หลายคนทราบกันดีนะครับว่าผักและผลไม้มีประโยชน์ เป็นแหล่งรวมวิตามินและแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย แต่ผลไม้บางชนิดก็ต้องรับประทานแต่พอดี เพราะความหวานฉ่ำที่ใครชื่นชอบก็เป็นแหล่งรวมน้ำตาลจำนวนมากเช่นกัน มาดูกันดีกว่าว่าผลไม้อะไรบ้างเข้าข่ายน้ำตาลสูง ทานมากเสี่ยงเบาหวาน! ร่างกายของเราต้องการน้ำตาลวันละเท่าไหร่? องค์การอนามัยโลกได้กำหนดไว้ว่าร่างกายของคนเราในหนึ่งวันต้องการพลังงานจากน้ำตาลประมาณวันละ 6 ช้อนโต๊ะ หรือไม่เกิน 24 กรัม/วันเท่านั้น แต่คนไทยกลับมีสถิตินี่น่ากังวล เพราะบริโภคน้ำตาลมากกว่า 25 กรัมในหนึ่งวันเลยทีเดียว ตัวอย่างผลไม้น้ำตาลสูง เสี่ยงเบาหวานมีอะไรบ้าง? 1. กล้วยน้ำว้า ผลไม้ไทย ๆ ที่ใครก็รู้จักดี รสชาติหวานอมเปรี้ยวปลายลิ้น มีสารอาหารอย่างโพแทสเซียมและไฟเบอร์สูง ช่วยเรื่องขับถ่ายและช่วยให้นอนหลับได้อย่างดี แต่กลับมีประมาณน้ำตาลถึง 23 กรัม/ลูก เรียกได้ว่าเกือบเท่าปริมาณน้ำตาลที่ควรบริโภคต่อวันเลยนะครับ ฉะนั้นควรบริโภคไม่เกิน 1 ลูก/วัน 2. ลิ้นจี่ รสชาติหวานอมเปรี้ยว กลิ่นสดชื่น ช่วยเติมความกระปรี้กระเปร่าให้ร่างกาย คลายเครียด มีน้ำตาลประมาณ 18 กรัม/ลูก เลยไม่ควรทานเยอะเป็นพวง ๆ ไม่ได้นะครับ 3. มะม่วงสุก หลายคนชื่นชอบในเมนูข้าวเหนียวมะม่วง เมื่อมะม่วงสุกแป้งจากผลมะม่วงจะแปรเปลี่ยนเป็นน้ำตาลทำให้มีความหวาน มีประมาณน้ำตาลประมาณ 17 กรัม/ลูก ฉะนั้นทานลูกเดียวก็พอนะครับ ไม่ควรเบิ้ล […]
ทำไมความเครียด ส่งผลให้ภูมิคุ้มกันต่ำ
เมื่อตอนเราเป็นเด็กเราไม่เข้าใจว่าความเครียดคืออะไร แต่พอเราโตมาในวัยผู้ใหญ่ความเครียดเหมือนเป็น coming of age ว่าเราโตขึ้นแล้วจริง ๆ เพราะเป็นสิ่งที่ควบคู่กับการใช้ชีวิตของเราเลยก็ว่าได้ ยิ่งสภาพแวดล้อมทางสังคมเป็นแบบนี้ด้วยแล้ว เป็นเรื่องยากจริง ๆ ที่เราจะหลีกหนีความเครียดได้พ้น ที่สำคัญความเครียดสะสมเป็นตัวร้ายที่ทำให้ร่างกายของเรามีภูมิคุ้มกันต่ำลงได้อีกด้วย มาดูกันว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไร และจะบริหารจัดการความเครียดอย่างไร? ความเครียดคืออะไร? หลายคนอาจจะคิดว่าความเครียดคือภาวะทางอารมณ์ แต่จริง ๆ แล้ว ความเครียดก็คือการหดตัวของกล้ามเนื้อส่วนใดส่วนหนึ่งหรือหลายส่วนของร่างกาย ซึ่งเป็นการใช้ชีวิตปกติของเราในทุกวันนี่แหละครับ อย่างการทรงตัว การเดิน การนั่ง การเคลื่อนไหวโดยทั่วไป หรือบางครั้งที่เราคิดหรือมีอารมณ์ร่วมเกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง จะต้องมีการหดตัว เคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อแห่งใดแห่งหนึ่งในร่างกายเกิดขึ้นควบคู่ไปด้วยเสมอ ความเครียดส่งผลให้ภูมิคุ้มกันต่ำได้อย่างไร? เมื่อร่างกายเกิดความเครียดสะสมจะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายลดลง โดยเฉพาะการสร้างเม็ดเลือดขาว ซึ่งทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานของเม็ดเลือดขาวในการกำจัดเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกายลดลง สอดคล้องกับการทำงานของฮอร์โมนส์คอร์ติซอลที่ปกติร่างกายจะหลั่งออกมาในสถานการณ์คับขัน มีหน้าที่กระตุ้นให้ความดันโลหิตสูงขึ้นและอัตราการเต้นหัวใจเพิ่มขึ้นเพื่อเตรียมพร้อมร่างกายให้ต่อสู้กับปัญหาข้างหน้า แต่ถ้าเรามีความเครียดสะสมเรื้อรัง พักผ่อนไม่พอ หรือออกกำลังกายเกินพอดี ระดับฮอร์โมนส์นี้ที่สูงขึ้นจะเริ่มส่งผลเสียต่อร่างกายได้เช่นกัน ปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้เกิดความเครียด? สภาพเศรษฐกิจและสังคมนับเป็นปัจจัยหลักและสำคัญเพราะส่งผลต่อวิถีชีวิตของเรามากที่สุด โดยเฉพาะสภาพคล่องทางการเงิน มีรายงานว่าคนที่มีสภาพคล่องทางการเงินที่ดีจะมีความเครียดน้อยกว่าคนที่ไม่มีสภาพคล่องทางการเงิน นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่น ๆ อีก การดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ หรือกระทั่งดื่มกาแฟ ตลอดจนอาหารที่มีน้ำตาลในปริมาณสูงตลอด สิ่งสำคัญคงไม่พ้นการพักผ่อนไม่เพียงพอที่เป็นปัจจัยทางร่างกายที่สำคัญที่สุด คลายเครียดแบบถาวรทำไรอย่างไรบ้าง? วิธีคลายเครียดมีหลายวิธีมาก ๆ อย่างวิธีเฉพาะหน้าการใช้ยาช่วย […]
โรคหลอดเลือดหัวใจ เช็กอาการก่อนเสี่ยง!
โรคหัวใจหรือโรคหลอดเลือดหัวใจ อาจจะเป็นคำเรียกแทนชื่อโรคกว้าง ๆ ที่ครอบคลุมไปถึงภาวะและอาการหลากหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ ซึ่งอาจรวมถึงความผิดปกติของโครงสร้างหัวใจ ลิ้นหัวใจ หลอดเลือดหัวใจ และการควบคุมการเต้นจังหวะของหัวใจด้วย ซึ่งอาการของโรคจะแยกยากต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียดถึงจะรู้ครับ โดยสาเหตุของโรคหัวใจมีสองปัจจัยหลักๆ – ปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ คือ เป็นแต่กำเนิด หรือมีพันธุกรรมของคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ ก็อาจจะส่งมาถึงเราได้ อายุที่เพิ่มมากขึ้นก็จะมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้ได้มากขึ้น ปัจจัยเรื่องเพศมีงานวิจัยว่าผู้ชายมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจได้มากกว่าผู้หญิง จากฮอร์โมนส์ร่างกายที่ไม่เหมือนกันโดยผู้หญิงจะมีฮอร์โมนส์ควบคุมไขมันได้ดีกว่า – ปัจจัยที่สามารถควบคุมได้ คือ พฤติกรรมที่เราใช้ชีวิตอยู่ทุกวัน เช่น การสูบบุหรี่ การรับประทานอาหารไขมันสูง การไม่ออกกำลังกาย การพักผ่อนไม่เพียงพอ โดยพฤติกรรมสามารถสร้างความเสี่ยงให้เกิดโรคเกี่ยวกับหัวใจได้ทั้งสิ้น เช็กอาการก่อนเป็นโรคหัวใจ 1. เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก รู้สึกเจ็บจี๊ดหรือเจ็บหน่วงที่บริเวณหน้าอก หายใจติดขัด อึดอัด และแน่นบริเวณกลางหน้าอกเหมือนมีของหนักทับอยู่ อาการลักษณะเช่นนี้มักพบได้ในผู้ที่ป่วยเป็นโรค หลอดเลือดหัวใจตีบ ซึ่งมีไขมันอุดตันอยู่ภายในหลอดเลือดหัวใจ อาการจะปรากฏเมื่อออกแรงมาก ๆ 2. เหนื่อยตอนที่ออกกำลังกาย ขณะใช้แรงต่อเนื่องหรือต้องทำงานใช้แรงต่อเนื่อง จะรู้สึกมีอาการเหนื่อยมากกว่าปกติ หรือเหนื่อยง่ายกว่าที่เคย เพราะหัวใจทำงานหนักขึ้น เหนื่อย หอบ หน้ามืดได้ 3. เป็นลม หมดสติ เกิดจากหัวใจเต้นผิดจังหวะบ่อย […]