การนอนไม่หลับถือเป็นโรคทางจิตเวชหนึ่ง ผู้ป่วยจะได้รับการทุกข์ทรมานจากการนอนไม่ได้ นอนอย่างไม่มีประสิทธิภาพ ซึ่งการนอนไม่หลับถือเป็นเรื่องใหญ่ที่รบกวนการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมาก เพราะการพักผ่อนไม่พอส่งผลให้การทำกิจกรรมในชีวิตแย่ลง ทั้งสติสัมปชัญญะ การตัดสินใจ การทำงาน ความคิดสร้างสรรค์ หรืออาจจะส่งผลต่อปฏิกิริยาในการป้องกันตัวเองเมื่อประสบอุบัติเหตุด้วย ซึ่งหลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าหนึ่งในสาเหตุของโรคนี้อาจจะเพราะน้ำตาลในเลือดที่สูงเกินไปและเสี่ยงที่จะเป็นเบาหวานได้ โรคนอนไม่หลับเกิดจากอะไร? โรคนอนไม่หลับ (Insomnia) ภาวะที่ผู้ป่วยมีปัญหานอนหลับยากใช้เวลานอนนานกว่าจะหลับภาวะดังกล่าวอาจสัมพันธ์กับภาวะวิตกกังวล การหายใจที่ไม่ปกติเกิดจากภาวะการหายใจอุดกั้น หรือผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้า ก็อาจจะทำให้ตื่นเร็วและตื่นง่ายกว่าปกติได้ รวมไปถึงผู้ป่วยในโรคเบาหวานบางคนที่อาจจะประสบกับปัญหานอนไม่หลับจากภาวะน้ำตาลสูงมากจนไปทำให้ระบบประสาทต่าง ๆ อักเสบจนส่งผลต่อภาวะการหลับยากขึ้น ภาวะนอนไม่หลับยังเป็นสัญญาของโรคเบาหวานด้วย มีรายงานว่าการนอนไม่หลับส่งผลต่อการพัฒนาของโรคเบาหวาน จากระดับกรดยูริกในเลือดกับระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1c) ทำให้ผู้ที่มีภาวะน้ำตาลสูงกว่าปกติ เสี่ยงที่จะเข้าสู่ภาวะโรคเบาหวานได้ หากใครที่กำลังประปัญหานอนไม่หลับ อาจจะต้องสังเกตว่าตัวเองนั้นมีพฤติกรรมที่เข้าข่ายจะเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานหรือไม่ พฤติกรรมที่ส่งผลทำให้น้ำตาลในเลือดสูง – การรับประทานอาหารรสจัด ทั้งหวาน เผ็ด เค็ม หรือ อาหารที่มีไขมันและคอเลสเตอรอลสูง – การรับประทานอาหารในปริมาณมากกว่าที่ร่างกายต้องการ เช่น อาหารจำพวกบุฟเฟ่ต์ – การไม่ออกกำลังกาย – น้ำหนักเกินเกณฑ์ปกติไปมาก – การพักผ่อนไม่เหมาะสมและไม่มีประสิทธิภาพ ทำงานหนัก และมีภาวะเครียด ทำอย่างไรน้ำตาลในเลือดจะสมดุล ภาวะน้ำตาลในเลือดที่สูงนั้น […]
รับประทานวิตามินและอาหารเสริมแบบไหน ไม่ส่งผลต่อหัวใจ
แม้ปัจจุบันจะมีการศึกษามากมายเกี่ยวกับวิตามินและอาหารเสริมว่ามีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ก็ยังมีหลายคนเข้าใจผิด และมีความกังวลในการรับประทานอยู่ไม่น้อย อาจจะด้วยมีหลายคนฉวยโอกาสและทำการตลาดแบบผิด ๆ จึงมีชุดข้อมูลในแง่ลบจำนวนมาก วันนี้จริงมีวิธีการเลือกรับประทานวิตามินและอาหารเสริม ที่จะส่งเสริมสุขภาพ และไม่กระทบต่อหัวใจมาฝากครับ 1. รู้จักสุขภาพตัวเองก่อนรับประทานวิตามินและอาหารเสริม ควรสังเกตตัวเองว่าตัวเองนั้นมีสุขภาพหรือมีพฤติกรรมแบบใด เช่น บางคนไม่รับประทานผักเลย บางคนไม่ออกกำลังกายเลย บางคนทำงานหนักมาก พักผ่อนน้อย หรือบางคนมีโรคประจำตัว เช่น โรคเกี่ยวกับเลือด โรคภูมิแพ้ ซึ่งข้อจำกัดเหล่านี้จะทำให้แต่ละคนควรรับประทานวิตามินและอาหารเสริมแตกต่างกัน ในปริมาณที่แตกต่างกันด้วย โดยเฉพาะคนที่มีโรคประจำตัวต้องปรึกษาแพทย์เจ้าของไข้ก่อนรับประทานก็จะดีที่สุดครับ 2. ไม่ควรรับประทานอาหารเสริมมากจนเกินไป ข้อเสียของการรับประทานวิตามินและอาหารเสริมหลายชนิดในเวลาเดียวกัน อาจจะไม่ใช่เรื่องดีอย่างที่คิด เพราะร่างกายของคนเราควรได้รับสารอาหารแต่ละอย่างในแต่ละวันแตกต่างกัน เช่น ควรได้รับวิตามินซีประมาณ 1,000 มิลลิกรัม หรือ วิตามินบี 3 (ไนอะซิน) ร่างกายต้องการอย่างน้อยวันละ 20 มิลลิกรัม เป็นต้น หากรับประทานเกินกว่านั้นหรือมากกว่าที่ร่างกายต้องการ จะเกิดการแย่งกันดูดซึม อาจจะไม่ได้รับสารอาหารอย่างเต็มที่เท่าที่ควร 3. เลือกสารสกัดที่บำรุงอวัยวะสำคัญอย่างหัวใจ นอกจากวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ ที่ร่างกายต้องการแล้ว ยังมีสารสกัดบางชนิดที่ร่างกายไม่สามารถรับจากการรับประทานอาหารได้ เช่น โคคิวเท็น […]
หยุดพฤติกรรมสู่ “โรคหัวใจขาดเลือด” สาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1
โรคที่เกี่ยวกับหัวใจเป็นโรคที่องค์การอนามัยโลกส่งสัญญาณเตือนมาถึงประชาคมโลกมาอย่างต่อเนื่อง เพราะมีอัตราเสียชีวิตสูงมากขึ้นทุกปี แซงโรคร้ายอย่างโรคมะเร็งเลยก็ว่าได้ ด้วยวิทยาการทางการแพทย์ทำให้โรคมะเร็งเริ่มมีทางเลือกในการรักษาที่มีประสิทธิผลมากขึ้น ในขณะที่โรคหัวใจมักจะเป็นภาวะโรคที่เฉียบพลัน โดยไม่ค่อยแสดงอาการ นั่นจึงทำให้ผู้ป่วยมีการเสียชีวิตกะทันหันมากขึ้นโดยเฉพาะ “โรคหัวใจขาดเลือด” โรคหัวใจขาดเลือดเฉลี่ยมีคนเสียชีวิตเฉลี่ย 2 คนต่อชั่วโมง สถิติที่น่ากังวลของประเทศไทย คือ ผู้ป่วยที่เสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจเฉลี่ยเสียชีวิต 2 คนต่อชั่วโมง โดยพบว่ากว่า 45% เป็นการเสียชีวิตแบบเฉียบพลัน ซึ่งนับเป็นหนึ่งในโรคที่ต้องเฝ้าระวัง เพราะทุกวินาทีหมายถึงชีวิตหากรักษาหรือปฐมพยาบาลไม่ทันก็อาจจะสายเสียชีวิตโดยไม่ได้บอกลาคนที่รักได้เลย ปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลให้เป็นโรคหัวใจขาดเลือด 1. ปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ – พันธุกรรม หากมีคนในครอบครัวที่ใกล้ชิด เช่น พ่อ แม่ ปู่ ยา ตา ยาย หรือพี่น้อง มีประวัติเป็นโรคหัวใจ ก็อาจจะทำให้เรามีโอกาสที่จะเสี่ยงเป็นโรคหัวใจได้เช่นกัน – อายุที่เพิ่มมากขึ้น ด้วยอายุมากขึ้นก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจได้มากขึ้น – เพศ โดยเฉพาะผู้ชายที่มีความเสี่ยงที่จะเป็นมากกว่าผู้หญิง เพราะผู้หญิงมีฮอร์โมนเพศหญิงที่ช่วยควบคุมปริมาณไขมันให้อยู่ในระดับที่พอดี แต่ผู้หญิงที่อยู่ในวัยหลังหมดประจำเดือนแล้วก็อาจความเสี่ยงการเป็นโรคได้เช่นกัน 2. ปัจจัยที่สามารถควบคุมได้ – การสูบบุหรี่ พฤติกรรมนี้เป็นความเสี่ยงสูงสุดที่จะทำให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือด เพราะสารพิษในควันบุหรี่สามารถเข้าไปสู่หลอดเลือดได้ ทำให้เลือดข้น […]