ปัจจัยด้านสภาพอากาศในปัจจุบันมีผลต่อการใช้ชีวิตอย่างมากนะครับ โดยเฉพาะอากาศร้อนที่นอกจากจะทำให้เรารู้สึกไม่สบายตัวแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อปัญหาสุขภาพของเราได้ โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัวที่เป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคความดันโลหิตหรือโรคหัวใจ ที่อุณหภูมิยิ่งสูงยิ่งทำให้หัวใจทำงานหนักมากขึ้น ซึ่งเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนและส่งผลอันตรายกับผู้ป่วยได้ เรามาทำความเข้าใจและใส่ใจสุขภาพของผู้ป่วยไปด้วยกันครับ อากาศร้อนเพิ่มความเสี่ยงให้กับผู้ป่วย เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นทำให้หัวใจต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อช่วยในการระบายความร้อนของร่างกาย ซึ่งส่งผลให้การไหลเวียนของเลือด และการทำงานของหัวใจมีประสิทธิภาพน้อยลง ที่สำคัญสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคเกี่ยวกับความดันโลหิตหรือโรคหัวใจที่เสี่ยงกล้ามเนื้อหลอดเลือดหัวใจทำงานได้ไม่เต็มที่ อาจนำไปสู่อาการหัวใจวายได้ในผู้ที่มีปัญหาหัวใจและความดันอยู่แล้วได้ด้วย ผู้ป่วยสองโรคนี้จึงควรหลีกเลี่ยงอากาศร้อนมากกว่าคนทั่วไป อากาศร้อนทำให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น ยิ่งอากาศร้อนยิ่งเสี่ยงต่อภาวะขาดน้ำ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวอย่างความดันโลหิตไม่ว่าจะสูงหรือต่ำ ยิ่งเสี่ยงที่จะเกิดภาวะขาดน้ำ และอาจจะนำไปสู่โรคลดแดดได้ เพราะเหงื่อออกมาก และร่างกายต้องปรับอุณหภูมิให้ปกติเมื่อต้องอยู่ในที่ที่อากาศร้อนจัด ซึ่งผู้ป่วยความดันโลหิตสูงจะมีความผิดปกติของการไหลเวียนเลือดอยู่แล้ว ยิ่งเสี่ยงที่จะเป็นโรคลมแดดได้มากกว่าคนทั่วไป ลดความเสี่ยงให้ผู้ป่วยโรคหัวใจและโรคความดันโลหิตในช่วงหน้าร้อน 1. ดื่มน้ำเพียงพอ ผู้ป่วยความดันและหัวใจควรดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อช่วยรักษาอุณหภูมิร่างกายให้คงที่และชดเชยการสูญเสียน้ำจากเหงื่อ 2. หลีกเลี่ยงการไปกลางแจ้งในเวลาที่อากาศร้อนจัด พยายามอยู่ในที่ที่มีอากาศเย็น เช่น ใช้เครื่องปรับอากาศหรือพัดลม และหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมกลางแจ้งในเวลากลางวันที่อากาศร้อน 3. ใส่เสื้อผ้าที่เหมาะสม สวมใส่เสื้อผ้าที่ทำจากผ้าธรรมชาติ เช่น ผ้าฝ้าย ที่หลวมและสบาย เพื่อช่วยให้ระบายอากาศได้ดี 4. เลือกรับประทานอาหารฤทธิ์เย็นที่ช่วยบำรุงหัวใจ เช่น ต้มจืดตำลึง ต้มจืดมะระ ผัดบวบ แตงโม ช่วยให้คลายร้อนและรักษาสมดุลอุณหภูมิของร่างกายได้ดีขึ้น […]
ฝุ่นPM 2.5 เป็นอันตรายต่อ “หัวใจ-หลอดเลือด”
ผลกระทบจาก PM2.5 มีรายงานและการศึกษาออกมาเรื่อย ๆ ว่าส่งผลต่อสุขภาพในเรื่องอะไรบ้าง ซึ่งฝุ่นจิ๋วนี้มีผลกระทบต่อสุขภาพทั้งในระยะสั้น และระยะยาวมากกว่าที่หลายคนคิดและเข้าใจ โดยเฉพาะผู้ที่ป่วยเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด มาดูกันครับว่าอันตรายจากฝุ่น PM2.5 กระทบต่อหัวใจและหลอดเลือดได้อย่างไรบ้าง และเราจะมีวิธีดูแลสุขภาพหัวใจได้อย่างไร ฝุ่นPM2.5 ส่งผลต่อหัวใจและหลอดเลือดมากกว่าที่คิด ข้อมูลล่าสุดจากองค์การอนามัยโลกระบุว่า มากกว่า 20% ของการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดมีสาเหตุมาจากมลพิษทางอากาศ และมีมากกว่า 3 ล้านคนที่เสียชีวิต โดยมีปัจจัยด้านสภาพอากาศที่เป็นพิษเป็นตัวเร่งด้วย หากในอากาศมีฝุ่น PM 2.5 เกิน 10 – 25 ไมโครกรัมใน 1 ลูกบาศก์เมตรแล้วร่างกายได้รับเข้าไปติดต่อกันเป็นระยะเวลานานจะทำให้เกิดการอักเสบ ทำให้หลอดเลือดแข็งตัวได้มากกว่าปกติ การทำงานของเซลล์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับหัวใจ หลอดเลือด และสมองก็จะผิดเพี้ยนไปด้วย ซึ่งในระยะยาวทำให้เกิดโรคเรื้อรัง เช่น โรคปอด โรคหัวใจ และโรคมะเร็งได้ ฝุ่นPM2.5 ส่งผลเสียต่อหัวใจและหลอดเลือดได้อย่างไร ด้วยความที่มีขนาดเล็กมากจึงสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย ในภาวะเฉียบพลันสำหรับบางคนอาจจะส่งผลทำให้เส้นเลือดเปราะแตก และเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันได้เลย โดยเฉพาะกับผู้ที่เป็นโรคหัวใจและโรคที่เกี่ยวกับหัวใจ เพราะสามารถเข้าไปกระตุ้นให้โรครุนแรงขึ้น กระตุ้นให้เกิดการอักเสบ หลอดเลือดหนาขึ้น ส่งผลให้ผนังหัวใจหนาขึ้น […]
โรคหัวใจขาดเลือด ไม่เลือกวัย อายุน้อยก็เป็นได้
หัวใจเป็นหนึ่งในอวัยวะที่ทำงานหนักมากตลอดช่วงชีวิตของเรา เพราะต้องสูบฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยงทุกอวัยวะของร่างกายตลอดเวลา ซึ่งจากสถิติผู้ป่วยพบว่า กว่า 45% ของการเสียชีวิตเฉียบพลันมาจากโรคหัวใจขาดเลือด ซึ่งไม่ได้เกิดแค่กับผู้สูงอายุเท่านั้น คนที่อายุน้อยก็สามารถเกิดโรคหัวใจขาดเลือดได้ มารู้จักกับโรคนี้พร้อมหมั่นสังเกตอาการตัวเอง รวมถึงวิธีป้องกันกันครับ โรคหัวใจขาดเลือดเกิดจากอะไร? โรคหัวใจขาดเลือดเกิดจากหลอดเลือดที่ไปหล่อเลี้ยงหัวใจตีบหรือตัน จนทำให้กล้ามเนื้อหัวใจมีเลือดไปหล่อเลี้ยงไม่เพียงพอ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติ หากรุนแรงก็อาจจะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย เสี่ยงที่จะเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน อันตรายจนสามารถเสียชีวิตได้ สาเหตุของโรคหัวใจขาดเลือดเกิดได้จากอะไรบ้าง? – การสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์เป็นเวลานาน และมากจนเกินไป ซึ่งจะไปกระตุ้นให้หัวใจทำงานหนักตลอดเวลา – การรับประทานอาหารที่มีไขมันมากเกินไป จนไปสะสมในเลือด และเกิดการอุดตันในหลอดเลือด จนเลือดไม่สามารถไหลเวียนได้ – ผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน เพราะเสี่ยงที่จะมีไขมันปะปนในเลือด จนไปเกาะตามผนังหลอดเลือด และอุดตันในหลอดเลือดได้มากกว่าคนทั่วไป – เกิดจากพันธุกรรมหรือหัวใจผิดปกติแต่กำเนิด ก็อาจจะเสียงเกิดโรคหัวใจขาดเลือดได้มากกว่าคนปกติ สัญญาณเตือนของโรคหัวใจขาดเลือด – แน่นหน้าอก เหมือนโดนบีบรัด หรือกดทับเรื่อย ๆ อาการจะยิ่งแสดงออกเวลาต้องออกแรง เช่น ออกกำลังกาย ทำงานหนัก – เจ็บหน้าอกจนปวดร้าวไปที่บริเวณกล้ามเนื้ออื่น ๆ เช่น สันกราม สะบักหลัง หัวไหล่ […]