เคยสงสัยไหมว่า? ทำไมบางทีเพื่อนป่วยเราอยู่ใกล้เพื่อนแต่เราไม่ได้ป่วยไปด้วย เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกัน (Immune system) ของแต่ละคนทำงานไม่เหมือนกัน โดยระบบภูมิคุ้มกันนี้จะทำหน้าที่ต้านทานเชื้อโรคและกำจัดสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกายเรา โดยเซลล์ที่ทำหน้าที่อย่างแข็งขันคือ “เซลล์เม็ดเลือดขาว” ที่ไหลเวียนในกระแสเลือดของเรา โดยถูกหล่อเลี้ยงด้วยอาหารที่เรารับประทานเข้าไป และปรับเปลี่ยนไปตามพฤติกรรมในการใช้ชีวิตของเรา นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมแต่ละคนถึงมีภูมิคุ้มกันในร่างกายไม่เท่ากันนั่นเอง ทำความรู้จักกับภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องคืออะไร? เป็นกลุ่มโรคที่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายผิดปกติ เป็นผลให้เกิดโรคติดเชื้อได้ง่ายและบ่อย แบ่งเป็น 1. ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องชนิดปฐมภูมิ (Primary immunodeficiency, PIDs) มักเป็นแต่กำเนิด และอาจถ่ายทอดทางพันธุกรรม 2. ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องชนิดทุติยภูมิ (Secondary immunodeficiency) อันเป็นภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องที่เกิดขึ้นในภายหลัง ไม่ได้เป็นแต่กำเนิด อาจเกิดจากหลายสาเหตุ อาการของภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ในช่วงแรกที่ติดเชื้อปริมาณไม่มาก และยังไม่ได้สร้างภูมิต้านทานขึ้นมาอาจยังตรวจหาเชื้อหรือภูมิต้านทานต่อเชื้อไม่พบ – มีอาการไข้ หนาวสั่น – เจ็บคอ ปวดเมื่อยตามตัว มีผื่นขึ้น – ต่อมน้ำเหลืองที่คอโต – อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายเหลว น้ำหนักลด หรือมีฝ้าขาวในช่องปาก – ผู้ติดเชื้อบางรายจึงอาจไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาตั้งแต่ในระยะนี้ ระยะติดเชื้อโดยไม่มีอาการ ผู้ติดเชื้อมักจะแข็งแรงเป็นปกติเหมือนคนทั่วไป แต่เมื่อตรวจเลือดจะพบเชื้อ HIV […]
PM 2.5 กลับมาแล้ว ผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดต้องระวังอะไรบ้าง?
นอกจากโควิด-19 ก็เห็นจะเป็น PM2.5 นี่แหละที่น่าจะอยู่กับเราอีกนาน เพราะปัญหาสิ่งแวดล้อมต้องใช้เวลาแก้ยาวนาน และทำไม่ได้ง่าย ๆ เลย สำหรับประเทศไทยช่วงต้นปีจะเป็นช่วงที่อากาศชื้นลดลง ทำให้ฝุ่นละอองจากปัจจัยต่าง ๆ ไม่ว่าจะเชื้อเพลิง การเผาไหม้ทางการเกษตร และการเผาไหม้จากอุตสาหกรรม กลับมาสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งอนุภาคขนาดเล็กที่เราต้องหายใจร่วมกับมันส่งผลกระทบต่อสุขภาพ คนปกติรับมือยากแล้ว ผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดยิ่งต้องระวังเพิ่มขึ้น PM2.5 ส่งผลต่อสุขภาพทั้งระยะสั้นและระยะยาว อนุภาค PM2.5 มีขนาดเล็กมาก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น (ยกเว้นจะปกคลุมชั้นบรรยากาศจนทำให้ทัศนวิสัยยากต่อการมองเห็น) โดยหากสัมผัสโดยตรงเป็นเวลานานก็อาจจะทำให้ระคายเคืองผิว ดวงตา เจ็บคอ คัดจมูก หรือเกิดความผิดปกติต่อทางเดินหายใจได้ ผู้ที่มีอาการหอบหืดหรือเป็นภูมิแพ้ก็จะยิ่งมีอาการเด่นชัด สำหรับระยะยาวการสูดดม PM2.5 เป็นระยะเวลานานอาจจะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคทางเดินหายใจ และอาจจะก่อให้เกิดมะเร็งปอดได้ในอนาคตด้วย PM2.5 กับผู้ป่วยโรคมะเร็งปอด มีการศึกษาว่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 อาจจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงระดับยีน ตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงโมเลกุลขนาดเล็กที่กำหนดการแสดงของยีนในร่างกาย จนไปสู่การกลายพันธุ์ หรือแบ่งตัวผิดปกติในเซลล์ และอาจจะทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะทำให้เซลล์กลายพันธฺุ์ไปเป็นมะเร็งปอดได้ และผู้ที่ป่วยเป็นมะเร็งปอดอยู่แล้ว PM2.5 ยิ่งจะเป็นตัวเร่งและสิ่งเร้าที่ทำให้อาการของโรคหนักขึ้น หรือเกิดผลข้างเคียงในการรักษาง่ายขึ้นด้วย ช่วงที่ PM2.5 กลับมานับเป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากของผู้ป่วยมะเร็งปอดเลยทีเดียว ผู้ป่วยและผู้ดูแลต้องยกระดับการดูแลให้มากขึ้น การดูแลผู้ป่วยมะเร็งปอดช่วง PM2.5 – […]
รับมือกับโควิดโอไมครอน ต้องเสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย
การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนายังคงต้องจับตามองอย่างใกล้ชิด และให้ทุกคนตื่นตัวอย่างสม่ำเสมอนะครับ ล่าสุดพบการกลายพันธุ์ครั้งใหม่คือ “โอไมครอน (Omicron)” นับเป็นการคลายพันธุ์ของโคโรนาไวรัสที่มีแนวโน้มที่จะรุนแรงและแพร่เชื้ออย่างรวดเร็วกว่าสายพันธุ์ก่อนหน้ามากทีเดียว ความน่ากังวลของโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน การกลายพันธุ์ของเชื้อโควิด-19 โอไมครอน เป็นการกลายพันธุ์บริเวณตำแหน่งโปรตีนหนามที่ไวรัสยึดเกาะ ซึ่งจะเข้าสู่เซลล์ร่างกายของเราได้ง่ายขึ้น นักวิทยาศาสตร์คาดว่าจะทำให้เกิดการติดเชื้อและการแพร่ระบาดมีอัตราการติดเชื้อสูงกว่าสายพันธุ์ก่อนหน้า ทั้งนี้สายพันธุ์โอไมครอนอาจจะยังหลบหลีกภูมิคุ้มกันจากวัคซีนที่ฉีดไปก่อนหน้านี้ รวมถึงคนที่เคยติดโควิด-19 สายพันธุ์อื่น ๆ ด้วย ภูมิคุ้มกันที่มีก็อาจจะไม่สามารถป้องกันโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนได้เช่นกัน ความน่ากังวลมันเลยอยู่ตรงนี้ด้วย อาการและความรุนแรงหากติดเชื้อโควิดโอไมครอน – ยังคงได้กลิ่น และรับรู้รส – ปวดเมื่อยตามร่างกาย และกล้ามเนื้อ – เป็นไข้ บางรายอาจจะไม่เป็นไข้สูง – รู้สึกอ่อนเพลีย มีไอร่วมด้วย – หลายรายสายสามารถรักษาตัวที่บ้านและหายได้ภายใน 5-7 วัน – ผู้ป่วยสูงอายุและผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง อาจจะมีอาการรุนแรงกว่าผู้ที่มีร่างกายแข็งแรง และมีอายุน้อย ผู้ดูแลและคนในครอบครัวต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด การฉีดวัคซีนที่มีอยู่ยังเป็นความจำเป็นในการป้องกันการเสียชีวิต แม้จะยังไม่มีรายงานที่ชัดเจนว่าวัคซีนที่มีอยู่ตอนนี้สามารถป้องกันการติดเชื้อและแพร่ระบาดของโควิดโอไมครอนได้หรือไม่ แต่นักวิทยาศาสตร์ก็ย้ำว่าการฉีดวัคซีนที่มีอยู่ตอนนี้ สามารถป้องกันการป่วยรุนแรงและการเสียชีวิตหากติดเชื้อโควิดโอไมครอนได้ หากใครที่ฉีดวัคซีนครบโดสแล้ว ให้เร่งไปฉีดเข็มบูสต์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันนะครับ ดูแลตัวเองให้มากขึ้น เสริมภูมิด้วยเบต้ากลูแคน ยังคงแนะนำให้ปฏิบัติตามมาตรการในการแพร่ระบาดของโควิด-19 เหมือนเดิม แต่อาจจะต้องเข้มข้นและระมัดระวังมากขึ้น […]