเสียงเหมือนลมเป่าผ่านท่อ หากกรนเสียงดังมากและต่อเนื่องทั้งคืน แม้จะพลิกตัวก็แล้วการกรนก็ยังไม่หาย หรือเรียกได้ว่ากรนเป็นกิจวัตร อันนี้ต้องระวังเพราะเสี่ยงที่จะเป็นโรคได้ สาเหตุที่นอนกรนมีอะไรบ้าง? – น้ำหนักตัวเกินกว่าเกณฑ์มาตรฐาน เป็นโรคอ้วน – ไขมันในช่องคอหนา เนื่องจากมีการสะสมไขมันในร่างกายจำนวนมาก – ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นประจำ ก็ทำให้กล้ามเนื้อหย่อนได้ – สูบบุหรี่เป็นประจำ ทำให้ลำคอและหลอดลมทำงานผิดปกติ – ความเหนื่อย กับการนอนกรน ก็มีส่วนเกี่ยวข้องกันอย่างมาก – ติดนิสัยนอนนอนหงายเป็นประจำ – อายุมากขึ้นทำให้กล้ามเนื้อหย่อนคล้อย นอนกรนเสี่ยงโรคเหล่านี้ โรคหัวใจ เนื่องจากการนอนกรนเกิดจากทางเดินหายใจที่แคบและตีบลง อาจจะทำให้ออกซิเจนไม่เพียงพอในร่างกาย และกลับทำให้ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้น ซึ่งมีงานวิจัยว่าผู้ที่มีอาการนอนกรนอาจจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจสูงมากกว่าคนทั่วไป โรคมะเร็ง อาจจะดูเป็นเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกัน แต่พฤติกรรมการนอนกรนอาจจะเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งได้ เนื่องจากการที่ร่างกายขาดออกซิเจนบ่อย ๆ […]
โรคความดันสูงประตูสู่โรคไตวายเรื้อรัง ป้องกันได้อย่างไร?
แม้หลายคนจะรู้อยู่แล้วว่าโรคความดันโลหิตสูงเป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดโรคต่าง ๆ แต่มีรายงานว่ามีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงหลายคนเลือกที่จะไม่เข้ารับการรักษา หรือเข้ารับการวินิจฉัยว่าตัวเองเป็นโรคความดันโลหิต ด้วยรู้สึกว่าไม่ใช่โรคร้ายแรงและเสียเวลาในการเข้ารับการรักษา แต่รู้หรือไม่ว่าโรคความดันโลหิตสูงเป็นประตูสู่โรคอื่น ๆ ได้ โดยเฉพาะโรคไตวายเรื้อรัง ทำไมการเป็นโรคความดันโลหิตสูงถึงทำลายระบบไต ในช่วงเริ่มต้นที่ไม่ได้เป็นความดันโลหิตสูงชนิดที่ไม่รุนแรงมาก การสูบฉีดไปหล่อเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ หัวใจต้องทำงานหนักมากขึ้น เพราะภาวะความดันโลหิตที่ไม่ปกติ ก็อาจจะส่งผลให้ผนังหลอดเลือดหัวใจค่อย ๆ หนาตัวขึ้น เลือดอาจจะไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ เกิดเป็นภาวะเนื้อไตขาดเลือด ซึ่งส่งผลต่อการทำงานของระบบไต และโครงสร้างการทำงานของไต แต่หากไต่ระดับขึ้นไปเป็นโรคความดันโลหิตแบบที่รุนแรง คือ ค่าความดันอยู่ที่ 200/130 มิลลิเมตรปรอท ก็อาจจะส่งผลให้ไตสูญเสียกลไกการป้องกันแรงดันเลือดสูง เสี่ยงที่จะเกิดภาวะไตวายเฉียบพลันได้ ยิ่งปล่อยไว้นาน หัวใจทำงานหนัก ไตก็ยิ่งทำงานหนัก ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงในระยะยาวทำให้เส้นเลือดทั่วร่างกายค่อย ๆ เสื่อมสภาพ ทำให้เกิดโรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือด โดยเฉพาะหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดไต อาจจะทำให้มีโปรตีนรั่วออกมาทางปัสสาวะ ไตไม่สามารถจับเกลือแร่และของเสียได้ ยิ่งทำให้เกลือแร่ไปคั่งอยู่ในกระแสเลือด ยิ่งส่งผลให้ความดันโลหิตสูงขึ้นไปอีก เสี่ยงที่จะเกิดภาวะหัวใจวาย หรือช็อกหมดสติ จนกลายเป็นอัมพฤกษ์หรืออัมพาตได้เลย ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรีเช็กอาการ เสี่ยงโรคไตวายเรื้อรัง – ปวดศีรษะบริเวณท้ายทอย – มึนงง – คลื่นไส้อาเจียน – หน้ามืดคล้ายจะเป็นลม – […]