“อาหารการกินเป็นเรื่องใหญ่” วลีนี้ไม่ได้หมายถึงอาหารคือปัจจัยสี่ที่สำคัญต่อมนุษย์เท่านั้นนะครับ แต่อาหารเรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญของสุขภาพมวลรวมของเรา หากเรารับประทานอะไรเราก็จะได้สุขภาพแบบนั้น นอกจากนี้อาหารยังถือได้ว่าเป็นทั้งแหล่งพลังงาน รวมไปถึงแหล่งเสริมสร้างสุขภาพ และเยียวยาสุขภาพได้ด้วย วันนี้ Your จะมาแนะนำสารอาหารที่จะสามารถปกป้องเราจากไวรัสได้! มาดูกันว่ามีอะไรบ้าง วิตามินซี หลายคนอาจจะรู้อยู่ว่าวิตามินซีช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของเราได้ นอกจากนี้วิตามินซียังช่วยในกระบวนการทำลายเชื้อโรคได้ด้วย โดยปกติร่างกายเราควรได้รับวิตามินซีประมาณ 85-100 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งแหล่งวิตามินซีส่วนใหญ่จะอยู่ในผักและผลไม้ ผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง เช่น ฝรั่ง มะขามป้อม สตรอว์เบอร์รี มะละกอ ผักที่มีวิตามินซีสูง เช่น พริกหวาน ผักใบเขียวทุกชนิด ดอกกระหล่ำ ถั่วลันเตา เบต้ากลูแคน สารสกัดที่หลายคนคุ้นกันดีนะครับ โดยสามารถสกัดมากจากพืชธรรมชาติ เช่น ยีสต์ เห็ด ข้าวบาเล่ต์ และข้าวโอ๊ต และมีในเห็ดชนิดต่าง ๆ ด้วย ซึ่งทำให้มีสารสกัดเบต้ากลูแคนหลายประเภท แต่เบต้ากลูที่สกัดมาจากผนังเซลล์ของยีสต์ Saccharomyces Cerevisiae จะมีส่วนช่วยในการเสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย และนับว่ามีประสิทธิภาพสูงสุดเท่าที่วงการวิทยาศาสตร์รู้จักในปัจจุบัน ช่วยกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน โดยไปทำงานกับเม็ดเลือดขาวและยังบำรุงเม็ดเลือดขาวให้ทำงานได้อย่างปกติ นอกจากนี้ยังมีสารต้านอนุมูลอิสระ ลดระดับไขมันให้เลือดได้ด้วย ซึ่งสามารถรับประทานได้ทุกช่วงวัย แม้จะไม่ได้ป่วยก็สามารถทานเป็นวิตามินดูแลร่างกายได้ วิตามินเอ มีในอาหารประเภทเครื่องในสัตว์ […]
ความเสี่ยงโรคหัวใจ อาจเกิดจากการรับประทานอาหาร
หลายคนอาจจะยังเข้าใจว่าโรคหัวใจสามารถเกิดได้กับคนที่อายุมากหรือคนที่เป็นโรคหัวใจแต่กำเนิดเท่านั้น แต่หลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่าปัจจุบันโรคหัวใจเกิดได้กับคนที่อายุน้อยลง และไม่จำเป็นต้องเป็นตั้งแต่กำเนิดด้วย เพราะมีรายงานว่าคนเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะโรคหัวใจขาดเลือดที่เป็นสถิติที่น่าเป็นห่วงของประเทศไทย เพราะมีคนเสียชีวิตด้วยเหตุผลนี้มากที่สุดในบรรดาโรคหัวใจ ทำไมโรคหัวใจถึงมีปัจจัยที่เกิดได้ง่ายขึ้น? พามาหาคำตอบกันครับ การกินสำคัญต่อความเสี่ยงโรคหัวใจ ต้องยอมรับว่าปัจจุบันมีเรามีอาหารที่หลากหลาย โดยเฉพาะการเดินทางที่ไร้พรมแดนทำให้เรามีอาหารนานาชาติมากมาย ไหนจะนวัตกรรมทางอาหารที่ทำให้เราสามารถลิ้มรสอาหารได้ตามที่เราคิดแค่ปลายนิ้ว แต่ต้องยอมรับว่าอาหารรสอร่อยมักจะมีสารอาหารอย่างไขมัน โซเดียม หรือน้ำตาลสูง นั่นจึงทำให้เราต้องกลับไปรับประทานอีกเรื่อย ๆ โดยเฉพาะวัฒนธรรมการกินแบบบุฟเฟต์ยิ่งทำให้เราต้องทานอาหารต่อมื้อในปริมาณที่สูงเกินความต้องการของร่างกาย ส่วนใหญ่สาเหตุของโรคหัวใจในปัจจุบันเกิดจากการกิน สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคหัวใจ โดยเฉพาะโรคหลอดเลือดหัวใจจะเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต โดยเฉพาะการเลือกรับประทานอาหาร อาหารไขมันสูง น้ำตาลสูง หรือโซเดียมสูง เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคหัวใจได้ง่ายขึ้น เพราะไขมันที่สะสมในร่างกายจะสามารถไปเกาะตามผนังหลอดเลือด ทำให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนได้สะดวก ไม่สามารถไปหล่อเลี้ยงหัวใจได้เพียงพอ และอาจจะเป็นโรคหัวใจได้ในที่สุด นอกจากนี้ยังมีพฤติกรรมเสี่ยงอื่น ๆ อีก เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ ยิ่งเป็นตัวเร่งให้เกิดความเสี่ยงโรคหัวใจได้เร็วและง่ายขึ้น เลือกทานอย่างไรให้ไกลจากโรคหัวใจ – ลดหรือเลี่ยงการทานอาหารที่มีไขมันสูง ทั้งไขมันจากสัตว์และไขมันแปรรูป เนื่องจากอาหารไขมันสูงจะมีไขมันชนิด LDL หรือไขมันไม่ดี ซึ่งมีคอเลสเตอรอลสูง ทำให้เกิดการสะสมของไขมันที่ไปเกาะตามผนังเส้นเลือด ซึ่งไปทำให้การไหลเวียนเลือดลำบากมากขึ้น – เลือกทานอาหารไขมันต่ำหรือมีไขมันไม่อิ่มตัว ซึ่งมีอยู่ในเนื้อสัตว์ประเภท ปลา ไข่ นม โดยให้เลือกประเภทเนื้อสัตว์ที่มีไขมันต่ำ เช่น […]
ออกกำลังกายยังไงให้ปลอดภัยจาก PM2.5 สาเหตุของมะเร็งปอด
หลายคนที่ออกกำลังกายเป็นประจำ โดยเฉพาะกิจกรรมกลางแจ้งน่าจะรู้สึกหงุดหงิดนะครับ เวลาที่ค่าฝุ่น PM2.5 สูง เพราะทำให้ต้องงดหรือเปลี่ยนกิจกรรมออกกำลังกายไปโดยปริยาย เพราะต้องยอมรับว่าการออกกำลังกายในยุคโควิด-19 นี่ก็มีข้อจำกัดหลายอย่างอยู่แล้ว ยังมาเจอปัญหาฝุ่นอีก เลยดังนั้นจึงจะมาขอแนะนำวิธีออกกำลังกายให้ปลอดภัยจาก PM2.5 ห่างไกลความเสี่ยงจากมะเร็งปอดกันครับ คำแนะนำจากกรมอนามัยสำหรับการออกกำลังกายให้ปลอดภัยจาก PM2.5 1. ติดตามสถานการณ์ฝุ่นละออง ก่อนตัดสินใจออกกำลังกายกลางแจ้ง โดยติดตามจากเพจทางการหรือแอปพลิเคชั่นที่วัดระดับคุณภาพของอากาศได้ 2. แนะนำให้ออกกำลังกายในสวนสาธารณะจะดีกว่าออกกลางแจ้งโดยตรง เพราะต้นไม้ช่วยกรองฝุ่นได้ 3. เมื่อมีประกาศระดับฝุ่นละอองในอากาศ PM 2.5 อยู่ในระดับสีส้ม ควรงดออกกำลังกายกลางแจ้งจะดีที่สุด 4. หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายในช่วงเช้า และบริเวณที่มีระดับฝุ่นสูง เช่น สถานที่ก่อสร้าง และริมถนนซึ่งมีปริมาณฝุ่นสูงที่มาจากรถยนต์ 5. ไม่สวมใส่หน้ากากอนามัย N95 ในขณะที่ออกกำลังกายอย่างเด็ดขาด เนื่องจากหน้ากาก N95 ไม่ได้ทำมาเพื่อให้ใส่ออกกำลังกาย เพราะจะทำให้ร่างกายต้องหายใจแรงและเร็วขึ้น ส่งผลให้ระบบหัวใจและหลอดเลือดทำงานหนักขึ้น และอาจเป็นอันตรายได้ 6. ประชาชนกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ เด็กเล็ก ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคระบบทางเดินหายใจ หอบหืด ภูมิแพ้ โรคหัวใจ […]