การดูแลหัวใจที่ดีที่สุดคือการดูแลหลอดเลือดร่วมไปด้วย เพราะหัวใจและหลอดเลือดทำงานร่วมกันอย่างแยกไม่ได้ หัวใจมีหน้าที่สูบฉีดเลือด หลอดเลือดมีหน้าที่ลำเลียงเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย อวัยวะสองส่วนนี้ต้องทำงานอย่างสอดรับกันจึงจะถือว่าสมบูรณ์ครับ วันนี้เลยจะมาแนะนำวิธีดูแลหลอดเลือดด้วยอาหารง่าย ๆ ที่อยู่ใกล้ตัว เลือกทานให้ดี ดีต่อใจ ดีต่อหลอดเลือด ถั่วประเภทต่าง ๆ ถั่วนับเป็นโปรตีนจากพืชที่มีปริมาณโปรตีนสูงมากและมีประโยชน์ ทั้งยังมีไขมันไม่อิ่มตัว นับเป็นไขมันดีที่ร่างกายสามารถนำไปใช้ได้เลย ช่วยลดความเข้มข้นของคอเลสเตอรอล รักษาสมดุลไขมันในหลอดเลือด ทั้งยังมีวิตามินและเส้นใยอาหาร ช่วยเรื่องการขับถ่าย มีสารต้านอนุมูลอิสระมากมายอีกด้วย แนะนำทานวันละกำมือสม่ำเสมอ กระเทียม/ขิง สองอย่างนี้นับเป็นสมุนไพรคู่ครัวไทย หลายบ้านมีติดไว้ปรุงอาหาร ซึ่งสมุนไพรทั้งสองนี้มีฤทธิ์ร้อน ช่วยลดคอเลสเตอรอลในหลอดเลือดได้ ช่วยให้เลือดลมไหลเวียนได้ดี กระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทาน ทั้งยังนับว่าเป็นยาอายุวัฒนะที่ราคาถูก มีสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยชะลอวัย ลดริ้วรอย และบำรุงผิวพรรณอีกด้วย สารสกัดจากฮอร์ธอร์น ฮอร์ธอร์นนับเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่ง สกัดจากพืชตระกูลเบอร์รี สมัยก่อนนิยมใช้ในการรักษาโรคอ้วนและเบาหวาน ทั้งยังมีสรรพคุณช่วยบำรุงหลอดเลือดและหัวใจ ช่วยขยายหลอดเลือดให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น ช่วยลดการอุดตันของไขมันในหลอดเลือดอีกด้วย นอกจากนี้ยังช่วยกระตุ้นการทำงานของเมแทบอลิซึมได้ดีขึ้น ช่วยการเผาผลาญ แครอท แครอทมอุดมไปด้วยเบต้าแคโรทีนซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยต้านเซลล์มะเร็ง และยังมีสารสำคัญที่ชื่อว่าฟอลคอรินอล ช่วยลดคอเลสเตอรอลในร่างกาย ให้เลือดสามารถไหลเวียนได้ดีขึ้น หลอดเลือดหัวใจแข็งแรงขึ้นด้วย มะเขือเทศ ในมะเขือเทศมีไลโคปีน ซึ่งนับว่าเป็นสารสำคัญที่สามารถช่วยลดความดันโลหิตสูงได้ ช่วยให้เลือดสามารถไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ […]
ลดความเสี่ยง “โรคหัวใจ” หยุดพฤติกรรมเหล่านี้!
โรคหัวใจอาจจะพบได้บ่อยในผู้สูงอายุนะครับ แต่ก็มีรายงานออกมาเรื่อย ๆ ว่าโรคหัวใจเริ่มพบได้ในคนที่อายุน้อยลงเรื่อย ๆ ด้วยปัจจัยด้านพฤติกรรมของผู้คนในปัจจุบันที่กระตุ้นให้เกิดโรคหัวใจได้ง่ายและเร็วขึ้น แต่ก็ไม่ใช่ว่าไม่มีทางป้องกันได้ มาดูว่าพฤติกรรมอะไรบ้างที่เราต้องเลี่ยง เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหัวใจครับ 1. เลี่ยงการทานอาหารที่มีไขมันสูง อาหารจำพวกไขมันสูง ไม่ว่าจะเป็นของทอด ของมัน หรืออาหารแปรรูปต่าง ๆ มักจะเต็มไปด้วยไขมันแฝงปริมาณเยอะมาก ๆ นะครับ โดยเฉพาะอาหาร Junk food หรืออาหารฟาสต์ฟู้ดต่าง ๆ ซึ่งอาหารที่มีปริมาณไขมันสูงก็จะมีคอเลสเตอรอลสูงด้วย มีความเป็นไปได้ที่จะเข้าไปแทรกตามหลอดเลือดและปะปนในกระแสเลือดได้ อาจจะเข้าไปอุดตันตามในหลอดเลือด ซึ่งมีความเสี่ยงที่เกิดลิ่มเลือดและเข้าไปอุดตันหลอดเลือดหัวใจได้ แน่นอนว่าก็จะอาจจะเป็นโรคหัวใจอย่างไม่ต้องสงสัยเลย 2. ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ แม้จะเป็นพฤติกรรมที่ยาก แต่น้ำหนักของเราไม่ขึ้นง่าย ๆ ภายในหนึ่งหรือสองวัน อยากให้ทุกคนสังเกตรูปร่างและร่างกายของตัวเองตลอด หมั่นชั่งน้ำหนักและคำนวนค่า BMI หรือ ค่าดัชนีมวลกาย ให้น้ำหนัก อายุ และส่วนสูงเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งอาหารที่เรารับประทานแต่ละมื้อมีผลอย่างมากนะครับ เราไม่ควรทานอาหารในปริมาณที่มากจนเกินไป เลี่ยงการทานบุฟเฟ่ต์เพราะจะทำให้เราทานมากขึ้นเพราะกลัวไม่คุ้ม ลดการทานน้ำตาลและอาหารจำพวกแป้งสูง เพราะอาหารเหล่านี้ทำให้น้ำหนักขึ้นง่ายมาก ๆ เน้นทานโปรตีนไขมันน้อย เลือกประเภทอาหารที่มีไขมันดีเยอะ ๆ จำพวกธัญพืชและผักผลไม้ หรือใช้วิธีสังเกตหลักคุณค่าโภชนาการหน้าบรรจุภัณฑ์อาหารก่อนซื้อทานก็ดีนะครับ เราจะได้รู้ว่าอาหารแต่ละอย่างควรบริโภคเท่าใดถึงจะไม่เกินความต้องการของร่างกาย […]
ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง อยากเริ่มออกกำลังกายต้องรู้อะไรบ้าง?
สำหรับผู้ป่วยความดันโลหิตสูงหลาย ๆ อาจจะกลัวการออกกำลังกาย เพราะการขยับร่างกายเร็ว ๆ หลายคนก็อาจจะเวียนหัวหน้ามืดได้ เลยไม่พยายามที่จะออกกำลังกาย แต่รู้หรือไม่ว่าการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ไม่ต้องหนัก ไม่ต้องฝืน หรือเหนื่อยจะจนเกิน สามารถช่วยให้ความดันโลหิตกลับมาเป็นปกติได้นะครับ มาดูกันครับว่าสิ่งที่ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงควรรู้ก่อนออกกำลังกายมีอะไรบ้าง ความเข้าใจผิด โรคความดันโลหิตสูงไม่ควรออกกำลังกาย การเกิดโรคความดันโลหิตมีหลายสาเหตุ แต่หนึ่งในปัจจัยที่มองข้ามไม่ได้ คือ การรับประทานอาหารรสจัดเป็นประจำ ซึ่งส่งผลให้เลือดมีความหนาแน่นและความดันสูงขึ้น ไขมันจะซึมผ่านหลอดเลือดเข้าไป ทำให้รูหลอดเลือดแคบลง สิ่งที่ตามมาคือเลือดไหลเวียนได้ลำบากมากขึ้น ซึ่งทำให้หลายคนเข้าใจผิดว่าการออกกำลังของคนที่เป็นโรคความดันสูงจะทำให้หัวใจเต้นแรงขึ้น เสี่ยงที่จะทำให้เส้นเลือดแตก แล้วกลายเป็นอัมพฤกษ์หรืออัมพาต หรือเสี่ยงภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน จึงเลี่ยงที่จะออกกำลังกาย แต่มีรายงานและวิจัยในปัจจุบันต่างบอกว่าการออกกำลังกายเป็นหนึ่งในปัจจัยที่จะสามารถควบคุมความรุนแรงของโรคได้นะครับ การออกกำลังกายช่วยควบคุมความดันโลหิตสูงได้ การออกกำลังกายสามารถช่วยควบคุมความดันโลหิตสูงได้ เพราะสามารถไปช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของเส้นเลือด ลดไขมันทั้งร่างกายและในหลอดเลือด เนื่องจากช่วงที่ออกกำลังกายร่างกายจะนำส่วนของไขมันไปใช้ ทำให้ความต้านทานในหลอดเลือดและหัวใจลดลง เลือดไหลเวียนและสูบฉีดได้ดีขึ้น ทำให้โดยรวมความดันโลหิตที่เคยสูงกว่าเกณฑ์ลดลงได้ นอกจากนี้การออกกำลังกายยังช่วยเพิ่มกล้ามเนื้อตามส่วนต่าง ๆ ช่วยให้การเผาผลาญเป็นไปได้ดีมากขึ้น ควบคุมประสิทธิภาพในการควบคุมน้ำหนัก ส่งผลให้ผู้ป่วยมีรูปร่างที่ดีขึ้น และมั่นใจในการรักษามากขึ้นอีกด้วย ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงออกกำลังกายแบบไหนดี แนะนำให้ออกกำลังกายที่เหนื่อยไม่มาก รู้สึกไม่หอบ หายใจได้ตามจังหวะ เช่น การออกกำลังกายแบบแอโรบิก การเดินเร็ว การว่ายน้ำ หรือโยคะ เป็นต้น ในช่วงแรกอาจจะทำครั้งละ 20-30 […]