ควันบุหรี่ที่ว่าอันตรายแล้ว เราก็ยังเลี่ยงได้ แต่ถ้าเป็นฝุ่นควันจาก PM2.5 ที่เราเลี่ยงได้ยากควรทำอย่างไรดี? ต้องยอมรับเลยครับว่าเรื่องปัญหาฝุ่นควันกระทบกับสุขภาพมวลรวมของเราจริง ๆ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาฝุ่น PM2.5 คล้ายจะเป็นฤดูประจำถิ่นของประเทศไทยไปแล้ว นอกจากปัญหาสุขภาพจากโรคระบาดที่เราต้องรับมือ ก็ต้องตื่นตัวเรื่องการรับมือเรื่องฝุ่นควันด้วยเช่นกัน เพราะไม่ต่างจากการตายผ่อนส่งเลยครับ อันตรายของ PM2.5 ที่เป็นมากกว่าฝุ่นละออง ข้อมูลจากองค์กรอนามัยโลก (WHO) ได้ตั้งค่าเฉลี่ยฝุ่นละออง PM 2.5 ในอากาศว่าหากมีเกินกว่า 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ถือเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ขณะที่ประเทศไทยกำหนดอันตรายของฝุ่น PM 2.5 อยู่ที่ 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร แต่จากสถิติที่ผ่านมากค่าฝุ่น PM2.5 เข้าขั้นวิกฤติ บางพื้นที่เข้มข้นเกิน 100 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร โดยเฉพาะบริเวณที่การจราจรหนาแน่น เขตอุตสาหกรรม หรือเขตก่อสร้างขนาดใหญ่ และเนื่องด้วยขนาดที่เล็กมากมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า เมื่อหายใจเข้าไปสามารถเข้าไปเกาะที่ปอด และไหลเวียนไปตามกระแสเลือดได้ ซึ่งกระทบต่อปัญหาสุขภาพมากมาย PM2.5 ภัยร้ายต่อปอด และก่อมะเร็ง เมื่อเป็นอนุภาคขนาดเล็กมากทำให้เราไม่รู้ได้เลยว่าสูดดม PM2.5 ไปมากน้อยเท่าไหร่ ซึ่งแน่นอนอวัยวะแรกที่ได้รับผลกระทบคือระบบทางเดินหายใจและปอด ยิ่งขนาดที่เล็กมากผ่านเข้าสู่ทางเดินหายใจ ผู้ป่วยที่เป็นโรคหอบหืดจะกำเริบได้ง่าย หรือคนที่ไม่ได้ป่วยก็มีโอกาสเป็นโรคหอบหืดได้มากขึ้น ซึ่งกว่าเราจะรู้ตัวว่า […]
หายจากโควิดแล้วเชื้อยังอยู่ ต้องเร่งเสริมภูมิ!
จากการกลายพันธุ์ของโคโรนาไวรัสในช่วงที่ผ่านมา ทำให้การติดเชื้อง่ายขึ้น จากยอดผู้ติดเชื้อที่สูงตลอดช่วงที่ผ่านมา แต่อาการของผู้ติดเชื้อรอบนี้นับว่าไม่หนักมาก และสามารถหายได้ภายในไม่กี่วัน จนขนาดที่มีหลายคนบอกว่า “ถ้าเราไม่มีเพื่อนติดโควิดอาจจะแปลว่าเราไม่มีเพื่อน” สำหรับใครที่เคยติดเชื้อโควิด-19 มาแล้ว แนะนำต้องเร่งเสริมภูมิคุ้มกันนะครับ เพราะแม้อาการจะไม่หนัก แต่เชื้อโควิดก็ไม่ใช่ไข้หวัดธรรมดาแน่นอน หายจากโควิดแล้ว ติดเชื้อซ้ำได้ไหม? ก่อนหน้าที่สายพันธุ์โอมิครอนจะระบาด พบว่าภายในระยะเวลา 1 เดือน ที่ได้รับเชื้อแล้ว จะไม่มีการติดเชื้อซ้ำ แต่หากเลยระยะเวลานี้ไปความเสี่ยงที่จะสามารถติดเชื้อซ้ำได้อีกเทียบกับคนที่ไม่เคยติดเชื้อมาก่อนเลย และสำหรับโควิดสายพันธุ์โอมิครอนพบว่าผู้ป่วยสามารถติดเชื้อซ้ำได้ภายใน 1-2 เดือนหลังจากที่ติดเชื้อครั้งแรก โดยใช้วิธีในการพิสูจน์การติดเชื้อซ้ำดูได้จากค่า CT (Cycle threshold) หรือ ค่าการเพิ่มของสารพันธุกรรมไวรัสโควิด ถ้าไปตรวจ RT-PCR จะพบว่า มีค่าลดลง และมีอาการขึ้นมาใหม่ จากเดิมที่ผู้ป่วยไม่มีไข้ การติดเชื้อครั้งนี้อาจจะมีไข้สูง โดยจากการศึกษาข้อมูลทั่วโลกพบว่า มีการติดเชื้อซ้ำได้ภายใน 1-2 เดือนแรก มากถึง 10-20% Long-COVID ก็ยังน่าห่วง ภาวะหลังจากได้รับเชื้อโควิด-19 ที่ได้รับเชื้อนาน 4 สัปดาห์ หรือ 12 สัปดาห์ขึ้นไป อาหารที่พบมีหลากหลาย และมีความแตกต่างกันไป อาการที่พบได้บ่อยที่สุด […]
รู้หรือไม่? อาหารรสเค็มก็เสี่ยงเป็นเบาหวานได้!
หมูกระทะ ชาบู กะเพราหมูกรอบ ยำ ส้มตำ ใครชอบอาหารเหล่านี้บ้างครับ? เชื่อว่าเป็นเมนูโปรดของใครหลายคนเลย บางคนทานอาหารเหล่านี้บ่อย ๆ แต่รู้หรือไม่ครับว่าอาหารที่ยกตัวอย่างไปนอกจากความอร่อยติดลิ้นแล้ว ก็ยังเต็มไปด้วยโซเดียมหรือความเค็มเป็นรสหลักอีกด้วย การรับประทานอาหารรสเค็มติดต่อกันจะส่งผลต่อการทำงานของไต อาจจะเสี่ยงเป็นโรคไตในอนาคต และอาจจะเสี่ยงเป็นเบาหวานได้ด้วยนะ ทำไม “รสเค็ม” ถึงทำให้เสี่ยงเป็นเบาหวานได้? เวลาที่เรารับประทานอาการรสเค็มจะทำให้เราร่างกายผลิตสารโดปามีนมากขึ้น ทำให้เรารู้สึกพึงพอใจในรสชาติของอาหาร มีความสุขขณะรับประทาน และลิ้นสามารถรับรู้รสได้มากยิ่งขึ้น ส่งผลให้เราสามารถรับประทานอาการมื้อนั้น ๆ ได้มากขึ้น หากใครที่ชื่นชอบรสเค็มก็ยิ่งทำให้สมองจดจำรสชาตินั้น และทำให้เราอยากทานอาหารที่มีรสเค็มซ้ำ ๆ ซึ่งทำให้เราได้รับสารอาหารเกินความต้องการของร่างกาย เสี่ยงต่อน้ำหนักตัวขึ้นง่าย ไขมันส่วนเกิน และคอเลสเตอรอลในร่างกายที่สูงขึ้น สุดท้ายก็อาจจะเป็นโรคเบาหวานได้นั่นเองครับ เราบริโภคความเค็มได้วันละเท่าไหร่? ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ที่ออกมารณรงค์ให้ประชากรบริโภคเกลือไม่เกิน 1 ช้อนชา หรือ 5 กรัมต่อคนต่อวัน หรือโซเดียมไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัม ซึ่งเป็นปริมาณที่จะไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อร่างกาย เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้องรัง หรือ NCDs เพราะปัจจุบันคนเป็นโรคนี้จำนวนมาก สำรวจตัวเองว่าเป็นคนติดอาหารรสเค็มหรือไม่? สังเกตตัวเองว่าเวลานึกถึงอาหารที่อยากทานเป็นอาหารแบบใด ถ้าเป็นอาหารรสจัด อาหารแปรรูปอย่างไส้กรอก แฮม ลูกชิ้น […]