ภาวะคัดจมูก อาจเป็นมากกว่าแค่คัดจมูก คัดจมูก น้ำมูกไหล อาจไม่ใช่แค่หวัด ภาวะคัดจมูกเรื้อรังเกิดจากการอักเสบของ เยื่อบุโพรงจมูกด้านใน หรือผนังกั้นจมูก ทำให้ผู้ป่วย น้ำมูกไหล จาม ปวดศีรษะ และหายใจไม่สะดวก หากไม่รักษาให้หายขาดหรือปล่อยทิ้งไว้นานอาจทำให้เกิดภาวะคัดจมูก ซึ่งจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบอื่นๆ ของร่างกายได้เช่นกัน ภาวะคัดจมูกบอกโรคที่แอบแฝงในร่างกายอย่างไรบ้าง • ระบบหายใจส่วนล่างทำงานหนักขึ้น เพราะเมื่อคัดจมูกแล้วผู้ป่วยมักจะหายใจทางปากแทน ทำให้อากาศเย็นและความชื้นผ่านลงไปในทางเดินหายใจส่วนล่าง ระบบหายใจส่วนล่างจึงต้องทำงานหนักขึ้น รวมทั้งเสี่ยงต่อการอักเสบและระคายเคืองด้วย • หูอักเสบ เมื่อเป็นหวัดเยื่อบุในท่อ Eustachian tube ซึ่งเชื่อมระหว่างหูชั้นกลางและโพรงหลังจมูก จะบวมและตีบตันทำให้ไม่สามารถระบายความดันอากาศในช่องหูชั้นกลางได้ จึงก่อให้เกิดอาการปวดหู หูอื้อ และอาจติดเชื้อจนกลายเป็นหูอักเสบและหูน้ำหนวก • ท่อน้ำตาอุดตัน เมื่อเป็นหวัดจะทำให้เยื่อบุโพรงจมูกบวม จนน้ำตาไม่สามารถไหลลงไปที่โพรงจมูกได้ ทำให้ท่อน้ำตาอุดตัน มีอาการตาแฉะหรือน้ำตาเอ่อในตา ถ้าอาการรุนแรงขึ้นอาจมีน้ำตาไหลตลอดเวลา • โรคหยุดหายใจขณะหลับ อาการคัดจมูกจะทำให้ผู้ป่วยพยายามหายใจเข้าจนเกิดความดันในทางเดินหายใจส่วนบนจนทำให้ทางเดินหายใจตีบแคบ […]
กินแบบไหนเสี่ยงมะเร็งลำไส้ ปิ้งย่าง VS ชาบู
มะเร็งลำไส้ใหญ่ ไม่ได้เสี่ยงแค่ปิ้งย่าง เพื่อนๆ ทราบไหมครับว่า เมนูแสนอร่อยที่เรารับประทานอยู่ทุกวัน แฝงไปด้วยปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยเฉพาะอาหารแปรรูปที่ผ่านการหมัก รมควัน หรือกระบวนการต่าง ๆ ที่เพิ่มรสชาติหรือถนอมอาหาร เช่น เบคอน ไส้กรอก แหนม ลูกชิ้น หมูยอ และกุนเชียง เป็นต้น ซึ่งอาหารเหล่านี้มีสารเคมี ไนโตรซามีน (nitrosamine) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง เมื่อมีการสะสมในร่างกายจะทำปฏิกิริยากับปัจจัยอื่นในร่างกาย เช่นการอักเสบของระบบทางเดินอาหาร หรือสารอื่นที่ร่างกายได้รับผ่านทางอาหาร ส่งผลให้เซลล์ปกติกลายเป็น ‘เซลล์มะเร็ง’ ได้ ในปัจจุบันร้านอาหารแนวบุฟเฟต์ กลายเป็นที่นิยมมากขึ้น โดยเฉพาะแนวปิ้งย่างและชาบู แต่ทราบไหมครับว่า การรับประทานเนื้อแดงไม่ว่าจะเป็น เนื้อหมู เนื้อวัว เนื้อแกะ หรือเนื้อแพะ ที่ถูกประกอบอาหารในความร้อนสูงจนเกรียมแบบปิ้งย่าง หรือ ถูกประกอบอาหารในความร้อนสูงแบบต้ม ก็มีความเสี่ยงเกิดมะเร็งได้เช่นกัน เนื่องจากการนำเนื้อแดงไปประกอบอาหารในความร้อนสูง จะทำให้เกิด ‘สารโพลีไซคลิกอโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (PAH) และสารเฮเทอโรไซคลิกอโรมาติกเอมีน (HAA)’ ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งได้เช่นกัน เป็นที่น่าสนใจว่าความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งที่ลำไส้ใหญ่นั้น เพิ่มขึ้นตามปริมาณเนื้อแดงที่รับประทาน โดยพบว่าการรับประทานเนื้อแดงปริมาณ 100 กรัมต่อวัน เพิ่มความเสี่ยงมะเร็งที่ลำไส้ใหญ่มากขึ้น […]
อาการแบบนี้ อาจเสี่ยงมะเร็งกระเพาะอาหาร
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง มะเร็งกระเพาะอาหาร “ท้องอืดท้องเฟ้อหรืออาหารไม่ย่อยเป็นประจำคลื่นไส้อาเจียนเบื่ออาหารแสบร้อนบริเวณหน้าอก” อาการเหล่านี้อาจเป็นอาการเริ่มแรกของโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งในกระเพาะอาหาร เกิดจากการเจริญเติบโตผิดปกติและไม่สามารถควบคุมได้ของเซลล์เยื่อบุกระเพาะอาหาร จนแพร่กระจายไปสู่อวัยวะข้างเคียง โดยสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกบริเวณของกระเพาะอาหาร ซึ่งมีบางตำแหน่งที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ปัจจัยเสี่ยง ต่อโรคมะเร็งในกระเพาะอาหาร สาเหตุส่วนใหญ่ของโรคมะเร็งในกระเพาะอาหารเกิดจากการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนสารก่อมะเร็ง เช่น อาหารแปรรูป และอาหารปิ้งย่าง รวมถึงมีปัจจัยส่งเสริมความเสี่ยงของการเกิดโรค ดังนี้ • อายุที่เพิ่มมากขึ้น เพิ่มโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งในกระเพาะอาหารมากขึ้น • เพศชายมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งในกระเพาะอาหารสูงกว่าเพศหญิงถึง 2 เท่า • ผู้มีประวัติบุคคลใกล้ชิดในครอบครัวเป็นโรคมะเร็งในกระเพาะอาหาร • การติดเชื้อ Pylori แบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของแผลในกระเพาะอาหารและสร้างภาวะอักเสบ หากปล่อยทิ้งไว้เรื้อรังอาจนำไปสู่โรคมะเร็งในกระเพาะอาหาร • ผู้ที่เคยผ่าตัดกระเพาะอาหาร • ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคโลหิตจางบางชนิดโรคกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง […]