เมื่ออากาศเย็นลงสังเกตได้ว่าเรามีแนวโน้มที่จะป่วยง่ายขึ้น เช่น เป็นหวัด เจ็บคอ หรือมีอาการไอ น้ำมูกไหล ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิอาจส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย แม้ว่าอากาศเย็นเองจะไม่ทำให้เราป่วยโดยตรง แต่การเปลี่ยนแปลงนี้สามารถกระตุ้นให้ร่างกายมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อมากขึ้นได้ในหลาย ๆ ทาง ฉะนั้นมีวิธีป้องกันและดูแลสุขภาพช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อยอย่างไร มาดูกันครับ 1. การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันลดลง เมื่ออุณหภูมิอากาศลดลงส่งผลต่ออุณหภูมิของร่างกายอาจจะลดลงตามไปด้วย ซึ่งส่งผลต่อประสิทธิภาพของระบบภูมิคุ้มกัน การทำงานของเม็ดเลือดขาว ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกันที่ช่วยต่อสู้กับเชื้อโรคลดลง อาจจะทำให้ร่างกายไม่สามารถกำจัดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียที่เข้าสู่ร่างกายได้เร็วเท่าที่ควร จึงเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อได้ง่ายขึ้นด้วย 2. การไหลเวียนโลหิตที่ช้าลง อากาศเย็นทำให้หลอดเลือดหดตัวและการไหลเวียนของเลือดช้าลง ส่งผลให้เลือดและสารอาหารที่จำเป็นต่อการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันไม่สามารถไปถึงอวัยวะและส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะบริเวณเยื่อเมือกในระบบทางเดินหายใจที่เป็นด่านแรกในการป้องกันเชื้อโรค การไหลเวียนโลหิตที่ช้าลงนี้ทำให้ระบบป้องกันเชื้อโรคทำงานได้ไม่เต็มที่ ทำให้เชื้อไวรัสและแบคทีเรียสามารถเจริญเติบโตได้ง่ายขึ้น 3. การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการแพร่ของเชื้อโรค ในช่วงที่อากาศเย็นลงหลายคนมักใช้เวลาอยู่ในบ้านหรือในที่อโคจรมากขึ้น ซึ่งทำให้มีโอกาสสัมผัสกับเชื้อโรคที่แพร่กระจายผ่านอากาศมากขึ้น นอกจากนี้เชื้อไวรัสบางชนิด เช่น ไวรัสไข้หวัดใหญ่ จะสามารถอยู่รอดและแพร่กระจายได้ดีในสภาพแวดล้อมที่เย็นและแห้ง ทำให้การแพร่ระบาดของโรคทางเดินหายใจในช่วงอากาศเย็นเกิดขึ้นได้ง่ายขึ้นกว่าปกติ 4. การทำงานของเยื่อเมือกลดลง อากาศเย็นและแห้งส่งผลให้เยื่อเมือกในระบบทางเดินหายใจ เช่น จมูกและคอแห้งได้ง่าย เยื่อเมือกที่แห้งนี้ทำให้เชื้อโรคสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายขึ้น เนื่องจากไม่มีความชุ่มชื้นที่ช่วยดักจับและขจัดเชื้อโรค การขาดความชุ่มชื้นในทางเดินหายใจจึงเป็นปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อได้ 5. อารมณ์และระดับความเครียดที่เพิ่มขึ้น อากาศเย็นมักทำให้หลายคนรู้สึกเหงาหรือรู้สึกเศร้ากว่าปกติ เพราะต้องจำกัดตัวเองอยู่ในที่อบอุ่น ซึ่งมีการศึกษาว่าอากาศที่เย็นลงส่งผลต่ออารมณ์และความเครียด ซึ่งความเครียดก็ส่งผลทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ไม่ดีเท่าที่ควร การขาดแสงแดดยังส่งผลให้ระดับวิตามินดีในร่างกายลดลง ซึ่งวิตามินดีมีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน […]
ลดความเสี่ยงโรคจากปรสิต อันตรายที่ป้องกันได้ด้วยภูมิคุ้มกัน
ในช่วงฤดูฝนที่อากาศชื้น เสี่ยงน้ำท่วม และมีโอกาสที่เชื้อโรคจะสามารถเติบโตและแพร่กระจายได้ง่าย โรคหนึ่งที่น่าเป็นกังวล คือ โรคที่เกิดจากปรสิต เพราะนับเป็นหนึ่งในภัยเงียบที่สามารถก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายได้อย่างร้ายแรง ปรสิตเหล่านี้สามารถพบได้ในอาหาร น้ำ หรือแม้แต่ในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ที่เราใช้ชีวิตประจำวัน การดูแลระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจึงเป็นปราการสำคัญในการช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงของการติดเชื้อจากปรสิต และการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันจึงเป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญเพื่อป้องกันโรคร้ายที่อาจเกิดขึ้นได้ ปรสิตคืออะไร? ปรสิตเป็นสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ เพื่อรับประโยชน์ในการดำรงชีวิต ปรสิตบางชนิดอาจไม่ก่อให้เกิดอันตราย แต่หลายชนิดสามารถทำให้เกิดโรคร้ายแรงได้ เช่น โรคมาลาเรีย โรคทริคิโนซิส และโรคพยาธิใบไม้ตับ การติดเชื้อจากปรสิตเหล่านี้สามารถทำให้เกิดการอักเสบ อ่อนเพลีย และในกรณีรุนแรงอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ ภูมิคุ้มกันกับการป้องกันการติดเชื้อจากปรสิต ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเป็นด่านแรกที่คอยป้องกันเชื้อโรค รวมถึงปรสิตต่าง ๆ ระบบภูมิคุ้มกันทำงานโดยการตรวจจับและกำจัดสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย เช่น เชื้อโรคและปรสิต ผ่านกระบวนการทางชีวเคมีหลายอย่าง หากร่างกายมีระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง เราจะสามารถลดความเสี่ยงของการติดเชื้อจากปรสิตได้อย่างมาก วิธีลดความเสี่ยงจากปรสิตด้วยการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน 1. บริโภคอาหารที่เสริมภูมิคุ้มกัน การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการได้รับสารอาหารที่ช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน เช่น วิตามิน C, วิตามิน D, ซิงค์ (Zinc) และโปรตีน นอกจากนี้ยังมีสารสกัดที่ช่วยส่งเสริมภูมิคุ้มกันอย่างเบต้ากลูแคน เป็นสารอาหารประเภทใยอาหารชนิดแป้ง […]
“ภาวะจมูกไว” คล้ายภูมิแพ้ แท้จริงคืออะไร ดูแลสุขภาพอย่างไร?
จามติดต่อกันเป็นวัน ๆ น้ำมูกไหล ดวงตาล้า รู้สึกอ่อนเพลีย คล้ายจะมีไข้ แต่พอได้พักผ่อนก็อาการดีขึ้น ที่สำคัญอาการเหล่านี้ไม่เคยเป็นเลยทั้งชีวิต ไม่ได้มีประวัติภูมิแพ้ และเกิดขึ้นในวัยผู้ใหญ่ นี่อาจจะเป็นสัญญาณของ “ภาวะจมูกไว” ที่คล้ายภูมิแพ้แต่ไม่ใช่ มาดูกันว่าโรคนี้คืออะไรและมีวิธีการป้องกันอย่างไร ภาวะจมูกไว คืออะไร? ภาวะจมูกไว หรือที่เรียกว่า Non-Allergic Rhinitis (NAR) เป็นอาการที่คล้ายกับโรคภูมิแพ้ทางจมูก (Allergic Rhinitis) แต่เกิดจากสาเหตุที่ไม่เกี่ยวข้องกับภูมิคุ้มกันของร่างกาย คนที่มีภาวะนี้จะมีอาการคล้ายกับโรคภูมิแพ้ เช่น น้ำมูกไหล คัดจมูก จาม และคันจมูก แต่ไม่ได้เกิดจากการแพ้สารก่อภูมิแพ้เช่น ฝุ่นละออง เกสรดอกไม้ หรือสารเคมีบางชนิด สาเหตุของภาวะจมูกไว ภาวะจมูกไวสามารถเกิดจากหลายสาเหตุที่ไม่เกี่ยวข้องกับการแพ้ โดยทั่วไปแล้วแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่คือ 1. สาเหตุที่เกิดจากปัจจัยทางกายภาพและเคมี – การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิหรือความชื้น – กลิ่นแรง เช่น น้ำหอม สารเคมีในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด – มลพิษทางอากาศ เช่น ควันบุหรี่ […]